Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63795
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | พิรงรอง รามสูต | - |
dc.contributor.author | ปณิชา เต็มหน | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ | - |
dc.coverage.spatial | ไทย | - |
dc.date.accessioned | 2019-10-29T09:59:29Z | - |
dc.date.available | 2019-10-29T09:59:29Z | - |
dc.date.issued | 2555 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63795 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาว่านักข่าวหนังสือพิมพ์มีความเข้าใจและมีการปฏิบัติในลักษณะการลอกข่าวและแชร์ข่าวอย่างไร รูปแบบของการลอกข่าวและแชร์ข่าวที่ปรากฏในกระบวนการทำข่าวในหนังสือพิมพ์ ทั้งฉบับเล่มและหนังสือพิมพ์ออนไลน์ว่ามีความแตกต่างกันหรือไม่ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการลอกข่าวและแชร์ข่าว ในหนังสือพิมพ์ไทย รวมถึงความขัดแย้งเชิงจริยธรรม จากผลการวิจัยพบว่านักข่าวส่วนมากมีความเข้าใจเกี่ยวกับการลอกข่าว ว่าคือการนำข่าวของผู้อื่นมาเป็นของตนทั้งหมดโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือต่อยอดหาประเด็นเพิ่มเติม และไม่มีการอ้างอิงที่มา ส่วนความเข้าใจเกี่ยวกับการแชร์ข่าวมองว่า เป็นการแลกเปลี่ยนข่าว แบ่งปันข่าว การร่วมมือกันทำงาน การช่วยเหลือกันของนักข่าวในสนามข่าว นักข่าวมีการปฏิบัติติในการแชร์ข่าวในสนามข่าวทั้งในสังกัดเดียวกันและข้ามสังกัด คือการแบ่งงานกันทำ แล้วพิมพ์ต้นฉบับข่าวชิ้นเดียวกันใช้ส่งเข้าสำนักข่าว มีทั้งการแชร์กันเป็นกลุ่มละแชร์ส่วนบุคคลโดยการส่งอีเมลถึงกัน แชร์เข้าส่วนกลางของสำนักข่าวตนรวมทั้งการแลกเปลี่ยนประเด็นข่าวกันในกลุ่มเพื่อน ส่วนการลอกข่าวนักข่าวมีลักษณะการลอกทั้งหมด ลอกบางส่วน หรือลอกแล้วแก้ไข โดยคัดลอกมาจากหลายแหล่ง เช่น จากข่าวประชาสัมพันธ์ จากต้นฉบับข่าวที่ได้มาจากเพื่อนนักข่าวหรือคัดลอกจากหน้าเว็บไซต์ โดยมีทั้งอ้างอิงและไม่อ้างอิงแหล่งที่มาและมีลักษณะไม่แตกต่างกันระหว่างหนังสือพิมพ์ฉบับเล่มและหนังสือพิมพ์ออนไลน์ คือนักข่าวคนหนึ่งสามารถนำข่าวเดิมมาทำซ้ำออกมาได้หลายรูปแบบเพื่อรองรับการนำเสนอในสื่อหลากหลายประเภท ส่วนปัจจัยที่ทำให้เกิดการลอกข่าวนั้นเกิดจากนักข่าวไม่เพียงพอต่อการทำข่าวที่เกิดขึ้นในรอบวัน ความกดดันเรื่องเวลา สายสัมพันธ์ของนักข่าวในสนามข่าว การกลัวตกข่าว และการทำข่าวที่ต้องรองรับสื่อหลากหลายประเภท และจากปัจจัยส่วนบุคคล เช่น การขาดความกระตือรือร้น ความมักง่ายของนักข่าว ส่วนปัจจัยที่ทำให้เกิดการแชร์ข่าวคือจำนวนนักข่าวไม่เพียงพอต่อการทำข่าวที่เกิดขึ้นในรอบวัน เวลาที่จำกัด นักข่าวส่วนใหญ่มองว่าการแชร์ข่าวไม่ขัดแย้งกับจริยธรรมการทำข่าวเพราะมองว่าเป็นน้ำใจและการช่วยเหลือกัน ส่วนการลอกข่าวที่มีการนำมาแก้ไขเรียบเรียง หาประเด็นเพิ่มเติมนั้นถือเป็นเรื่องที่สามารถยอมรับได้ นักข่าวมองว่าการลอกข่าวทั้งหมดโดยไม่อ้างอิงนั้นขัดแย้งในเชิงจริยธรรมวิชาชีพในการทำข่าว และการลอกข่าวเดี่ยวถือเป็นเรื่องที่ไม่สามารถยอมรับได้ | en_US |
dc.description.abstractalternative | The research aims to study the understanding and practice of journalists about copying and sharing of news and the patterns that appear in the practice of Thai newspaper journalists, the difference thereof between professionals in print and online news, factors that affect the copying and sharing, and ethical conflicts that emerge. According to research result, the studied journalists understand copying news as taking news of others as their own, without making any reference or edited changes while sharing news, means exchanging news, mutually using the news, team working and helping each other to get news. In terms of news sharing practice, the interviewed journalists view it as a division of labor, at group, organizational, and cross-organizational levels. The following pattern of news sharing is found. Reporters type the original news piece and send it to their news affiliations. They share in each personal group via e-mail or in their circle of friends. In terms of news copying practice they copy the entire text from different sources ranging from press releases, their professional peers’ copies ,and websites .The pattern of making reference to the original authors is not consistent and does not differ in online and print versions .The usual pattern in copy production is for one single reporter to produce different versions of the same news for multiple platforms. The factors that led to the copying and sharing among the journalists include shortage of reporters, deadline pressure, social relationship in news fields and fear of missing out on important news, need to support various media platforms, and personally factors like laziness or inertia .However, most studied journalists feel that sharing news does not impose an ethical conflict since it is a part of personal and professional relationship in the news fields. But copying without reference is regarded as a breach of professional ethics while it is entirely unacceptable to share or copy exclusive news. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.14 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ข่าว | en_US |
dc.subject | จริยธรรม | en_US |
dc.subject | จรรยาบรรณ | en_US |
dc.subject | การสื่อข่าวและการเขียนข่าว | en_US |
dc.subject | หนังสือพิมพ์ไทย | en_US |
dc.subject | ไทย -- หนังสือพิมพ์ | en_US |
dc.subject | Professional ethics | en_US |
dc.subject | Reporters and reporting | en_US |
dc.subject | Thai newspapers | en_US |
dc.subject | Thailand -- Newspapers | en_US |
dc.title | การลอกข่าวและแชร์ข่าว กับความขัดแย้งเชิงจริยธรรมในหนังสือพิมพ์ไทย | en_US |
dc.title.alternative | Copying and sharing news and moral conflicts in Thai newspapers | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | นิเทศศาสตร์ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Pirongrong.R@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2012.14 | - |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Panicha Temhon.pdf | 2.46 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.