Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6347
Title: การศึกษาสนามแม่เหล็กบรรพกาลเพื่อหาอายุหินของหมวดหิน ภูทอกและภูพาน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย : รายงานผลการวิจัย
Other Titles: Paleomagnetic study for determined age of the Phu Thok and Phu Phan formations, NE-Thailand
Authors: วิโรจน์ ดาวฤกษ์
ปัญญา จารุศิริ
สุวภาคย์ อิ่มสมุทร
Email: ไม่มีข้อมูล
Cpunya@chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: หิน--อายุ
ภาวะแม่เหล็กบรรพกาล
ภูมิศาสตร์บรรพกาล
หินภูพาน
หินภูทอก
ภูทอกน้อย (หนองคาย)
ภูผาผึ้ง (กาฬสินธุ์)
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อเปรียบเทียบอายุหมวดหินภูทอกและหมวดหินภูพานโดยใช้ลักษณะความเป็นแม่เหล็กในหินเพื่อสร้างลำดับชั้นสนามแม่เหล็กบรรพกาล การศึกษาได้เก็บตัวอย่างหมวดหินภูทอกจากเขาภูทอก อ.ศรีวิไล จ.หนองคาย ซึ่งประกอบไปด้วยชั้นสลับกันของหินทรายเนื้อหยาบปานกลางถึงละเอียดสีน้ำตาลอมแดงชั้นหนาที่มีการวางชั้นเฉียงระดับขนาดใหญ่ และหินทายแป้งเนื้อปูนสีแดงน้ำตาลแกมม่วงที่มีโครงสร้างลอนคลื่น ความหนารวม 139 เมตร จำนวน 74 ตัวอย่าง และหมวดหินภูพานจากเขาภูผาผึ้ง อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหินทรายเนื้อหยาบสีขาวอมเหลืองและหินกรวดมนสีน้ำตาลอมเหลือง ความหนารวม 100 เมตร จำนวน 37 ตัวอย่าง ผลการศึกษาโดยการวัดค่าทิศทางสนามแม่เหล็กที่แฝงในหินด้วยเครื่องแมกนีโตมิเตอร์ชนิดหมุนแสดงผลเป็นตัวเลข พบว่าสภาพแม่เหล็กทุติยภูมิในตัวอย่างหินทั้งจากหมวดหินภูทอกและภูพานถูกทำลายจนหมดเมื่อเผาที่อุณหภูมิ 350 - 500 C หรืออาจถึง 650 C การลำดับชั้นสนามแม่เหล็กบรรพกาลในหมวดหินภูทอก ประกอบไปด้วยการสลับกันของขั้นแม่เหล็กแบบปกติ 5 ครั้งและขั้นแม่เหล็กแบบย้อนกลับ 4 ครั้ง และสามารถเทียบกับมาตรฐานการกลับทิศทางของสนามแม่เหล็กโลกได้อายุอยู่ในช่วงยุคครีเตเชียสตอนต้น การลำดับชั้นสนามแม่เหล็กบรรพกาลในหมวดหินภูพาน ประกอบไปด้วยการสลับกันของขั้นแม่เหล็กแบบปกติ 7 ครั้งและขั้นแม่เหล็กแบบย้อนกลับ 6 ครั้ง และสามารถเทียบกับมาตรฐานการกลับทิศทางของสนามแม่เหล็กโดยได้อายุอยู่ในช่วงยุคครีเตเชียสตอนต้น ข้อมูล VGP (Virtual Geomagnetic Pole) ของหินทรายภูทอกมีค่าเฉลี่ย 61.9 N, 189.9 E, A[subscript 95] = 1.8 ซึ่งใกล้เคียงกับหินทรายภูพานซึ่งมีค่าเฉลี่ย 59.1 N, 190.7 E, A[subscript 95] = 11.3 จากข้อมูลทั้งหมดสรุปได้ว่าหมวดหินทั้งสองมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดทั้งในแง่ตำแหน่งการสะสมตัวและประวัติของการถูกแปรสัณฐาน แต่จากลำดับชั้นแม่เหล็กบรรพกาลทั้งสองที่มีความแตกต่างกันทำให้สรุปได้ว่าหมวดหินทั้งสองมีอายุไม่เท่ากันโดยหมวดหินภูทอกมีอายุอ่อนกว่า
Other Abstract: The main objective of this study is to correlate the ages of rocks from Phu Thok and Phu Phan Formation by means of their magnetic characters in order to construct the magnetostratigraphy. Rock samples of the Phu Thok unit were collected from Khao Phu Thok Noi in Amphoe Si Wilai, Nong Khai Province. They consist of two interbedding distinct units of which the first unit is thickly bedded, reddish brown, fine-to medium-grained (arkosic) sandstone with large scale cross-beddings. The other is purplish to brownish red, mostly calcareous, fine-grained sandstone with wavy structures. From these two units, the total of 74 wamples were taken within the range of 139 m in tickness. For the Phu Phan Formation, the rock samples were taken from Khao Phu Pha Phung, Amphoe Kuchinarai, Kalasin Province. They are mainly coarse-grained, yellowish white sandstone and yellowish brown conglomerate. 37 samples were collected within the range of 100 m in thickness. The rock paleomagnetic fields were measured by a digital spinner magnetometer. It is observed that the secondary magnetism of the two rock units, Phu Thok and Phu Phan is completely demagnetized within the range of 350 - 500 or up to 650 C. The magnetostratigraphy of the Phu Thok sequence clearly indicates 4 normal and 3 reverse polarity bands. This can be well correlated with the Standard Geomagnetic Polarity Time Scale of Early Cretaceous. For the Phu Phan sequence, the magnetostratigraphy appears to be 7 normal and 6 reverse polarity bands and can be correlated with the Standard Geomagnetic Polarity Time Scale, also at the time of Early Cretaceous. The VGP (Virtual Geomagnetic Pole) data of Phu Thok sandstone calculated here gave the average result of 61.9 N, 189.9 E, A[subscript 95] = 1.8 which is not much different from those of the Phu Phan sandstone of which the average result is 59.1 N, 190.7 E, A[subscript 95] = 11.3. It can be concluded that the two rock units are closely related in both the location of depositional basins and metamorphism in rocks. Novertheless, the differences do exist in magnetostratigraphy which appears that the Phu Thok Formation is younger than the Phu Phan Formation.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6347
Type: Technical Report
Appears in Collections:Sci - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Veerote(pale).pdf18.93 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.