Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63611
Title: การประเมินความถูกต้องค่าระดับความสูงภูมิประเทศโดยใช้แบบจำลองยีออยด์ความละเอียดสูงของประเทศไทยในพื้นที่ติดตามการทรุดตัวของพื้นดินกรุงเทพมหานครและปริมณฑล    
Other Titles: Evaluation of orthometric heights determination by using Thailand high-precision local geoid model in Bangkok and Metropolitan region.
Authors: วัชโรตม์ พันโยธา
Advisors: เฉลิมชนม์ สถิระพจน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Chalermchon.S@Chula.ac.th
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การหาค่าระดับความสูงภูมิประเทศด้วยระบบดาวเทียมนำหนสากล (Global Navigation Satellite System-derived orthometric heights: GNSS-derived orthometric heights) เป็นกรรมวิธีในการหาค่าระดับความสูงภูมิประเทศ (Orthometric heights) โดยอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างค่าความสูงเหนือทรงรี (Ellipsoidal height) ที่ได้จาก GNSS (Global Navigation Satellite System) มารวมกับค่าต่างระหว่างความสูงเหนือภูมิประเทศกับความสูงเหนือทรงรี (Geoid undulation) ซึ่งได้มาจากแบบจำลองยีออยด์ (Geoid Model) ในการหาค่าระดับความสูงภูมิประเทศ ซึ่งวิธีการนี้จะใช้ระยะเวลาที่สั้น และมีค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่าวิธีการระดับแบบดั้งเดิม (Classical leveling) เพื่อให้ได้ค่าระดับความสูงภูมิประเทศที่มีความถูกต้องมากยิ่งขึ้น วิธีการหาค่าระดับความสูงภูมิประเทศด้วยระบบดาวเทียมนำหนสากลจึงจำเป็นที่จะต้องเลือกแบบจำลองยีออยด์ที่มีความละเอียดถูกต้องสูงมาทำการประมวลผลหาค่า Geoid undulation ซึ่งในปัจจุบันโดยความร่วมมือระหว่างกรมแผนที่ทหารและมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ทำการพัฒนาแบบจำลองยีออยด์ความละเอียดสูงสำหรับประเทศไทย (Thai geoid model 2017, TGM2017) ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการหาค่าระดับความสูงภูมิประเทศด้วยระบบดาวเทียม GNSS ในพื้นที่ประเทศไทย ในงานวิจัยนี้จะทำการเปรียบเทียบความถูกต้องของค่าระดับความสูงภูมิประเทศที่หาได้จากการหาค่าระดับความสูงภูมิประเทศด้วยระบบดาวเทียมนำหนสากล จากวิธีการประมวลผลเพื่อหาตำแหน่งจากการรังวัดสัญญาณดาวเทียม GNSS ที่แตกต่างกัน 3 วิธี ได้แก่ วิธีการแบบสถิต (Static) แบบจลน์ (Kinematic) และแบบจุดเดี่ยวความละเอียดสูง (Precise Point Positioning: PPP) เพื่อใช้ในการหาค่าความสูงภูมิประเทศ จากการใช้ค่า Geoid Undulation จากแบบจำลองยีออยด์ท้องถิ่น TGM2017 กับแบบจำลองยีออยด์สากล (Earth Gravitational Model 2008, EGM2008) ในแต่ละวิธีการประมวลผลจะทำการหาค่าระดับความสูงภูมิประเทศแบบสัมบูรณ์ (Absolute) และสัมพัทธ์ (Relative) โดยใช้จุดทดสอบในพื้นที่ศึกษาจังหวัดปทุมธานีและใช้ค่าระดับชั้นที่ 1 กรมแผนที่ทหารในการตรวจสอบความถูกต้อง จากการทดสอบพบว่าวิธีการหาตำแหน่งแบบสัมพัทธ์ให้ค่าความถูกต้องที่ดีที่สุดและแบบจำลองยีออยด์ท้องถิ่น TGM2017 กับแบบจำลองยีออยด์สากล EGM2008 ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อใช้ร่วมกับวิธีการนี้ ส่วนวิธีการแบบสถิตและทำการหาค่าระดับความสูงภูมิประเทศแบบสัมบูรณ์แบบจำลองแบบจำลองยีออยด์ท้องถิ่น TGM2017 ให้ค่าความถูกต้องที่ดีกว่าแบบจำลองยีออยด์สากล EGM2008  
Other Abstract: Global Navigations Satellites System-derived orthometric heights (GNSS-derived orthometric heights) is a procedure for estimating orthometric heights from GNSS technique with the relationship of ellipsoidal heights, that were calculated from GNSS, the difference between ellipsoidal heights and orthometric heights (Geoid undulation), that were derived from geoid model, and orthometric heights. This approach could significantly reduce cost and time compared to classical leveling. However, the one of a critical factor in this approach is precision of the geoid model, therefore, the high accuracy geoid model must be provided. Nowadays, with the collaboration between Royal Thai Survey Department (RTSD) and Chiang Mai University, the high precision Thailand geoid model (Thailand geoid model 2017: TGM2017) was established which could be applied for GNSS-derived orthometric heights in Thailand region. This study was compared orthometric heights which were performed by three GNSS processing techniques such as static, kinematic and Precise Point Positioning (PPP) technique. Thus, orthometric heights were derived using TGM2017 and Earth Gravitational Model 2008: EGM2008) for each GNSS processing schemes with absolute and relative derived orthometric heights method and statistically analyzed w.r.t first-order leveling network in Phatum Thani province. The results show that the relative method provided the best solutions in any processing schemes, nevertheless, applying TGM2017 or EGM2008 showed no significance in the relative method. On the other hand, the highest accuracy was performed by apply TGM2017 with static processing scheme.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสำรวจ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63611
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1283
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2018.1283
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5970312521.pdf1.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.