Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6370
Title: การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของยาลีโวเซทิริซีน, เฟ็กโซเฟนาดีน และเดสลอราทาดีน โดยการทดสอบผิวหนังด้วยสารก่อภูมิแพ้ในผู้ป่วยโรคภูมิแพ้โพรงจมูกอักเสบ
Other Titles: Comparison of efficacy at steady state of levocetirizine, fexofenadine and desloratadine on aeroallergen-induced wheal and flare responses in allergic rhinitis patients
Authors: ภวรัตน์ แสงอร่าม
Advisors: เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Kiat.R@Chula.ac.th, rkiat@chula.ac.th
Subjects: เยื่อจมูกอักเสบจากภูมิแพ้
สารต้านฮิสตะมีน
การทดสอบทางผิวหนัง
สารก่อภูมิแพ้
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ความสำคัญและที่มา : ในปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลเปรียบเทียบประสิทธิภาพระหว่างยาลีโวเซทิริซีน เฟ็กโซเฟนาดีน และเดสลอราทาดีน ในการยับยั้งปฏิกิริยาทางผิวหนังต่อการทดสอบด้วยสารก่อภูมิแพ้ วัตถุประสงค์ : เพือศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของยาทั้ง 3 ชนิด หลังจากรับประทานต่อเนื่องเป็นเวลา 7 วัน ในการยับยั้งผลของการทดสอบผิวหนังด้วยสารก่อภูมิแพ้และสารฮีสตามีน ในผู้ป่วยโรคภูมิแพ้โพรงจมูกอักเสบ เครื่องมือและวิธีวิจัย : อาสาสมัคร 20 ราย ทุกรายได้รับการสุ่มลำดับของยา 4 ชนิด : ลีโวเซทิริซีน 5 มก. เฟ็กโซเฟนาดี 180 มก. เดสลอราทาดีน 5 มก. และยาหลอก เพื่อรับประทานวันละเม็ดเป็นเวลาชนิดละ 7 วัน สลับกับช่วงเว้นยาครั้งละ 7 วัน ประเมินผลทดสอบผิวหนังวิธีสะกิด (ด้วยสารฮีสตามีน และสารก่อภูมิแพ้ชนิดไรฝุ่นหรือแมลงสาบ) ในวันแรกของการเข้าร่วมการวิจัย และที่เวลา 24 ชั่วโมงหลังจากรับประทานยาแต่ละชนิดครบ 7 วันแล้ว ผลการวิจัย : ยาต้านฮีสตามีนทั้ง 3 ชนิดสามารถลดขนาดของปฏิกิริยาตุ่มนูนและรอยแดง จากการทดสอบผิวหนังด้วยสารก่อภูมิแพ้ หรือสารฮีสตามีน ได้ดีกว่ายากลอกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ยาลีโวเซทิริซีนมีประสิทธิภาพดีที่สุดในการยับยั้งผลของฮีสตามีนที่ผิวหนัง (ค่าเฉลี่ยการลดลงของความยาวเส้นผ่านสูนย์กลางตุ่มนูนโดยยาลีโวเซทิรีซีนคิดเป็น 57.2% สูงกว่าผลจากยาเดสลอราทาดีน และเฟ็กโซเฟนาดีนซึ่งคิดเป็น 39.7% ; p<0.05 และ 22.7 ; p=0.001 ตามลำดับ) ยาทั้ง 3 ชนิดมีผลในการยับยั้งปฏิกิริยาจากสารก่อภุมิแพ้ไม่แตกต่างกันทางสถิติ (ค่าเฉลี่ยการลดลงของเส้นผ่านศูนย์กลางตุ่มนูน คิดเป็น 37.5%, 32. 9% และ 22.4% หลังได้รับยาลีโวเซทิริซีน เดสลอราทาดีน และเฟ็กโซเฟนาดีน ตามลำดับ) สรุปผลการวิจัย : ลีโวเซทิริซีนให้ผลดีกว่าเดสลอราทาดีน และเดสลอราทาดีนดีกว่าเฟ็กโซเฟนาดีน เมื่อเปรียบเทียบโดยการทดสอบผิวหนังด้วยฮีสตามีน ที่เวลา 24 ชั่วโมงหลังได้รับยาครบ 7 วัน แต่ยาทั้ง 3 ชนิดไม่แตกต่างกัน เมื่อเปรียบเทียบโดยการทดสอบด้วยสารก่อภูมิแพ้ ทั้งนี้ควรมีวิจัยเปรียบเทียบแบบสุ่มที่มีขนาดตัวอย่างเพียงพอ เพื่อเปรีบเทียบประสิทธิภาพทางคลินิกต่อไป
Other Abstract: Background : Third generation H1-antihistaminies are relevant in treatment of allergic rhinitis owing to the improved specificity, tolerability and safety profile. There is no comparative study of antiallergenic effect among these agents. Objective : To compare their efficacy at steady state by measuring wheal and flare reactions from skin prick tests in atopic patients. Methods: Onec-daily levocetirizine 5 mg, fexofenadine 180 mg, desloratadine 5 mg or placebo were given to 20 allergic rhinitis patients for 7 days in a crossover, randomized, evaluator-blinded fashion, Wheal and flare responses to histamine and aeroallergens (house dust mites or cockroach) were measured at baseline and at 24 hours after the last does of each antihistamines. A 7-day washout period was applied between each treatment period. Results: The overall effect of each drug was evaluated by the %reduction of diameters of wheals and flares. Levocetirizine was the most effective drug in suppressing the responses of histamine. The mean %reduction of wheal diameters were 57.2, compared to 39.67 (p<0.05) and 22.7 (p =0.001) after treatment with desloratadine and fexofenadine, respecticely. There was no statistically significant difference between the efficacy of these drugs on allergen-induced reactions. The mean %reduction of wheal diameters were 37.5, 32.9 and 22.4, respectively. Conclusion : Levocetirizine has in vivo antihistaminic effect superior to desloratadine and fexofenadine. However, there was no significant difference in anti-allergenic effect when evaluated by skin tests after continuous use for 7 days. A randomized trial comparing their efficacy on allergic rhinitis treatment is warranted.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6370
ISBN: 9741418841
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pavarat_Sa.pdf1.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.