Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63444
Title: ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคกลากในทหารที่ฝึกในหลักสูตรการรบแบบจู่โจม 
Other Titles: Prevalence and associated factors of tinea infection among soldiers attending in the ranger training course
Authors: วชิราภรณ์ ไทยประยูร
Advisors: วิโรจน์ เจียมจรัสรังษี
สุพิชญา ไทยวัฒน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Wiroj.J@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคกลากบริเวณลำตัว ขาหนีบ และเท้าในทหารที่ฝึกในหลักสูตรการรบแบบจู่โจม วิธีการศึกษาเป็นการศึกษาแบบเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง ศึกษาในทหารที่ฝึกในหลักสูตรการรบแบบจู่โจม โรงเรียนสงครามพิเศษ จังหวัดลพบุรี ในช่วงเดือนเมษายน - พฤษภาคม พ.ศ. 2561 จำนวน 305 คน โดยใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยต่างๆ การตรวจร่างกาย การตรวจ direct examination และการเพาะเลี้ยงเชื้อรา ทำการวิเคราะห์สถิติด้วย Multiple logistic regression ผลการศึกษา พบความชุกของโรคกลากบริเวณเท้ามากที่สุดร้อยละ 5.9 รองมาบริเวณขาหนีบพบร้อยละ 3.0 และบริเวณลำตัวพบร้อยละ 0.3  ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการการเกิดโรคกลากบริเวณเท้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ ปัจจัยประวัติโรคกลาก คือ การเคยได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคกลากบริเวณเท้า ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาก่อนนี้ (p-value = 0.036) และปัจจัยการทำงานบ้านและงานอดิเรก คือ การสัมผัสดินโดยเท้า (p-value = 0.033) ส่วนโรคกลากบริเวณขาหนีบไม่มีปัจจัยใดที่มีความสัมพันธ์กับการการเกิดโรคกลากบริเวณขาหนีบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุปได้ หากมีมาตรการป้องกันด้านสุขอนามัยส่วนบุคคลที่เหมาะสมร่วมกับมีการตรวจร่างกายในระบบผิวหนังก็จะสามารถลดการเกิดโรคและผลกระทบต่างๆ ที่ตามมาได้
Other Abstract: The objectives of this study were to evaluate the prevalence and associated factors of tinea corporis, tinea cruris and tinea pedis among soldiers attending a ranger training course. This cross-sectional study was conducted at a special warfare school in Lopburi province, during April – May 2018. A total of 305 soldiers were examined by physicians, and skin scraping for direct examination and fungal cultures were obtained from suspected lesions. All of the participants answered the questionnaire and provided information regarding associated factors. Data were analyzed using Multiple logistic regression. The most prevalent type of tinea found was tinea pedis, followed by tinea cruris and tinea corporis, which were found at 5.9%, 3% and 0.3%, respectively. The significantly associated factors of tinea pedis were history of tinea pedis during last 6 months (p-value = 0.036) and contact with soil (p-value = 0.033), whereas, none of the associated factors was significantly associated with tinea cruris. In summary, all soldiers should have proper personal hygiene and receive dermatologic examination in order to decrease the prevalence and morbidity of tinea.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวิจัยและการจัดการด้านสุขภาพ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63444
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.704
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2018.704
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6074079530.pdf1.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.