Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64167
Title: การสกัดแยกสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากรากโกฐกระดูก
Other Titles: Isolation of Bioactive Compounds from Saussurea lappa root
Authors: สืบสกุล โทนแจ้ง
Advisors: ขนิษฐา พุดหอม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Khanitha.P@Chula.ac.th
Subjects: สารสกัดจากพืช
สารต้านการอักเสบ
Plant extracts
Anti-inflammatory agents
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ศึกษาการสกัดและแยกสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากรากโกฐกระดูก (Saussurea lappa) โดยเตรียมส่วนสกัดหยาบ 3 ชนิดตามลำดับขั้วของตัวทำละลาย คือส่วนสกัดหยาบเฮกเซน อะซีโตนและเมทานอล และทำการคัดกรองโดยนำมาทดสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบด้วยการตรวจวัดความสามารถในการยับยั้งการผลิตไนตริกออกไซด์ (NO) ในเซลล์มาโครฟาจที่ถูกกระตุ้นด้วยไลโปโพลีแซคคาไรด์ (LPS) พบว่าส่วนสกัดหยาบเฮกเซนมีฤทธิ์ต้านการอักเสบดีที่สุด จึงนำมา แยกให้บริสุทธิ์โดยเทคนิคคอลัมน์โครมาโตกราฟี ซึ่งสามารถแยกสารที่เป็นองค์ประกอบหลักได้ 2 ชนิดคือ costunolide (SL-1) และ dehydrocostus lactone (SL-2) ซึ่งทั้งสองชนิดเป็นสารเซสคว เทอพีนที่มีหมู่ α-methylene-γ-lactone ในโครงสร้าง ต่อมาพบว่าหมู่ฟังก์ชันนี้เป็นหมู่จำเป็น สำหรับการมีฤทธิ์ต้านการอักเสบของสาร SL-1 จึงนำ SL-1 มาปิดวงโดยผ่านการ epoxidation ของ พันธะคู่ให้เกิดเป็นสารเซสควิเทอพีนกลุ่ม eudesmanolide ซึ่งโครงสร้างเป็นแบบ tricyclic และ ยังคงมีหมู่ α-methylene-γ-lactone ในโครงสร้างได้เป็นสาร cos-2 และ cos-3 นอกจากนี้ยังนำ สารที่ได้ทั้งสองมาทำปฏิกิริยา acetylation และ oxidation ได้อนุพันธ์อีก 4 ชนิดคือ cos-4, cos-5, cos-6 และ cos-7 เมื่อนำอนุพันธ์ที่สังเคราะห์ได้มาทดสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบ พบว่าสารกลุ่มนี้มี ฤทธิ์ต้านการอักเสบที่ดีมากด้วยค่า IC₅₀ อยู่ในช่วง 1.81-2.17 μM และดีกว่า costunolide (IC₅₀ = 3.39 μM) และไม่แสดงความเป็นพิษต่อเซลล์ที่ทดสอบ นอกจากนี้ยังทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็ง 3 ชนิดคือ MCF-7, HeLa และ HTC116 และเซลล์ปกติ CCD841 พบว่ามีเพียง costunolide ที่ฆ่าและ/หรือยับยั้งเซลล์มะเร็ง MCF-7 ได้ >95% ที่ 20 μM อย่างจำเพาะเจาะจง
Other Abstract: In this research, the isolation and purification of Saussurea lappa root was performed. Three crude extracts, hexane, acetone and methanol, have been prepared, and were subjected to the anti-inflammatory assay by measuring inhibitory activity against nitric oxide (NO) production from LPS-induced macrophage. The hexane extract showed the most potent activity, and was subsequently purified by using chromatographic techniques. Two major compounds, SL-1 and SL-2, were isolated and identified as costunolide and dehydrocostus lactone, respectively. Both compounds are sesquiterpenes and shared the α-methylene-γ-lactone moiety in their structures. It was further found that this functional group is required for the anti-inflammatory activity of SL-1. Further, SL-1 was subjected to ring closure via epoxidation of double bond to yield two eudesmanolide-type sesquiterpenes, cos-2 and cos-3. To extend the compound series, both of them were subjected to acetylation and epoxidation to yield four additional derivatives, cos-4, cos-5, cos-6 and cos-7. All semi-synthetic derivatives were evaluated for their anti-inflammatory. Surprisingly, all displayed potent anti-inflammatory activity with IC₅₀ ranging from 1.81 to 2.17 μM with no toxicity, as well as more potent than costunolide (SL-1). In addition, the cytotoxicity of the compounds against three human cancer cell lines and one non-cancerous cells was assessed. Only costunolide could selectively kill and/or inhibit MCF-7 more than 95% at 20 μM.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2559
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64167
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suebsakul To_Se_2559.pdf2.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.