Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64260
Title: การเปลี่ยนแปลงสังคมนกในพื้นที่ที่มีการใช้ประโยชน์ที่ดินที่แตกต่างกัน บริเวณตำบลไหล่น่าน อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน
Other Titles: Bird community dynamics in different land uses at Lainan Subdistrict, Wiang Sa District, Nan Province
Authors: ตวงพร มาประชา
Advisors: พงษ์ชัย ดำรงโรจน์วัฒนา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Pongchai.D@Chula.ac.th
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินกับการเปลี่ยนแปลงสังคมสิ่งมีชีวิตในระยะ ยาวยังมีน้อยทำให้ขาดความเข้าใจในการวางแผนการอนุรักษ์ การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการ เปลี่ยนแปลงสังคมนกในพื้นที่ที่มีการใช้ประโยชน์ที่ดินที่แตกต่างกัน 4 รูปแบบ (ป่าชุมชน นาข้าว สวนเกษตรริมน้ำ และพื้นที่ชุมชน) ในตำบลไหล่น่าน จังหวัดน่าน เนื่องจากนกเป็นสัตว์กลุ่มหนึ่งที่ตอบสนอง ต่อการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมได้เร็ว สำรวจนกด้วยวิธีสำรวจตามจุด (point count) โดยเก็บข้อมูลนก 2 ฤดูกาล ได้แก่ ฤดูฝน (กรกฎาคม–สิงหาคม 2561) และฤดูแล้ง (ธันวาคม 2561) และวิเคราะห์การ เปลี่ยนแปลงสังคมนกโดยเปรียบเทียบกับการศึกษาในฤดูแล้งของปีก่อนหน้า ผลการศึกษาพบนกรวม 13 อันดับ 44 วงศ์ 48 สกุล 64 ชนิด เมื่อพิจารณาในรายละเอียดพบว่าป่าชุมชน นาข้าว สวนเกษตรริมน้ำ และพื้นที่ชุมชน พบนกเฉลี่ย 10 ± 4, 17 ± 3, 15 ± 4 และ 17 ± 1 ชนิด ตามลำดับ ซึ่งจำนวนชนิดที่พบใน แต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P=0.05) เมื่อพิจารณาความชุกชุมของนกพบว่า ป่าชุมชน นาข้าว สวนเกษตรริมน้ำ และพื้นที่ชุมชน มีความชุกชุมเฉลี่ยทั้งสองฤดูกาลเท่ากับ 30 ± 17, 100 ± 37, 46 ± 10 และ 131 ± 30 ตัว ตามลำดับ โดยความชุกชุมเฉลี่ยในแต่ละพื้นที่มีค่าแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P=0.05) สำหรับการเปลี่ยนแปลงของชนิดนกและความชุกชุม พบว่าการศึกษา ก่อนหน้าพบนกรวม 59 ชนิด แต่ในการศึกษานี้พบนกในฤดูแล้งเพียง 51 ชนิด ซึ่งมีจำนวนชนิดนกที่ไม่พบใน การศึกษาครั้งนี้จำนวน 18 ชนิด เช่น นกปรอดทอง Pycnonotus atriceps นกคัดคูสีม่วง Chrysococcyx xanthorhynchus และพบชนิดนกใหม่ซึ่งไม่พบในการสำรวจก่อนหน้าจำนวน 10 ชนิด เช่น นกเขียวก้านตองหน้าผากทอง Chloropsis aurifrons นกยางไฟธรรมดา Ixobrychus cinnamomeus เป็นต้น ทั้งนี้พื้นที่นาข้าว สวนเกษตรริมน้ำ และพื้นที่ชุมชนมีจำนวนชนิดนกลดลง แต่ในพื้นที่ป่าชุมชนมี จำนวนชนิดนกเพิ่มขึ้น 2 ชนิด ในส่วนของความชุกชุมของนกพบว่าทุกพื้นที่มีความชุกชุมของนกเพิ่มขึ้น โดย ป่าชุมชน นาข้าว สวนเกษตรริมน้ำ และพื้นที่ชุมชน มีความชุกชุมของนกเพิ่มขึ้นเฉลี่ยเท่ากับ 3 ± 2, 59 ± 42, 25 ± 18 และ 105 ± 74 ตัว ตามลำดับ จากการศึกษาสรุปได้ว่าการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ ที่ดินและการรบกวนที่มีระยะเวลานานขึ้น ส่งผลให้สังคมนกมีการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านความหลากชนิดและ ความชุกชุม
Other Abstract: The study about the effect of land use and long-term community changes are limited. This study aim to study bird’s community changes in four different land uses which are community forest, paddy field, riparian and urban area at Lainan Subdistrict, Nan Province because bird is the one of animal groups that sensitive to environmental changes. Birds were observed by point count method in 4 land use types in the rainy (July – August) and the cold-dry (December) seasons in 2018. Bird’s community change was compared with the previous study in dry season. The result indicated that there were 13 orders 44 families 48 genera and 64 species. In details, average species richness in community forest, paddy field, riparian area and urban area were 10 ± 4, 17 ± 3, 15 ± 4 and 17 ± 1 species, respectively. Species richness had significantly different among land use types (P=0.05). Abundance of bird in community forest, paddy field, riparian area and urban area were 30 ± 17, 100 ± 34, 46 ± 10 and 131 ± 30 individuals, respectively, which was significantly different among land uses. (F=13.167, Sig.=0.000, P=0.05). Comparison the species richness and the abundance changes were found the previous study reported 59 species, however, this study found only 51 species. Eighteen species were not found in this study such as Pycnonotus atricep, Chrysococcyx xanthorhynchus, but 10 species were new recorded from the previous study such as Chloropsis aurifrons, Ixobrychus cinnamomeus. Species richness decreased in paddy field, riparian area and urban area but increased amount 2 species in community forest. The abundance of bird in community forest, paddy field, riparian area and urban area were decreased by the average of 3 ± 2, 59 ± 42, 25 ± 18 and 105 ± 74 individuals, respectively. The results showed that long-term land use changes and disturbance affect bird community change in both diversity and abundance.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2561
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64260
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tuangphorn_M_Se_2561.pdf1.62 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.