Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64224
Title: ลักษณะเฉพาะทางอัญมณีวิทยาของดีมันทอยด์การ์เนตจากประเทศนามีเบีย
Other Titles: Gemological characteristic of demantoid garnet from Namibia
Authors: เสาวพรรณ ใบแย้ม
Advisors: จักรพันธ์ สุทธิรัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Chakkaphan.S@Chula.ac.th
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาลักษณะเฉพาะทางอัญมณีวิทยา และองค์ประกอบทางเคมี ของดีมันทอยด์การ์เนต จากแหล่งประเทศนามิเบีย โดยใช้เครื่องมือวิเคราะห์ขั้นพื้นฐานและขั้นสูงทางอัญมณีใน การวิจัย เพื่อนำมาเปรียบเทียบลักษณะกับดีมันทอยด์การ์เนตจากประเทศอื่น และเป็นการกำหนดคุณภาพและ ราคาต่อไป ดีมันทอยด์คือชื่อทางการตลาดของการ์เนตประเภทแอนดราไดต์ มีสีเขียวและสีเขียวอมเหลือง มีความวาวสูง โดยตัวอย่างดีมันทอยด์การ์เนตในการศึกษาครั้งนี้มาจากพื้นที่ด้านทิศตะวันตกของประเทศนามิเบีย มีต้นกำเนิดมาจากหินแปรในพื้นที่ เช่น หินชีสต์ หินแคลก์-ซิลิเกต หินอ่อน และถูกแทรกด้วยมวลหินแกรนิตในยุคครีเตเชียส ทำให้บางส่วนถูกแปรสภาพแบบสัมผัส และกลายเป็นแร่แอนดราไดต์ที่พบร่วมกับหินอ่อน และหินแคลก์-ซิลิเกต ตัวอย่างดีมันทอยด์การ์เนตที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้มีทั้งสิ้น 34 ตัวอย่าง เป็นการ์เนตคุณภาพปานกลาง-ต่ำ บางตัวอย่างอาจสังเกตความขุ่นโดยตาเปล่า มีสีเขียวอมเหลือง โปร่งใส มีค่าความถ่วงจำเพาะ 3.648-3.907 g/cm³ ค่าดัชนีหักเหแสงสูงกว่า 1.81 และไม่พบการเรืองแสงภายใต้แสงอัลตราไวโอเลต ภายในพบรอยแตกที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่าจำนวนมาก พบมลทินแร่และรอยแตกสมานลายนิ้วมือเด่น โดยอาจพบมลทินคราบสนิมเหล็ก มลทินผลึกเนกาทีฟ และอาจพบแถบการเจริญเติบโตของผลึกได้บ้าง จากผลการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมี พบว่ามีองค์ประกอบหลักเป็น SiO₂ CaO และ FeO total และธาตุร่องรอยอื่นๆ สามารถคำนวณสัดส่วน End-member เป็นประเภทแอนดราไดต์มากกว่า 97.4% ขึ้นไป และพบว่ามีปริมาณธาตุร่องรอย Cr₂O₃ ในปริมาณต่ำ จากการศึกษาสเปกตรัมการดูดกลืนแสงในช่วง UV-Vis-NIR พบว่าสีดังกล่าวเป็นผลมาจากธาตุ Fe³+ และ Cr³+ ในองค์ประกอบ สามารถสรุปในเบื้องต้นได้ว่า Cr³+ ที่เป็นธาตุมลทินที่เป็นตัวกำหนดสีเขียวในดีมันทอยด์การ์เนต แต่ถ้า Cr³+ มีปริมาณที่ต่ำมาก จะปรากฏสีอมเหลืองเนื่องจากอิทธิพลขององค์ประกอบหลัก Fe³+ ในโครงสร้าง ซึ่งเป็นการเกิดสีแบบ Idiochromatic
Other Abstract: Demantoid is a trade name of andradite garnet which has green to yellowish green color and high dispersion. the host rock of demantoid in Namibia is characterized by schist, calcsilicate and marble in the west of the country. These Neoproterozoic meta-sediments were intruded by granitic magma in Cretaceous; consequently, they were metamorphosed to andradite garnet-bearing zone. The thirty-four demantoid samples under this study are mostly yellowish green with medium-low gem quality. Their luminescence is inert under UV lamps. Their specific gravity values range from 3.648 to 3.907 g/cm³ and refractive indices are over 1.81. Inclusions are significantly composed of mineral crystals and fingerprints. Moreover, iron strain in crack, negative crystal and growth line are also found in some samples. Chemical analyses indicate nearly pure andradite with ≥97.4% end-member content. Cr₂O₃ contents of these samples are very low. UVVis- NIR absorption spectra indicate that Cr³+ and Fe³+ is the main cause of yellowish green color. Based on the results of this study and previous works, it can be assumed that the green hue is caused by Cr³+ Then lower Cr³+ content in demantoid, more intense of yellow hue appears which is influenced by Fe³+ idiochromatic coloration.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาธรณีวิทยา. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2561
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64224
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Saowapan_B_Se_2561.pdf2.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.