Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63370
Title: ผลของโปรแกรมพัฒนาลักษณะมุ่งอนาคตที่มีต่อความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5
Other Titles: Effects Of Future Orientation Program On Adversity Quotient Of Fifth Grade Students
Authors: วรัฐา นพพรเจริญกุล
Advisors: ปิยวรรณ วิเศษสุวรรณภูมิ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Piyawan.P@Chula.ac.th
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้โปรแกรมพัฒนาลักษณะมุ่งอนาคตที่มีต่อความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสังกัดสำนักบริหารงาน คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) เขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร เขต 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยคือ โปรแกรมพัฒนาลักษณะมุ่งอนาคต และแบบวัดความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรค การเก็บรวบรวมข้อมูลแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะก่อนการทดลอง ระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการทดสอบค่าทีแบบอิสระ (Independent t-test) และสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ (One-Way Repeated Measures ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1) หลังจากได้รับโปรแกรมพัฒนาลักษณะมุ่งอนาคตในระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผล นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคสูงกว่าระยะก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผล นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
Other Abstract: The purpose of this research was to study effects of future orientation program on adversity quotient of fifth graded students. Subjects consisted of 60 students semester 2 and academic year 2018 from Office of the Private Education Commission school. Instruments used in this study included a future orientation program and an adversity quotient test. Data collection consisted of 3 phases: pretest, posttest and delayed posttest. Data was analyzed employing independent t-test and One-way Repeated Measures (ANOVA).  Findings were as follows: 1) After receiving the future orientation program, experimental group students had posttest scores and delayed-posttest scores of the adversity quotient test significantly higher than their pretest scores at the .05 level of significance. 2) Experimental group students had posttest and delayed-posttest scores of adversity quotient test significantly higher than those of the control group at the .05 level of significance.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63370
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.762
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2018.762
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6083348827.pdf2.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.