Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63559
Title: การดักจับคาร์บอนไดออกไซด์บนตัวดูดซับ K2CO3 /Al2O3 เตรียมในภาวะเบส
Other Titles: Carbon Dioxide Capture On K2CO3 /Al2O3 Sorbent Prepared In Base Condition
Authors: จารุวรรณ เจริญชัยเพชร
Advisors: เบญจพล เฉลิมสินสุวรรณ
พรพจน์ เปี่ยมสมบูรณ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: enjapon.C@Chula.ac.th
Pornpote.P@Chula.ac.th
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน ในปัจจุบันกระบวนการดักจับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยตัวดูดซับของแข็งได้รับความสนใจจากนักวิจัย หนึ่งในวิธีการพัฒนากระบวนการดังกล่าว คือ การปรับปรุงตัวดูดซับของแข็งให้มีความสามารถในการดักจับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่สูง งานวิจัยนี้ ได้ทำการปรับปรุงความสามารถในการดักจับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จากแก๊สเสียด้วยตัวดูดซับโพแทสเซียมคาร์บอเนตบนแกมม่า-อลูมินา มีตัวแปรในการปรับปรุงการเตรียมตัวดูดซับด้วยวิธีอิมเพรกเนชัน ได้แก่ ชนิดเบสที่แตกต่างกัน 4 ชนิด ค่าความเป็นเบสของสารละลายที่ใช้ในการเตรียมตัวดูดซับในช่วง 8 ถึง 12 และ ระยะเวลาที่ใช้ในการเตรียมตัวดูดซับในช่วง 12 ถึง 24 ชั่วโมง ผลที่ได้ พบว่า การเตรียมตัวดูดซับในภาวะเบสทำให้พื้นที่ผิว ปริมาณโลหะกัมมันต์ การกระจายตัวของโพแทสเซียมคาร์บอเนต และ ค่าความเป็นเบสบนผิวของตัวดูดซับมีค่าสูงขึ้น ดังนั้น การเตรียมตัวดูดซับด้วยวิธีอิมเพรกเนชันในภาวะเบสจะให้ตัวดูดซับที่มีความสามารถในการดูดซับได้ดีกว่าการเตรียมตัวดูดซับแบบดั้งเดิม นอกจากนี้ งานวิจัยนี้ได้ศึกษาแบบจำลองการดูดซับทั้ง 3 แบบ คือ แบบจำลองปฏิกิริยาอันดับหนึ่งเทียม แบบจำลองปฏิกิริยาอันดับสองเทียม และ แบบจำลองการเสื่อมสภาพ พบว่า แบบจำลองการเสื่อมสภาพเป็นแบบจำลองที่เหมาะสมที่สุดในการอธิบายจลนศาสตร์ของตัวดูดซับ
Other Abstract: Carbon dioxide is a major cause of global warming. At present, the carbon dioxide capture process with a solid adsorbent is gaining attention. One of the ways to develop this process is to improve the solid adsorbent to get higher carbon dioxide capture capacity. This research objective is to improve capture capability of carbon dioxide from waste gas using the potassium carbonate adsorbent on gamma-alumina. By varying impregnation preparation parameters, the capture capability is investigated. The different base types were interested which were sodium hydroxide, calcium hydroxide, ammonium hydroxide, and sodium carbonate. Furthermore, the basic of the solution and the duration time used in preparing the adsorbent in the range from 8 to 12 and 12 to 24 hours respectively are also the studied parameters. From the results, the impregnation in the base condition bring to high surface area, large amount of active metal, better potassium carbonate distribution and high basicity on solid surface. Therefore, the impregnation in base condition gives the better solid sorbent than the conventional preparation method. In addition, in this research study, three types of kinetic model which are pseudo-first order, pseudo-second order, and deactivation kinetic model were used to fit the experimental data. From the calculation, deactivation kinetic model was best fit the suitable kinetic model.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เคมีเทคนิค
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63559
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.550
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2018.550
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6072138523.pdf2.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.