Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64210
Title: การกระจายตัวของขนาดของตะกอนจากบริเวณด้านตะวันออกของทะเลน้อย จังหวัดพัทลุง
Other Titles: Grain size distribution of sediments from the eastern part of Thale-Noi, Phatthalung province
Authors: ปฐมพงศ์ จันทร์กลับ
Advisors: อัคนีวุธ ชะบางบอน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Akkaneewut.C@Chula.ac.th
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ทะเลน้อยเป็นทะเลสาบน้ำจืด ในจังหวัดพัทลุง มีคลองเชื่อมกับตอนเหนือของทะเลสาบ สงขลา แท่งตะกอน TLN-CP7 จึงถูกนำมาวิเคราะห์การหามวลที่หายไปจากการเผา และการกระจาย ตัวขนาดตะกอน เพื่อให้เข้าใจถึงสภาพแวดล้อมของพื้นที่ในอดีต แท่งตะกอน TLN-CP7 ประกอบด้วย 3 หมวดตะกอน ได้แก่ หมวดตะกอน C* เป็นชั้นเศษซากพืชที่เกิดการทับถมกันจนแน่น (compact peat) หมวดตะกอน D ตะกอนดินเหนียวสีเทาถึงเทาดำ มีการปะปนของเศษซากพืชบางส่วน และ หมวดตะกอน E เป็นตะกอนโคลนสีเทาดำถึงดำ มีการปะปนของเศษซากพืชเป็นส่วนใหญ่ เรียก ตะกอนชนิดนี้ว่า กึทจา (gyttja) จากการหาอายุของตะกอนด้วยวิธีเรดิโอคาร์บอน พบว่า ชั้นบนสุด ของชั้นพีท มีอายุราว 7,600 ปีก่อนช่วงปัจจุบัน หมวดตะกอน D สามารถแยกย่อยได้เป็น หมวด ตะกอน D1 หมวดตะกอน D2 และหมวดตะกอน D3 ในหมวดตะกอน D1 ขนาดตะกอนไม่มีการ เปลี่ยนแปลง ในขณะที่ค่ามวลที่หายไปจากการเผา มีค่าลดลงจาก 26.7% จนถึง 6.4% ถึงแม้ว่าการ กระจายตัวของขนาดตะกอนในหมวดตะกอน D2 จะใกล้เคียงกับชั้นบนของหมวดตะกอน D1 แต่ที่ ความลึก 3.62 เมตรจากผิวน้ำ ตะกอนมีขนาดใหญ่ขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ในหมวดตะกอน D3 ค่ามวลที่ หายไปจากการเผาเพิ่มขึ้นจนถึง 8% แต่การกระจายตัวของขนาดตะกอนใกล้เคียงกับชั้นบนของ หมวดตะกอน D2 ค่ามวลที่หายไปจากการเผาเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันในหมวดตะกอน E เพิ่มขึ้นจาก 8% จนถึง 20% อย่างไรก็ตามการกระจายตัวของขนาดตะกอนคงที่ แสดงให้เห็นว่าปริมาณน้ำท่าที่ ไหลเข้าสู่ทะเลสาบไม่มีการเปลี่ยนแปลง การที่ปริมาณอินทรียวัตถุในหมวดตะกอนนี้เพิ่มมากขึ้นอาจ เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมโดยรอบพื้นที่ศึกษาหลัง 7,600 ปีก่อนช่วงปัจจุบัน
Other Abstract: Thale Noi is a freshwater lake in Phatthalung province that is connected to the northern part of the Great Songkhla Lake. The sediment core TLN-CP7 was here analyzed by loss on ignition (LOI) and grain size distribution in order to understand the environmental history in this area. Core TLN-CP7 consist of 3 sediment units, i.e. compacted peat (unit C*), dark grey clay with detrital organic matter (unit D), and gyttja from bottom to top (unit E). The age of the compacted peat layer was about 7,600 cal. yr. BP in regarding to radiocarbon dating. Unit D can be further divided into 3 sub-unit, i.e. D1, D2 and D3. In unit D1, particles size distribution is insignificant change, while the LOI decrease from 26.7 to 6.4%. Despite the grain size distribution in unit D2 resemble with those in unit D1 at the bottom part, it increases at about 3.62 m depth from water surface. In unit D3, the LOI slightly increase to 8% but the grain size distribution is almost similar with those in the upper part of unit D2. The LOI in unit E suddenly increases from 8 to 20%. However, the grain size distribution is relatively stable. These all together suggest the environmental changes in the surrounding the study area after 7,600 cal. yr. BP.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2561
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64210
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pathompong_J_Se_2561.pdf1.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.