Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63417
Title: การบรรลุเป้าหมายของระดับ LDL-C ก่อนและหลังการใช้ชุดคำสั่งมาตรฐานในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
Other Titles: LDL- goal achievement before and after implementation of standing order in patients with acute myocardial infarction
Authors: โชคชัย แซ่ลิ่ม
Advisors: วศิน พุทธารี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Wacin.B@Chula.ac.th
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ที่มา : ในการลดระดับ LDL-cholesterol (LDL-C) ด้วยยาลดไขมันในกลุ่มยา statin ที่มีความแรงระดับสูง (high-intensity statin) มีการพิสูจน์แล้วว่าลดอุบัติการณ์เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในกลุ่มผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด แต่เนื่องจากการศึกษาก่อนหน้านี้พบว่าผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดมีระดับ LDL-C ยังไม่ได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน (LDL-C น้อยกว่า 70 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร และ/หรือ LDL-C ลดลงอย่างน้อยร้อยละ 50) วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของการใช้ชุดคำสั่งมาตรฐานขณะจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลต่อผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันเพื่อที่ระดับไขมันได้ตามเป้าหมาย วิธีการศึกษา : หลังจากที่มีการใช้ชุดคำสั่งมาตรฐานภายในโรงพยาบาล ศึกษาข้อมูลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันทุกคน หลังจากนั้นติดตามเก็บผลระดับไขมันในเลือดที่ 2 ถึง 6 เดือน แล้วนำมาเปรียบเทียบกับข้อมูลผู้ป่วยก่อนใช้ชุดคำสั่งมาตรฐานในช่วง 1 มกราคม พ.ศ. 2560 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2561 ที่มีผลข้อมูลระดับไขมันช่วงนอนโรงพยาบาลและขณะติดตามที่ 2 ถึง 6 เดือน ผลการศึกษา : มีจำนวนผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดในกลุ่มก่อนใช้ชุดคำสั่งมาตรฐาน 131 คน ที่มีผลระดับไขมันในเลือด ร้อยละ 97 ได้รับยา statin ที่มีความแรงระดับสูง เทียบกับยา atorvastatin 37.4 ± 9.8  มิลลิกรัมต่อวัน ค่าเฉลี่ยของ LDL-C ขณะนอนโรงพยาบาลและติดตาม คือ 116.43 ± 42.83 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร และ 81.37 ± 25.17 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ตามลำดับ ส่วนในกลุ่มที่ใช้ชุดคำสั่งมาตรฐาน เก็บข้อมูลผู้ป่วยได้ 34 คน ร้อยละ 100 ได้รับ ยา statin ที่มีความแรงระดับสูง เทียบกับยา atorvastatin 40 มิลลิกรัมต่อวัน ค่าเฉลี่ยของ LDL-C ขณะนอนโรงพยาบาลและขณะติดตาม คือ 121 ± 44.19 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร และ 85.76 ± 29.93 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ตามลำดับ ทั้งนี้การบรรลุเป้าหมาย LDL-C ที่น้อยกว่า  70 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร หรือ/และ ลดลงอย่างน้อยร้อยละ 50 นั้น กลุ่มก่อนใช้ชุดคำสั่งได้ร้อยละ 41.22 และกลุ่มหลังใช้ชุดคำสั่งร้อยละ 38.24 สรุปผลการศึกษา : สำหรับผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด การใช้ชุดคำสั่งมาตรฐานในสถานที่ทางการแพทย์ที่มีการใช้ยา statin ที่มีความแรงระดับสูงมากอยู่แล้ว ไม่ได้เพิ่มอัตราราการบรรลุเป้าหมาย LDL-C ที่มากขึ้น อาจจะต้องมีการประเมินด้านโภชนาการ การคุมอาหาร การกินยาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงความจำเป็นในการเพิ่มขนาดยาของยา statin
Other Abstract: Background: Aggressive LDL cholesterol (LDL-C) reduction with high intensity statin has been proved to reduce cardiovascular events in patients with acute coronary syndromes. However, target LDL-C of less than 70 mg/dl and/or at least 50% LDL-C reduction is rarely achieved. Objective: To study the impact of using a discharge standing order with emphasis on the use of high-intensity statin on LDL-C goal achievement after discharge in patients with acute myocardial infarction (AMI). Method: After implementation of discharge standing order, all patients with AMI had lipid profile performed 2 – 6 months after discharge. The data was compared with that of all patients with AMI from 1st Jan 2017 to 30th Sep 2018, the period before standing order was used, who had lipid profile data at 2-6 months during follow-up. Results: 134 patients in pre-standing-order period had LDL-C data at follow-up. 97 percent (n = 130) of patients were discharged on atorvastatin with an average dose of 37.4 ± 9.8 mg/day. The mean LDL-C on admission and at follow-up were 116.43 ± 42.83 mg/dl and 81.37 ± 25.17 mg/dl, respectively. In standing-order period, 34 patients had complete lipid data. 100 percents of the patients were discharged on high intensity statins with an average atorvastatin dose of 40 mg/day. The mean LDL-C on admission and at follow-up were 121 ± 44.19 mg/dl and 85.76 ± 29.93 mg/dl, respectively. The LDL-C goal achievement of less than 70 mg/dl and/or or at least 50% LDL-C reduction were 41.22 percent before and 38.24 percent after implementation respectively (p = 0.752). Conclusion: In patients with acute myocardial infarction, the implementation of standing order alone during the time when most physicians already using high intensity statin did not improve LDL-C goal achievement. Other measures such as diet and lifestyle counselling, reassurance of medical adherence might be necessary.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63417
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1488
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2018.1488
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6074009630.pdf1.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.