Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64168
Title: | การวิเคราะห์ลักษณะภูมิประเทศในพื้นที่ลุ่มน้ำน่าน : ประยุกต์ใช้สำหรับธรณีแปรสัณฐาน |
Other Titles: | Terrain analysis in Nan watershed : application for tectonic |
Authors: | นัทธพงศ์ อุลลาวัลย์ |
Advisors: | สันติ ภัยหลบลี้ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Advisor's Email: | Santi.Pa@Chula.ac.th |
Subjects: | ลุ่มน้ำ ลุ่มน้ำน่าน ธรณีสัณฐาน — ไทย (ภาคเหนือ) Watersheds Nan River valley Landforms — Thailand, North |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ดัชนีธรณีสัณฐานเป็นการศึกษาพฤติกรรมทางธรณีสัณฐาน โดยใช้ข้อมูลทางการสำรวจจากระยะไกลในการแปลความหมายเป็นหลัก ซึ่งได้นำมาประยุกต์ใช้ในการประเมินความสัมพันธ์ทางธรณี แปรสัณฐานกับลักษณะภูมิประเทศที่เกิดขึ้นในพื้นที่บริเวณลุ่มน้ำน่านทีเห็นได้ชัดเจนโดยใช้ข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียมและแผนที่แสดงความสูงแบบดิจิตอลงานวิจัยนี้เลือกศึกษาโดยใช้ดัชนีธรณีสัณฐาน 2 ชนิด ได้แก่ ดัชนีความลาดยาวทางน้ำ และดัชนีความคดโค้งเชิงเขา ผลจากการวิเคราะห์พบว่า ดัชนีความลาดยาวทางน้ำในบริเวณพื้นที่ศึกษาพบว่ามีค่ามากกว่า 60 ขึ้นไปกระจายตัวทั่วบริเวณพื้นที่ศึกษา ซึ่งอาจสัมพันธ์กับการแปรสัณฐาน และจากค่าดัชนีดัชนีความลาดยาวทางน้ำทำให้พบว่าค่ามีแนวโน้มสูงในบริเวณที่มีความชันของพื้นที่สูง ส่วนค่าดัชนีความคดโค้งเชิงเขาในบริเวณพื้นที่ศึกษาพบว่า ทางตอนใต้ของพื้นที่ศึกษามีค่าเข้าใกล้ 1 จึงอาจส่งผลกระทบให้เกิดแผ่นดื่นไหวได้บ่อยครั้งในบริเวณนั้น ดัชนีธรณีสัณฐานที่ได้เป็นเพียงข้อมูลที่ได้จากการศึกษาเบื้องต้นของพฤติกรรมกระบวนการธรณีแปรสัณฐาน จากการศึกษาลักษณะภูมิประเทศโดยรวมเพื่อบ่งบอกลักษณะการเปลี่ยนแปลง และผลที่อาจเกิดจากรอยเลื่อนมีพลัง นอกจากนี้นำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาจะเป็นแนวทางในการศึกษาต่อและใช้ประโยชน์ในอนาคต |
Other Abstract: | Geomorphic Index is one of the quantitative methods evaluating effectively the tectonic activities related erosional process. This study focuses on the investigation of geomorphic index along the Nan Basin. This is analyzed by remote sensing data, satelite image and digtal elevation model. Totally 2 index are recognized in this study including the Stream length gradient index (SL) and Mountain front sinuosity Index (Smf) The results of the analysis for SL index, in the study areas are more than 60 implying the high tectonic activities. In case of Smf Index analyzed from mountain front, the South part of the study areas has a value of close to 1 implying the high tectonic activities However, the geomorphic index are only preliminary data on study tectonic activity. The study of landscape as a whole to describe the changes and activity in the area caused of active fault. The result from this study can help study area for other exploration on this area. |
Description: | โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2561 |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64168 |
Type: | Senior Project |
Appears in Collections: | Sci - Senior Projects |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Nattapong_U_Se_2561.pdf | 1.2 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.