Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6279
Title: | การลำดับชั้นหินของชุดหินเสาขัวที่มีซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย : รายงานผลการวิจัย |
Other Titles: | Stratigraphy of dinosaurs bearing Sao Khua, Northeastern, Thailand |
Authors: | วิโรจน์ ดาวฤกษ์ ปัญญา จารุศิริ สุวภาคย์ อิ่มสมุทร มนตรี ชูวงษ์ |
Email: | ไม่มีข้อมูล cpunya@chula.ac.th ไม่มีข้อมูล montri@geo.sc.chula.ac.th |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ กรมทรัพยากรธรณี. สำนักทรัพยากรแร่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Subjects: | ไดโนเสาร์ หินเสาขัว ซากดึกดำบรรพ์ ธรณีวิทยา--ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) |
Issue Date: | 2545 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การลำดับชั้นหินของหมวดหินเสาขัว ที่มีซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ อายุครีเทเซียสตอนต้น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ศึกษาจากข้อมูลหลักทางภาคสนามที่ได้จากพื้นที่ศึกษาที่มีชั้นหินอ้างอิง 14 บริเวณ ครอบคลุมพื้นที่ทางตะวันตกเฉียงใต้ ตะวันตก และทางตอนกลางของที่ราบสูงโคราช และทำการเก็บตัวอย่างจากทุกชั้นหินอ้างอิงเพื่อทำการศึกษารายละเอียดในแผ่นหินบาง วัตถุประสงค์อีกประการหนึ่งคือศึกษาสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่ไดโนเสาร์อาศัยอยู่ในยุคนั้น หมวดหินเสาขัวในพื้นที่ศึกษาโดยภาพรวมทั้ง 14 บริเวณ ประกอบด้วย กลุ่มหินซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 6 lithofacies จากล่างขึ้นบนดังนี้ 1. Mudstone and fine-grained sandstone facies (Lithofacies I) 2. Medium to thick bedded arkosic sandstone facies (Lithofacies II) 3. Cycle of conglomerate-sandstone-mudstone-calcrete horizon (Lithofacies III) 4. Lithic sandstone-siltstone facies (Lithofacies IV) 5. Fresh water limestone-siltstone facies(Lithofacies V) และ 6. Upper mudstone lithofacies (Lithofacies VI) ชั้นหินอ้างอิงที่พบซากดึกดำบรรพ์รอยเท้าไดโนเสาร์ได้แก่ ชั้นหินอ้างอิงที่ 1 ซึ่งอยู่ใน Lithofacies II ชั้นหินอ้างอิงที่พบซากดึกดำบรรพ์กระดูกไดโนเสาร์ขนาดใหญ่ ประเภทหินเนื้อและกินพืชได้แก่บริเวณชั้นหินอ้างอิงที่ 4-9 ซึ่งอยู่ใน Lithofacies III และชั้นหินอ้างอิงที่พบเศษกระดูกและฟันไดโนเสาร์เป็นชิ้นเล็กๆ ได้แก่ชั้นหินอ้างอิงที่ 2-6,9,11 และ 13 ซึ่งอยู่ใน Lithofacies III และ V ตามลำดับ ข้อมูลจากการศึกษาแผ่นหินบาง สรุปได้ว่าหินเกือบทั้งหมดมีการคัดขนาดของเม็ดแร่ค่อนข้างดีแต่ความกลมมนต่ำ และแมททัวริตีไม่สมบูรณ์นัก แสดงถึงการตกตะกอนอย่างรวดเร็วการแปลความหมายนิเวศน์วิทยาจากข้อมูลของลักษณะหินบ่งชี้ว่า สภาวะภูมิอากาศในยุคครีเทเซียสตอนต้นส่วนใหญ่เป็นแบบร้อนชื้นสลับร้อนแห้งแล้ง สภาพภูมิประเทศมีลักษณะเป็นที่ราบและลอนลูกฟูกตามริมแม่น้ำสายใหญ่ที่มีต้นไม้ปกคลุมหนาแน่น มีช่วงน้ำหลากเป็นครั้งคราว ไดโนเสาร์ทั้งชนิดกินพืชและกินเนื้ออาศัยอยู่ในที่ลุ่มชื้นแฉะตามริมแม่น้ำ หรือตามทะเลสาป ที่พื้นท้องน้ำมักพบรูหนอน และหอยสองฝาน้ำจืดอยู่ด้วย |
Other Abstract: | The stratigraphy of Dinosaur-bearing Sao Khua Fomations, northerastern Thailand was obtained mainly from the field studies in the sections of 14 selected areas in southwestern, western and central part of Khorat Plateau. Detailed petrographic studies were also undertaken from thin sections of each reference section. The environments of deposition were also focused in the study. Of the overall 14 areas, the Sao Khua Formation contains 6 lithofacies, in ascending order as 1. Mudstone and fine-grained sandstone facies (Lithofacies I) 2. Medium to thick bedded arkosic sandstone facies (Lithofacies II) 3. Cycle of conglomerate-sandstone-mudstone-calcrete horizon (Lithofacies III) 4. Lithic sandstone-siltstone facies (Lithofacies IV) 5. Freshwater limestone-siltstone facies (Lithofacies V) and 6. Upper mudstone lithofacies (Lithofacies VI) The dinosaur footprints appear only in the Lithofacies II of section no. 1 Many dinosaur benes of both Sauropods and Theropods are observed in Lithofacies III of sections no. 4-9 while small bone and teeth fragments are found in the section no. 2-6,9.11 and no. 13 which belong to the Lithofacites III and V respectively. From petrographic analysis, the rocks have moderate to good sorting but bad roundness and rather low maturity. This is probably due to rapid depositional environment. The appearance of rocks indicated that the climate could be of tropical and dry tropical during Early Cretaceous Period. The Sauropods and Theropods could be roaming in the floodplains or undulating landforms near to the river with dense vegetation. However, overflow or flooding of the river might freguently occur supplying various sediments to the plain. It is also found that other animals like worms or bivalves did dwell in the river or lake beds during that time. |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6279 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | Sci - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Veerote(stra).pdf | 23.62 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.