Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63143
Title: การศึกษาตัวแปรทางคิเนมาติกส์ของการเสิร์ฟลูกตะกร้อด้วยหลังเท้าของนักกีฬามืออาชีพและสมัครเล่น
Other Titles: Study of kinematic variables of back-foot sepak takraw serving in professional and amateur players
Authors: บุญญาวีย์ ม่วงพูล
Advisors: นงนภัส เจริญพานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
Subjects: ตะกร้อ
เซปักตะกร้อ
จลนศาสตร์
Takraw
Kinematics
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบข้อมูลทางคิเนมาติกส์ของการเสิร์ฟลูกตะกร้อด้วยหลังเท้าของนักกีฬาตะกร้อชายอาชีพและสมัครเล่น กลุ่มตัวอย่าง นักกีฬาเซปักตะกร้อชาย ตำแหน่งเสิร์ฟ แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มนักกีฬาอาชีพ จำนวน 8 คนและกลุ่มนักกีฬาสมัครเล่น จำนวน 7 คน มีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างทำการเสิร์ฟตะกร้อด้วยหลังเท้า จำนวน 20 ครั้ง โดยจะต้องลงในบริเวณที่ว่างระหว่างผู้เล่นหน้าขวากับผู้เสิร์ฟ อย่างน้อย 5 ครั้ง หากภายในการเสิร์ฟ 20 ครั้งแรก ไม่สามารถเสิร์ฟลงในบริเวณที่กำหนดครบ 5 ครั้ง จะทำการพักเป็นเวลา 10 นาที แล้วทำการเสิร์ฟใหม่อีก 20 ครั้ง นำลูกเสิร์ฟที่มีความเร็วลูกสูงสุดจำนวน 2 ครั้ง มาวิเคราะห์ข้อมูล ทดสอบค่า “ที” (Independent t-test) สำหรับข้อมูลที่กระจายตัวปกติ และทดสอบด้วยแมน-วิทนีย์ (Mann-Whitney Test) สำหรับข้อมูลที่กระจายตัวไม่ปกติ โดยกำหนด p<0.05 ผลการศึกษา กลุ่มนักกีฬาอาชีพมีน้ำหนักตัวและดัชนีมวลกายสูงกว่ากลุ่มนักกีฬาสมัครเล่นอย่างมีนัยสำคัญและพบความแตกต่างของความเร็วสูงสุดของลูกตะกร้อ ความเร็วสูงสุดของข้อเท้าในช่วง Preliminary และ Follow-through และความเร่งของข้อเท้าในทุกช่วงของการเสิร์ฟอย่างมีนัยสำคัญ สรุป นักกีฬาอาชีพเสิร์ฟลูกตะกร้อด้วยหลังเท้าได้ความเร็วลูกตะกร้อของนักกีฬาสูงกว่าในนักกีฬาสมัครเล่น โดยแสดงความเร็วสูงสุดของข้อเท้าในช่วง Preliminary และ Follow-through และความเร่งของข้อเท้าในทุกช่วงของการเสิร์ฟมีค่ามากกว่าในนักกีฬาสมัครเล่นอย่างมีนัยสำคัญ
Other Abstract: Purpose: The purpose of this study was to study and compare kinematic data of serving at the back of the foot of professional and amateur male players. Subjects: Male Sepak Takraw players in serve position. Each subject was purposive-sampling separated   into 2 groups; Professional group for 8 players and amateur for 7 players. Methods: each subject was allowed to serve with the back of the foot for 20 times. At least 5 of all were landed on the area between right-front players and serving player. If there were the number of serves less than 5 times, that subject would be allowed to have dynamic rest for 10 minutes and then served another 20 times again. The highest 2 services data were analyzed; independent t-test for normal distribution data and Mann-Whitney Test for non-parametric data. The significant different was set at p<0.05. Results: The profession players showed significantly more weight and BMI than amateur players. Moreover, the results showed significantly difference of ball velocity, maximum velocity of ankle in Preliminary phase & Follow-through phase and acceleration of ankle in all phases. Conclusion: The professional players showed more velocity of ball than amateur. There were significantly higher data of max velocity of ankle in Preliminary phase and Follow-through phase and acceleration of ankle in all phases than in amateur.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การกีฬา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63143
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1103
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2018.1103
Type: Thesis
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6078310139.pdf5.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.