Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63876
Title: ผลของพอลิเอทิลีนชนิดความหนาแน่นปานกลาง พอลิเอทิลีนชนิดความหนาแน่นสูง และแคลเซียมคาร์บอเนตต่อสมบัติทางกายภาพของฟิล์มหดพอลิเอทิลีนชนิดความหนาแน่นต่ำ
Other Titles: Effects of medium density polyethylene, high density polyethylene and calcium carbonate on physical properties of low density polyethylene shrink film
Authors: สราวุธ แซ่โคว
Advisors: สิริวรรณ กิตติเนาวรัตน์
กนกทิพย์ บุญเกิด
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Siriwan.K@Chula.ac.th
Kanoktip.B@Chula.ac.th
Subjects: โพลิเอทิลีน
แคลเซียมคาร์บอเนต
Polyethylene
Calcium carbonate
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ทำการศึกษาสมบัติเชิงกลของฟิล์มหดพอลิเอทิลีนที่ได้จากการลดความหนาลงของพอลิเอทิลีนชนิดความหนาแน่นต่ำผสมกับพอลิเอทิลีนชนิดความหนาแน่นสูง พอลิเอทิลีนชนิดความหนาแน่นปานกลางและสารตัวเติมแคลเซียมคาร์บอเนต ด้วยการขึ้นรูปแบบอัดรีดเป่าชนิดสกรูเดี่ยว ในการทดลองนี้ได้ทำการผสม LDPE/HDPE และ LDPE/MDPE ที่อัตราส่วน 90/10 80/20 70/30 และ 60/40 โดยน้ำหนัก และทำการผสม LDPE/CaCO3 ที่อัตราส่วน 97.5/2.5 95/5 90/10 และ 85/15 โดยน้ำหนัก ซึ่งฟิล์มผสมที่ได้จะถูกนำมาทดสอบสมบัติทางความร้อน ความแข็งแรงต่อแรงดึง ความแข็งแรงของการผนึก และการหดตัว โดยผลการทดลองที่ได้จะนำมาเปรียบเทียบกับฟิล์มพอลิเอทิลีนชนิดความหนาแน่นต่ำบริสุทธิ์ที่ความหนา 30, 50, 70, 90, และ 110 ไมครอน จากผลการทดลองพบว่าปริมาณของพอลิเอทิลีนชนิดความหนาแน่นสูงและ พอลิเอทิลีนชนิดความหนาแน่นปานกลางที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ฟิล์มผสมมีความเป็นผลึกมากขึ้น เนื่องจากโครงสร้างโมเลกุลที่เป็นเส้นตรงและมีความหนาแน่นมากกว่า นอกจากนี้พบว่า ความแข็งแรงของการผนึกเพิ่มมากขึ้นเมื่อปริมาณพอลิเอทิลีนชนิดความหนาแน่นสูงและ พอลิเอทิลีนชนิดความหนาแน่นปานกลางเพิ่มขึ้น แต่ความสามารถในการหดตัวจะมีค่าลดลง ในทางกลับกันพบว่า ที่อัตราส่วนผสมของสารตัวเติมแคลเซียมคาร์บอเนตเพิ่มขึ้น ส่งผลให้การ หดตัวของฟิล์มผสมมีค่าสูงขึ้น มีปริมาณผลึกและความแข็งแรงต่อแรงดึงสูงขึ้นด้วย อย่างไร ก็ตามที่อัตราส่วนผสมของ LDPE/HDPE และ LDPE/MDPE ที่ 70/30 โดยน้ำหนักและอัตราส่วนผสมของ LDPE/CaCO3 ที่ 90/10 โดยน้ำหนัก ที่ความหนา 50 ไมครอน ให้สมบัติโดยรวมที่ใกล้เคียงกับฟิล์มพอลิเอทิลีนชนิดความนาแน่นต่ำบริสุทธิ์ที่ความหนา 90 ไมครอน และ 70 ไมครอน ตามลำดับ
Other Abstract: The aim of this research was to study the mechanical properties of downgauging film blends between low density polyethylene (LDPE) with high density polyethylene (HDPE), medium density polyethylene (MDPE), and calcium carbonate prepared by monolayer blown film extrusion. The compositions of LDPE/HDPE and LDPE/MDPE blends were varied from 90/10, 80/20, 70/30 and 60/40 w/w., and for LDPE/CaCO3 varied from 97.5/2.5, 95/5, 90/10 and 85/15 w/w. Film thickness of all blends was performed to very thin film at 50 micron compared to virgin LDPE film at 30, 50, 70, 90, and 110 micron. Thermal behavior, degree of crystallinity of these films and film properties of tensile strength, seal strength, shrink ability and haze were also investigated. From the results, higher content of HDPE tended to enhance the degree of crystallinity of blends due to their high linearity molecular structure and high density. On the other hand, the crystalline fraction value of LDPE/MDPE blends showed lower than that of virgin LDPE film for all compositions. However, tensile properties tended to increase when increasing all HDPE and MDPE contents but shrink ability tended to decrease. The results were also found that higher content of CaCO3 influenced to enhance tensile and shrink ability but seal strength weren’t change. These could be concluded that downgauging film of LDPE/HDPE, LDPE/MDPE blends at 70/30 w/w, and LDPE/CaCO3 at 90/10 w/w, in the thickness of 50 micron had the mechanical properties both of tensile and seal strength closed to those of virgin LDPE film having the thickness of 90 micron and 70 micron respectively. Finally, it had a possibility to reduce the amount of LDPE shrink film by downgauging method while remaining the mechanical properties of film in the range of shrink film applications.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์พอลิเมอร์ประยุกต์และเทคโนโลยีสิ่งทอ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63876
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sarawut Saekow.pdf1.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.