Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63262
Title: นวัตกรรมตัวแบบการประเมินเพื่อเตรียมการจัดการความรู้ในกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์บนพื้นฐานภูมิปัญญาท้องถิ่น
Other Titles: An Innovative Evaluation Model For Knowledge Management Preparation In Product Development Process Based On Local Wisdom
Authors: สุนทรี ถูกจิตต์
Advisors: พงศ์พันธ์ อนันต์วรณิชย์
พักตร์ผจง วัฒนสินธุ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Pongpun.A@Chula.ac.th
Pakpachong.V@Chula.ac.th
Subjects: การบริหารองค์ความรู้
ผลิตภัณฑ์ใหม่
การจัดการผลิตภัณฑ์
การถ่ายทอดเทคโนโลยี
Knowledge management
New products
Product management
Technology transfer
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนานวัตกรรมตัวแบบการประเมินการจัดการความรู้ในกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์บนพื้นฐานภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกต และการทบทวนวรรณกรรมจากข้อมูลทุติยภูมิ วิสาหกิจชุมชนที่มีผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นจำนวน 10 รายผ่านการเลือกด้วยการเลือกตัวอย่างแบบยึดจุดมุ่งหมายของการศึกษาเป็นหลัก และคัดเลือกเฉพาะกรณีที่ความสำคัญ นำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยการตีความและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ในด้านกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ วิสาหกิจชุมชนมีกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นรูปแบบขั้นตอนที่สั้นตรงและมีความคล่องตัวในการดำเนินการ แต่มีข้อจำกัดด้านช่องทางการแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับตลาด ในด้านการจัดการความรู้ในกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของวิสาหกิจชุมชนบนพื้นฐานภูมิปัญญาท้องถิ่น ประกอบด้วยองค์ประกอบ 6 ขั้นตอนได้แก่ การได้มาของความรู้ การสร้างความรู้ การใช้ความรู้ การถ่ายทอดความรู้ การเผยแพร่ความรู้ และการจัดเก็บความรู้ แบ่งเป็น 17 องค์ประกอบ และ 26 องค์ประกอบย่อย วิสาหกิจชุมชนมีองค์ประกอบการจัดการความรู้ที่แตกต่างกันไปตามรูปแบบของกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การพัฒนาตัวแบบประเมินเพื่อเตรียมการจัดการความรู้ในกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์บนพื้นฐานภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้นำผลการวิจัยมาสร้างชุดคำถามของแบบประเมิน เพื่อใช้ในการประเมินวิสาหกิจชุมชนเพื่อเตรียมการจัดการความรู้ในกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์บนพื้นฐานภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นการเตรียมพร้อมสู่การพัฒนาขั้นต่อไป ผลการศึกษาการยอมรับแบบประเมินพบว่า ผู้ใช้งานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีความพึงพอใจและยินดีนำแบบประเมินไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อยังส่วนงานในสังกัดในภูมิภาคและกลุ่มวิสาหกิจชุมชนต่อไป
Other Abstract: This study aims to develop an innovative evaluation model for knowledge management preparation in product development process based on local wisdom. The qualitative methodology was used for collecting data, consisted of in-depth interviews, non-participation observation, and literature reviews. The key informants of 10 community enterprises with local wisdom based products were selected by purposive sampling with criterions. Seven selected cases were brought to analyzed by content analysis. The finding of the study showed that the product development process of community enterprises were short, simple and flexible in practice, but limited in market information. Components in knowledge management of community enterprises were categorized in six steps, 17 components, and 26 sub-components. These components were found in different numbers depended on the product development process characteristics of community enterprises. The findings were used to develop an evaluation of knowledge management in product development process for community enterprises. Proposed to use as the pre-develop tools for knowledge management preparation of community enterprises in care of the government agencies, and self-evaluation for community enterprises. The opinion survey of the evaluation confirmed that the users were satisfied.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: ธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63262
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1372
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.1372
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5387818120.pdf6.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.