Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6327
Title: การสำรวจสรีรวิทยาเชิงนิเวศน์ของจุลินทรีย์ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตแก๊สชีวภาพในกากตะกอนน้ำทิ้งของโรงงานอุตสาหกรรมนม : รายงานผลการวิจัย
Other Titles: Investigation and microbial ecophysiology of biomethanation in sludges of dairy industry
Authors: ศิริรัตน์ เร่งพิพัฒน์
พัสตรา เขมาวุฒานนท์
Email: sirirat@sc.chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: มีเธน
เมทาโนเจน
อะซีโตเจน
ก๊าซชีวภาพ
แบคทีเรีย -- การเพาะเลี้ยงและอาหารเพาะเชื้อ
Issue Date: 2537
Publisher: จุฬาลงกรณ์์มหาวิทยาลัย
Abstract: ทำการแยกอะซิโตเจนซึ่งเป็นแบคทีเรียกลุ่มที่คัดเลือกโดยการเจริญบนอาหารที่มีกรดโพรพิโอนิคหรือกรดแลคติค และนำไปผสมกับเมธาโนเจน ซึ่งเป็นแบคทีเรียกลุ่มที่คัดเลือกโดยการเจริญบนอาหารที่มีเมธานอลหรือ H[subscript 2]:CO[subscript 2] (80:20) เพื่อศึกษาถึงการผลิตแก๊สมีเธนในระดับหลอดทดลอง พบว่าภาวะที่เหมาะสมในการผลิตแก๊สมีเธนของเชื้อผสมของอะซิโตเจนที่แยกโดยใช้กรดโพรพิโอนิค และเมธาโนเจนที่แยกโดยใช้เมธานอลหรือ H[subscript 2]:CO[subscript 2] (80:20) หลังจากบ่มเป็นเวลา 6 สัปดาห์ คือใช้อาหารเลี้ยงเชื้อเหลวที่มีความเข้มข้นกรดแลคติค 5 mM มีการเติมทรายเป็นตัวค้ำจุน และเติมตัวกระตุ้นกระบวนการเกิดแก๊สมีเธนคือ H[subscript 2]:CO[subscript 2] (80:20) ในสัปดาห์ที่ 2 ของการเลี้ยงเชื้อ โดยใช้อัตราส่วนของอะซิโตเจนต่อเมธาโนเจน 1:1 ที่ 37 องศาเซลเซียส โดยได้ปริมาณแก๊สมีเธนเท่ากับ 2.00 x 10[superscript 5] nmole สิ่งที่น่าสนใจคือ เมื่อใช้เชื้อผสมของอะซิโตเจนที่แยกโดยใช้กรดแลคติคและเมธาโนเจนที่แยกโดยใช้เมธานอลหรือ H[subscript 2]:CO[subscript 2] (80:20) จะเกิดแก๊สมีเธนเท่ากับ 2.97 x 10[superscript 5] nmole เมื่อใช้อาหารเลี้ยงเชื้อเหลวที่มีความเข้มข้นกรดแลคติค 10 mM มีการเติมทรายเป็นตัวค้ำจุน และเติมตัวกระตุ้นกระบวนการเกิดแก๊สมีเธนคือ H[subscript 2]:CO[subscript 2] (80:20) ในสัปดาห์ที่ 2 ของการเลี้ยงเชื้อ โดยใช้อัตราส่วนของอะซิโตเจนต่อเมธาโนเจน 1:1 ที่ 37 องศาเซลเซียส พบว่าในภาวะทั้ง 2 มีค่าความเป็นกรดด่างสุดท้ายของน้ำเลี้ยงเชื้อ 6.65 และ 6.74 ตามลำดับ ซึ่งเป็นค่าที่เหมาะสมในช่วงการเจริญของแบคทีเรียในกลุ่มเมธาโนเจนและให้แก๊สมีเธนในปริมาณที่สูง
Other Abstract: Acetogens and methanogens were isolated from sludges of dairy industry by using propionic acid or lactic acid as a selective substrate for Acetogens and methanol or H[subscript 2] : CO[subscript 2] for Methanogens. Then, mixed cultures of the isolated Acetogents and Methanogens at a ratio of 1:1 was cultivated for methane production at 37 degree Celsius. After 6 weeks of incubation, high quantity of methane of 2.00x10[superscript 5] nmole was obtained. This optimal production was from the mixed cultures of acetogens isolated by using propionic acid and methanogens by using methanol or H[subscript 2] : CO[subscript 2] (80:20) as a selective substrate and being by cultivated in a medium containing 5 mM lastic acid with sand as a carrier matrix and subsequent addition of H[subscript 2] : CO[subscript 2] (80:20) in the second week of cultivation. Interestingly, the highest quantity of methane production of 2.97x10[superscript 5] nmole was observed from 6 week-cultivation of mixed cultures at a ratio of 1:1 of acetogens isolated by using lactic acid and mathanogens by using methanol or H[subscript 2] : CO[subscript 2] (80:20) as a selective substrate in a medium containing 10 mM lactic acid with sand as a carrier matrix and subsequent addition of H[subscript 2] : CO[subscript 2] (80:20) in the second week of cultivation. It was observed that final pH of both conditions were 6.65 and 6.74, respectively, which as in the optimal pH rage for mathanogens growth.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6327
Type: Technical Report
Appears in Collections:Sci - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sirirat(inv).pdf10.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.