Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63749
Title: Petroleum geochemistry of Huai Hin Lat formation in Amphoe Nam Nao, Changwat Phetchabun and Amphoe Chumpae, Changwat Khon Kaen, Thailand
Other Titles: ธรณีเคมีปิโตรเลียมของหมวดหินห้วยหินลาดในอำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์ และอำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น ประเทศไทย
Authors: Wilairat Khositchaisri
Advisors: Kruawun Jankaew
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Science
Advisor's Email: kjankaew@yahoo.co.uk
Subjects: Petroleum geochemistry -- Thailand
ธรณีเคมีวิเคราะห์ -- ไทย -- น้ำหนาว (เพชรบูรณ์)
ธรณีเคมีวิเคราะห์ -- ไทย -- ชุมแพ (ขอนแก่น)
Issue Date: 2012
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: ที่ราบสูงโคราชตั้งอยู่ในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย มีการสำรวจพบแก๊ส ธรรมชาติและผลิตในเชิงพาณิชย์ในแอ่งตะกอนยุคไทรแอสซิก และเพอร์เมียน เชื่อกันว่าหมวดหินห้วยหินลาดและกลุ่มหินสระบุรียุคเพอร์เมียนเป็นหินต้นกำเนิดแก๊สเหล่านี้ อย่างไรก็ตาม การศึกษาทางธรณีเคมีปิโตรเลียม ในพื้นที่ยังมีน้อย การศึกษานี้ได้เก็บตัวอย่างหินโผล่จากหมวดหินห้วยหินลาด และกลุ่มหินสระบุรี มาทำการวิเคราะห์คุณสมบัติทางธรณีเคมีปิโตรเลียม เพื่อประเมินศักยภาพในการเป็นหินต้นกำเนิดปิโตรเลียม โดยทำการวิเคราะห์หาค่าปริมาณคาร์บอนอินทรีย์ทั้งหมด (TOC) และปริมาณสารอินทรีย์ที่สกัดได้ (EOM) ซึ่งเป็นการประเมินเบื้องต้นถึงความสมบูรณ์ของสารอินทรีย์ในหินต้นกำเนิด การวิเคราะห์หาค่า Vitrinite Reflectance(Ro), การศึกษา nonbiomarkers และ biomarkers ด้วยเครื่องแก๊สโครมาโตรกราฟี และเครื่องแก๊สโครมาโตรกราฟี-แมสสเปกโตรมิเตอร์ และการวิเคราะห์ด้วยเครื่อง Rock-Eval Pyrolysis เป็นการประเมินระดับความร้อนที่เหมาะสมในการให้ปิโตรเลียม และสภาพแวดล้อมในการตกสะสมตัว นอกจากนี้ ยังทำการวิเคราะห์ชนิดของเคอโรเจนด้วยกล้องจุลทรรศน์ เพื่อหาเปอร์เซ็นต์ของเคอโรเจนชนิดต่างๆในตัวอย่างหิน ในการประเมินเบื้องต้น พบว่าหมวดหินห้วยหินลาดมีค่า TOC 0.79-13.80 wt% ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความมีศักยภาพในการเป็นต้นกำเนิดในระดับปานกลางถึงดีมาก ในขณะที่หมวดหินน้ำดุก, หัวนาคำ และตากฟ้า มีค่า TOC อยู่ระหว่าง 0.66-0.75 wt%, 1.47-1.74 wt% และ 0.37 wt% ตามลำดับ ค่า TOC แสดงให้เห็นว่า กลุ่มหินสระบุรีมีศักยภาพในการเป็นหินต้นกำเนิดในระดับปานกลางถึงดี ในขณะที่ค่าปริมาณสารอินทรีย์ที่สกัดได้ในทุกตัวอย่างมีค่ามากกว่า 200 ppm ซึ่งเป็นระดับที่สามารถพิจารณาเป็นหินต้นกำเนิดปิโตรเลียมได้ สำหรับการวิเคราะห์ค่าระดับความร้อนที่เหมาะสมในการให้ปิโตรเลียม ตัวอย่างหินมีค่า Ro ระหว่าง 0.898-1.935% ซึ่งแสดงให้เห็นถึงระดับความร้อน อยู่ในช่วงที่สามารถให้ปิโตรเลียม (น้ำมัน) ได้ในช่วงสุดท้ายถึงผ่านการให้ปิโตรเลียม(น้ำมัน) แล้ว ค่าอัตราส่วนของ Ts/(Ts+Tm), C31 22S/(22S+22R), Pr/nC17 และ Ph/nC18 รวมถึงค่า CPI สนับสนุนว่าตัวอย่างอยู่ในช่วงที่ สามารถให้ปิโตรเลียมได้ จากการศึกษาชนิดและสัดส่วนของเคอโรเจนในตัวอย่าง พบว่าประกอบด้วยเคอโรเจน ชนิด III เป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้ค่าอัตราส่วน Pr/Ph, Pr/nC17, Ph/nC18 และไดอะแกรมสามเหลี่ยมของ C27- C29 regular sterane ชี้ให้เห็นว่าสารอินทรีย์มาจากสิ่งมีชีวิตจากบนบกและทะเล ที่มีการตกสะสมตัวภายใต้สภาวะไร้ออกซิเจน การพบ gammacerane ในทุกตัวอย่าง ยังชี้ให้เห็นว่ามีสภาพแวดล้อมในการตกสะสมตัวใน ทะเลสาบแบบปิดมาเกี่ยวข้องด้วย ผลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ สรุปได้ว่า ในชุดหินที่ศึกษา หมวดหินห้วยหินลาด และหมวดหินหัวนาคำมีโอกาสสูงในการเป็นหินต้นกำเนิด ปิโตรเลียมของที่ราบสูงโคราช
Other Abstract: Khorat Plateau is located in the northeast of Thailand where natural gas has been discovered and commercially produced from Triassic and Permian Basin. Huai Hin Lat Formation and Permian Saraburi Group are believed to be the petroleum source rocks of the gases. However, petroleum geochemical studies in this area are relatively scarce. This study includes collecting outcrop samples from Huai Hin Lat Formation and Saraburi Group and analyzing them for their geochemical properties to evaluate their potentials to be the sources of petroleum. Total organic carbon (TOC) content and extractable organic matter (EOM) were determined as the preliminary source richness evaluation. Then, vitrinite reflectance measurement, studies of nonbiomarkers and biomarkers by Gas Chromatography (GC) and Gas Chromatography-Mass Spectrometry (GC-MS), Rock-Eval pyrolysis were done to evaluate their thermal maturity and depositional environment. Moreover, visual kerogen analysis was done to determine the percentages of different kerogen types in samples. Huai Hin Lat Formation has TOC value of 0.79-13.80 wt% which indicates fair to excellent source potential while Nam Duk, Hua Na Kham and Tak Fa Formations have TOC values of 0.66-0.75 wt%, 1.47-1.74 wt% and 0.37 wt%, respectively. These TOC values suggest that Saraburi Group has fair to good source potential. Extractable organic matter (EOM) of all samples exceed 200 ppm suggesting that sufficient quantities of petroleum can be generated from these rocks. Therefore, they can be considered petroleum source rock. In term of thermal maturity, Rovalues of samples are 0.898-1.935% which indicates a range of maturity level of late mature to post mature. Ts/(Ts+Tm), C31 22S/(22S+22R), Pr/nC17 and Ph/nC18 and CPI values also support that samples are mature. Visual kerogen reveals that samples contain predominantly Type III kerogen. Pr/Ph, Pr/nC17, Ph/nC18 and ternary diagram of C27- C29 regular steranes all suggest that samples are of mixed organic sources between terrigenous and marine organic matters deposited in a reducing environment. Presence of gammacerane in all sample studied further suggests lacustrine environment of deposition. In conclusion, from results in this study Huai Hin Lat and Hau Na Kham Formations are likely the source of petroleum found in the Khorat Plateau area.
Description: Thesis (M.Sc.)--Chulalongkorn University, 2012
Degree Name: Master of Science
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Earth Sciences
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63749
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wilairat Khositchaisri.pdf2.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.