Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62933
Title: | นโยบายของไทยต่อประเทศกัมพูชาระหว่างพ.ศ. 2518 ถึง พ.ศ. 2523 |
Other Titles: | Thai policy toward Kampuchea from 1975 to 1983 |
Authors: | สุพรรณิการ์ สวิระสฤษดิ์ |
Advisors: | สมเกียรติ อ่อนวิมล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Subjects: | ไทย -- ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ -- กัมพูชา กัมพูชา -- ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ -- ไทย |
Issue Date: | 2526 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาถึงอิทธิพลของปัจจัยต่าง ๆ ที่มีต่อการกำหนดนโยบายของประเทศไทยต่อประเทศกัมพูชาตามหลักเกณฑ์ของทฤษฎีการเกี่ยวพัน (Lingkage Theory) ในช่วงระยะเวลาระหว่างปี พ.ศ. 2518-2523 (ค.ศ. 1975-1980) โดยต้องการพิจารณาว่า ปัจจัยตัวใดบ้างที่เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดนโยบายของประเทศไทยต่อประเทศกัมพูชาอย่างแท้จริง สำหรับปัจจัยที่ผู้เขียนได้มุ่งพิจารณาในการศึกษาครั้งนี้คือ ตัวบุคคลผู้กำหนดนโยบาย สภาพการณ์ทางการเมืองภายในประเทศและสภาพการณ์ทางการเมืองระหว่างประเทศ นอกจากนี้ผู้เขียนได้ทำการศึกษาสภาพความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับประเทศกัมพูชาตั้งแต่ในอดีตมาจนถึงระยะก่อนปี 2518 เพื่อเป็นพื้นฐานในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับประเทศกัมพูชาและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับประกัมพูชาในอดีตที่ผ่านมาด้วย ผลจากการวิจัย ปรากฏว่าทัศนคติและแนวความคิดของตัวบุคคลผู้กำหนดนโยบายของประเทศไทยเป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดนโยบายของประเทศไทยต่อประเทศกัมพูชาและพบว่าผู้นำของไทยส่วนใหญ่จะมีลักษณะและคุณสมบัติในแบบผู้นำที่ยึดถือสภาพความเป็นจริงของปัญหาต่าง ๆ (Bureaucratic – Pragmatic Type of Leadership) นอกจากนี้สภาพทางการเมืองภายในของไทยก็เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดนโยบายของไทยต่อประเทศกัมพูชาเช่นกัน ผู้กำหนดนโยบายของไทยจะไม่สามารถดำเนินนโยบ่ายที่ตนได้กำหนดไว้ไปได้อย่างราบรื่น ถ้าสภาพทางการเมืองของไทยไม่เอื้ออำนวยต่อนโยบายนั้น ๆ และจากการวิจัยผู้เขียนยังพบว่า สถาพการณ์ทางการเมืองระหว่าประเทศก็เป็นปัจจัยสำคัญอีกตัวหนึ่งที่มีผลต่อการกำหนตนโยบายของไทยที่มีต่อประเทศกัมพูชาด้วยเช่นกัน และประเทศไทยไม่สามารถที่จะทำตัวให้อยู่โดดเดี่ยวจากสังคมระหว่างประเทศได้ นอกจากนี้ในการกำหนดนโยบายของบุคคลผู้กำหนดนโยบายนั้นจะต้องมีการนำสภาพการณ์ทางการเมืองระหว่างประเทศมาพิจารณาด้วยเสมอ จากการศึกษาในครั้งนี้ได้พบว่า สภาพทางการเมืองภายในประเทศของประเทศกัมพูชานั้นถึงแม้ว่าจะเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดนโยบายของไทยที่มีต่อประเทศกัมพูชาก็จริง แต่ในการกำหนดนโยบายต่อประเทศกัมพูชา บุคคลผู้กำหนดนโยบายของไทยจะต้องพิจารณาสภาพแวดล้อมประการอื่น ๆ ประกอบกันไปด้วย จึงทำให้ในบางครั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพทางการเมืองภายในของประเทศกัมพูชาอาจจะไม่มีผลทำให้มีการเปลี่ยนแปลงในแนวนโยบายของประเทศไทยที่มีต่อประเทศกัมพูชาได้ |
Other Abstract: | The Thesis attempts to study the number of factors that influenced the formulation of Thai foreign policy towards Kampuchea during the period between 1975 – 1980 by using the Linkage Theory as the tool for undertaking this analysis. It aims at examining which of the various factors significantly influenced the course and direction of Thai foreign policy towards Kampuchea during that period. The factors that have been given particular attention are the role of policy – maker and both the domestic and international political circumstances. In addition, the author has also given an account of the history of Thai – Kampuchean relations up to 1975 so as to provide a basic understanding of the Kampuchean nation and past developments in her relations with Thailand. The findings of the research have shown that the perceptions of Thai policy – makers have had an important bearing upon the formulation of Thai foreign policy towards Kampuchea and that their attitude and thinking have proven to be in line with the model of the bureaucratic – pragmatic type of leadership. The domestic political circumstances constitute another vital factor. It would be most difficult, if not impossible, for the Thai policy – maker to carry out successfully, a certain foreign policy decision if the prevailing domestic political circumstances do not provide a conducive atmosphere. The international political circumstances has also always figure prominently in shaping Thai foreign policy towards Kampuchea as Thailand can never isolate itself from the rest of the international community. Thai policy – makers have constantly been compelled by international political developments in charting the course of Thai foreign policy towards Kampuchea. The study has also found that to a certain extent the internal political developments in Kampuchea itself have also some influence on Thai foreign policy towards Kampuchean. But because Thai policy maker have to take into consideration a number of other important factors as mentioned above, in some cases, political changes in Kampuchea might not lead to any chance in Thai foreign policy towards Kampuchea. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526 |
Degree Name: | รัฐศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62933 |
ISBN: | 9745624365 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Suphannika_sa_front_p.pdf | 6.33 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suphannika_sa_ch1_p.pdf | 6.11 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suphannika_sa_ch2_p.pdf | 17.36 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suphannika_sa_ch3_p.pdf | 11.27 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suphannika_sa_ch4_p.pdf | 42.3 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suphannika_sa_ch5_p.pdf | 5.59 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suphannika_sa_back_p.pdf | 8.49 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.