Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63712
Title: Effect of maternal blood heavy metal level on brain-derived neurotrophic factor and pregnancy outcomes among Myanmar migrants in Samut Sakhon province, Thailand
Other Titles: ผลกระทบของระดับโลหะหนักในเลือดของมารดาต่อระดับโปรตีนเบรน-ดีไรฟ นิวโรโทรฟิค แฟคเตอร์และผลกระทบของการตั้งครรภ์ในผู้อพยพชาวเมียนมา จังหวัดสมุทรสาคร ประเทศไทย
Authors: Ye Htet Zaw
Advisors: Nutta Taneepanichskul
Other author: Chulalongkorn University. College of Public Health Sciences
Advisor's Email: Nutta.T@chula.ac.th
Issue Date: 2018
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: BACKGROUND: Lead, mercury, cadmium, and arsenic are the priority heavy metals of major public health concern in developing countries. Thailand is a newly industrialized country raising high human workloads of migrant workers form neighbored countries, mostly Myanmar. Exposure to these metals can cause cognitive impairment and depressive disorders through an effect on brain-derived neurotrophic factor (BDNF), which is an important biomarker of pregnancy. Pregnancy outcomes including preeclampsia, preterm birth and low birth weight are major burdens for maternal and child health. Although a number of prior studies have examined the effects of heavy metals on pregnancy, there are few studies focused on migrant population. The aim of this study was to examine the association between maternal blood heavy metals concentrations and BDNF levels and pregnancy outcomes among Myanmar migrants in Thailand. METHODOLOGY: This study was a birth cohort study conducted at the antenatal care clinic of the hospital from July 2018 to April 2019. A total of 119 pregnant Myanmar migrants carrying a single viable fetus of less than 14 weeks of gestation who had stayed within the industrial plant at least 3 months before were recruited in first trimester. The socio-demographic characteristics and health behaviors of the patients were assessed using a self-report questionnaire. Blood samples were collected in first trimester and third trimester. Maternal blood heavy metal (Pb, Hg, Cd, As) concentrations were measured using an inductively coupled plasma mass spectrometer, and plasma BDNF levels were measured using an enzyme-linked immunosorbent assay. Multivariate binary logistic regressions and multiple linear regressions were modeled to evaluate the associations between these factors. RESULTS: A total of 72 pregnant women were completed the study. Median (interquartile rank: IQR) concentrations were as follows: BDNF: (64.60 [15.60]/18.27 [23.40]) μg/L, Pb: (27.40 [13.80]/19.90 [11.40]) μg/L, Hg: (6.20 [5.60], 2.60 [2.00]) μg/L, Cd: (0.91 [0.85]/1.06 [0.46]) μg/L, and As: (4.00 [1.10]/3.40 [1.40]) μg/L. We categorized the concentrations into high (≥ median) and low (<median) groups for binary logistic regressions. After adjusting for potential confounders, patients with a high blood As in first trimester had a 2.6-fold increased risk (aOR = 2.603, 95% CI: 1.178, 5.751) of low plasma BDNF in early pregnancy. Diastolic BP in third trimester was higher in every unit of increased third trimester blood Pb concentrations (β = 2.766, 95% CI: 0.026, 5.506). However, there were no significant associations between heavy metals and preeclampsia, preterm birth or low birth weight. CONCLUSIONS: The present findings demonstrate that pregnant women with higher blood As levels were more likely to have lower BDNF levels in early pregnancy. Pregnant women with high blood Pb have more risk of lower blood pressure in late pregnancy. Public health interventions to address Pb and As exposure should be promoted to improve the health of Myanmar migrants
Other Abstract: ความเป็นมา: ตะกั่ว, ปรอท, แคดเมียมและสารหนูเป็นโลหะหนักที่มีความสำคัญด้านสาธารณสุขในประเทศกำลังพัฒนาการสัมผัสกับโลหะเหล่านี้อาจทำให้เกิดความบกพร่องทางสติปัญญาและความผิดปกติของการซึมเศร้าผ่านผลต่อ ระดับโปรตีนเบรน-ดีไรฟ นิวโรโทรฟิค แฟคเตอร์ (BDNF) ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดทางชีวภาพสำคัญในหญิงมีครรภ์ ผลกระทบของการตั้งครรภ์เช่น ภาวะครรภ์เป็นพิษ การคลอดก่อนกำหนดและน้ำหนักแรกเกิดต่ำ เป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่สำคัญสำหรับสุขภาพของมารดาและเด็ก แม้ว่าการศึกษาก่อนหน้านี้จำนวนหนึ่งได้ตรวจสอบผลกระทบของโลหะหนักต่อการตั้งครรภ์ แต่มีงานวิจัยเพียงเล็กน้อยที่มุ่งเน้นไปที่ประชากรผู้อพยพ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มข้นของโลหะหนักในเลือดของมารดาและโปรตีนเบรน-ดีไรฟ นิวโรโทรฟิค แฟคเตอร์ (BDNF) กับผลลัพธ์การตั้งครรภ์ของผู้อพยพชาวเมียนมาในประเทศไทย วิธีการ: การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบ COHORT ที่ดำเนินการที่คลินิกฝากครรภ์ของโรงพยาบาลตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2561 ถึงเมษายน 2562 จำนวนแรงงานผู้อพยพชาวเมียนมาที่ตั้งครรภ์ทั้งหมด 119 คน ทารกในครรภ์มีอายุครรภ์น้อยกว่า 14 สัปดาห์ เข้าร่วมการศึกษา ประเมินลักษณะทางสังคม - ประชากรและพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโดยใช้แบบสอบถามด้วยตนเอง เก็บตัวอย่างเลือดในไตรมาสแรกและไตรมาสที่สาม ความเข้มข้นของโลหะหนักในเลือดของมารดา สารตะกั่ว (Pb) สารปรอท (Hg) สารแคดเมียม (Cd) และ สารหนู (As) ถูกวัดโดยใช้เครื่องสเปกโตรมิเตอร์มวลพลาสมาแบบเหนี่ยวนำคู่และการวัดระดับโปรตีนเบรน-ดีไรฟ นิวโรโทรฟิค แฟคเตอร์ (BDNF) ในพลาสมา โดยใช้เทคนิคเอนไซม์ลิงค์อิมมูโนซอร์เบนต์แอสเสย์ (ELISA) วิเคราะห์ผลด้วยการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกไบนารีหลายตัวแปร และการถดถอยเชิงเส้นหลายค่าถูกสร้างแบบจำลอง ผลการศึกษา: หญิงตั้งครรภ์ทั้งหมด 72 คน อยู่ในการศึกษาจนแล้วเสร็จ พบค่ามัธยฐานความเข้มข้นของโลหะหนักในเลือด (IQR) ดังนี้: BDNF: (64.60 [15.60] /18.27 [23.40]) μg / L , Pb: (27.40 [13.80] /19.90 [11.40]) μg / L , Hg: (6.20 [5.60], 2.60 [2.00]) μg / L , Cd: (0.91 [0.85] /1.06 [0.46]) μg / L และ As: (4.00 [1.10] /3.40 [1.40]) μg / L โดยสามารถแบ่งประเภทความเข้มข้นของโลหะหนักในเลือด เป็น 2 ระดับ คือระดับสูง (> มัธยฐาน) และระดับต่ำ (≤ มัธยฐาน) จากการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกแบบไบนารีหลังปรับค่าตัวแปรกวนแล้ว พบว่าหญิงตั้งครรภ์ที่มีความเข้มข้นของสารหนู (As) ในเลือดสูงในไตรมาสแรกมีความเสี่ยงต่อการมีระดับ โปรตีนเบรน-ดีไรฟ นิวโรโทรฟิค แฟคเตอร์ (BDNF) ในพลาสม่าต่ำ เพิ่มขึ้น 2.6 เท่า (aOR = 2.603, 95% CI : 1.178, 5.751) นอกจากนี้ยังพบว่าความดันโลหิตไดแอสโทลิก ในไตรมาสที่สามสูงขึ้นในทุกหน่วยของความเข้มข้นของสารตะกั่ว (Pb) ในเลือดไตรมาสที่สามที่เพิ่มขึ้น (β = 2.766, 95% CI: 0.026, 5.506) อย่างไรก็ตามไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างโลหะหนักกับ ภาวะครรภ์เป็นพิษ การคลอดก่อนกำหนด และน้ำหนักแรกเกิดต่ำ สรุป: ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าหญิงตั้งครรภ์ที่มีเข้มข้นของสารหนู (As) ในเลือดสูงมีแนวโน้มที่จะพบระดับ โปรตีนเบรน-ดีไรฟ นิวโรโทรฟิค แฟคเตอร์ (BDNF) ในพลาสมาลดลงในการตั้งครรภ์ระยะแรก และหญิงตั้งครรภ์ที่มีสารตะกั่ว (Pb) ในเลือดสูงมีความเสี่ยงต่อการเกิดความดันโลหิตสูงในการตั้งครรภ์ตอนปลาย ดังนั้นควรมีการจัดกิจกรรมให้ความรู้ด้านสาธารณสุขเรื่องอันตรายจากสารตะกั่ว (Pb) และ สารหนู (As) เพื่อส่งเสริมสุขภาพของแรงงานชาวเมียนมา
Description: Thesis (Ph.D.)--Chulalongkorn University, 2018
Degree Name: Doctor of Philosophy
Degree Level: Doctoral Degree
Degree Discipline: Public Health
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63712
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.490
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2018.490
Type: Thesis
Appears in Collections:Pub Health - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5979159553.pdf2.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.