Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64099
Title: ธรณีเคมีของน้ำพุร้อนบ้านสมอทอง จังหวัดอุทัยธานี
Other Titles: Geochemistry of Baan Samorthong Hot Spring Changwat Uthai Thani
Authors: วราภรณ์ คำไพเราะ
Advisors: สกลวรรณ ชาวไชย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: sakonvan.c@chula.ac.th
Subjects: ธรณีเคมี
น้ำพุร้อน -- ไทย -- อุทัยธานี
น้ำพุร้อนบ้านสมอทอง (อุทัยธานี)
Geochemistry
Hot springs -- Thailand -- Uthai Thani
Baan Samorthong Hot Spring
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: แหล่งน้ำพุร้อนบ้านสมอทองตั้งอยู่ที่ อำเภอห้วยคต จังหวัดอุทัยธานี ในบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ของประเทศไทย เป็นแหล่งน้ำพุร้อนแหล่งเดียวของจังหวัดอุทัยธานี ถูกค้นพบขึ้นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 และสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2540 ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 40 ตารางกิโลเมตร ทั้งนี้ในพื้นที่ศึกษาดังกล่าวยังไม่ มีข้อมูลเกี่ยวกับธรณีเคมีของน้ำและยังไม่เคยมีการศึกษาในเชิงงานวิจัยมาก่อน ผู้วิจัยจึงจัดทำงานวิจัยนี้ขึ้น เพื่อศึกษาลักษณะทางธรณีเคมีและวัฏจักรของน้ำพุร้อนบ้านสมอทอง เพื่อเป็นประโยชน์ในด้านการจัดการ แหล่งน้ำพุร้อนนี้ต่อไปในอนาคต จากข้อมูลแผนที่ธรณีวิทยาของกรมทรัพยากรธรณี ปี พ.ศ. 2550 พบว่า แหล่งน้ำพุร้อนบ้านสมอทองตั้งอยู่บนตะกอน ยุคควอเทอร์นารีซึ่งปกคลุมอยู่บนหินแกรนิตยุคไทรแอสซิก โดยเป็นหินแกรนิตที่อยู่ในแนวตอนกลางของประเทศไทย (Central granite belt) จากการศึกษาพบว่า แหล่งน้ำพุร้อนบ้านสมอทองมีอุณหภูมิพื้นผิวประมาณ 54 องศาเซลเซียส มีค่า pH ประมาณ 8.1 มีค่าความ นำไฟฟ้าประมาณ 511 μS/cm และมีค่า TDS ประมาณ 383 ppm จากผลการทดลองนำไปสู่ผลการ วิเคราะห์ลักษณะธรณีเคมีของน้ำพุร้อนแหล่งนี้ ซึ่งพบว่ามีแหล่งที่มาของน้ำมาจากน้ำฝนซึ่งถูกเติมลงพื้นที่ เติมน้ำในช่วงฤดูฝน ไอออนในน้ำมาจากการทำปฏิกิริยาระหว่างน้ำฝนกับหินท้องที่ จากการวิเคราะห์ด้วย แผนภาพ Piper พบว่าเป็นน้ำประเภทโซเดียม โพแทสเซียมและไบคาร์บอเนต มีปริมาณของ Na และ HCO3 - ในน้ำสูง โดยมีปริมาณธาตุฟลูออไรต์และลิเทียมสูงกว่ามาตรฐานน้ำดื่มของ WHO ดังนั้นจึงสรุปผลได้ ว่าน้ำจากแหล่งน้ำพุร้อนนี้ไม่เหมาะสมสำหรับการบริโภค และจากการคำนวนอุณหภูมิใต้ผิวโลกของแหล่งกักเก็บของน้ำพุร้อน (Reservoir temperature) โดยใช้วิธีการคำนวนจากปริมาณของซิลิกาที่ละลายอยู่ในน้ำ โดยสมการของ Arnórsson, 2000 พบว่ามีอุณหภูมิประมาณ 76 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่สามารถ พัฒนาแหล่งน้ำพุร้อนนี้เพื่อใช้ประโยชน์ในด้านอื่นนอกจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแบบปัจจุบันได้ เช่น การทำห้องปรับอากาศ ห้องควบคุมอุณหภูมิสำหรับสัตว์เลี้ยง และด้านเกษตรกรรมจำพวกห้องควบคุม อุณหภูมิเพาะพันธุ์ไม้ แต่อุณหภูมิดังกล่าวยังเป็นอุณหภูมิที่มีค่าไม่สูงพอที่จะนำไปใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า
Other Abstract: Baan Samorthong hot spring of lower Northern Thailand has been recently discovered since World War II. The hot spring is built in 1997 located at Huaikhunkaeo reservoir, Huai Khot District, Uthai Thani Province, covering an area about 40 km2 with is the only hot spring of the province and the geochemistry has not been studied. So, the objective of this research is to study geochemical and cycle water of Baan Samorthong hot spring. Geologically, Quaternary unconsolidated sediments cover the hot spring area. Uthai Thani Geological mapping of DMR shows the Triassic granite under the Quaternary sediments which is considered central granite belt of Thailand.The results of Baan Samorthong hot spring show surface temperature about 54 °C. The spring’s pH is 8.1 considered weakly basic. Conductivity shows 511 μS/cm estimately and total dissolved solids (TDS) is about 383 ppm. Geochemically, the water in the thermal hot spring is meteoric water recharged in rainy season. Ions of water are from the interaction of meteoric water and the country rock. Geochemical analyses from ions in the hot spring water by Piper diagram reveal that sodium and potassium bicarbonate type with high sodium and bicarbonate and showing high contents of fluoride and lithium over WHO standard. Therefore, it is not appropriate for consuming. Reservoir temperature as calculated by silica geothermometer from Arnórsson, 2000 is about 76 °C. The temperature is not high enough for a geothermal power plant. However, this study is recommended to use Baan Samorthong hot spring for air conditioning, thermostat for domestic animal or agriculture e.g. nursery temperature controller room.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาธรณีวิทยา. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2560
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64099
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Senior_project_Waraporn Kumpairoh.pdf1.88 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.