Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64102
Title: รหัสตอบสนองอย่างรวดเร็วสำหรับธรณีวิทยา
Other Titles: Quick response code for geology
Authors: ธนิตา ไชยสิทธิ์
Advisors: ปิยพงษ์ เชนร้าย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Piyaphong.C@Chula.ac.th
Subjects: ธรณีวิทยา -- การศึกษาและการสอน
สื่อการสอน
ธรณีวิทยา -- การสอนด้วยสื่อ
Geology -- Study and teaching
Geology -- Teaching -- Aids and devices
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและทดสอบประสิทธิภาพรหัสตอบสนองอย่างรวดเร็ว กับงานสื่อการสอนทางธรณีวิทยา และประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งาน ซึ่งเป็นมิติใหม่ของการพัฒนา สื่อการสอนทางด้านธรณีวิทยา ให้มีความทันสมัย สามารถเรียกใช้งานสื่อการสอนนี้ได้ง่าย สะดวกต่อ การศึกษา และสามารถปรับปรุงไปประยุกต์ใช้กับงานทางธรณีวิทยาด้านอื่นๆ เช่น อุทยานธรณีวิทยา หรือ พิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยา ลักษณะของสื่อการสอนในครั้งนี้มีองค์ประกอบและคุณสมบัติของรูปแบบครบถ้วนสาหรับเป็นสื่อ การสอน ได้แก่ 1) สะดวกสำหรับการนำไปใช้ในสถานที่ต่างๆ เนื่องจากถูกบันทึกเป็นระบบดิจิทัล 2) เกิดผลการเรียนรู้แก่เป้าหมายอย่างชัดเจน เข้าใจง่ายไม่ซับซ้อน และ 3) เนื้อหาสอดคล้องกับมาตรฐาน การเรียนรู้และตัวชี้วัดของหลักสูตรแกนกลาง โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ จากการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการสังเกตพฤติกรรมของผู้ใช้ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิง ปริมาณจากแบบประเมินระดับความพึงพอใจต่อรหัสตอบสนองอย่างรวดเร็วจากผู้ใช้พบว่า 1) ผู้ใช้รู้สึก ตื่นเต้น และมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ได้เพิ่มมากขึ้น 2) ผลความพึงพอใจการนาเทคโนโลยีรหัสตอบสนอง อย่างรวดเร็วกับงานสื่อการสอนทางธรณีวิทยานี้ ผู้ใช้มีความพึงพอใจสื่อการสอนโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับดี
Other Abstract: The objectives of this research are to design and testing of quick response code for instruction media in geology and evaluate user satisfaction. The adoption of quick response code to learning is a new dimension in the development of geological educational materials. The quick response is modern technology, is easy to use and can be applied to other geological works such as geological park or geological museum. The instruction media from this study was built with a good qualification. The main properties of the instruction media in this study are; 1) easily used anywhere due to digital recording 2) enable users to understand the learning objectives clearer and easier by using this instruction media and 3) the content is consistent with learning standards and indicators of the core curriculum. The research tools for the qualitative data were the behavior observation while doing the research. The quantitative data were collected by using a satisfaction questionnaire. The results showed: 1) Users are active and participate in using quick response code. 2) The result of the satisfied survey is at a good level in average.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาธรณีวิทยา. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2560
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64102
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
senior_project_Thanita Chaiyasit.pdf4.71 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.