Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64283
Title: ลำดับการเข้ากินซากของแมลงและสัตว์ขาข้อชนิดอื่นบนซากหมู บริเวณป่าใกล้ชายหาดปิดบนเกาะแสมสาร อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี
Other Titles: Insects and other arthropods succession on pig carcasses at beach forest of Samae-san Island, Sattahip District, Chonburi Province
Authors: สุดารัตน์ เฟื่องมีคุณ
Advisors: บัณฑิกา อารีย์กุล บุทเชอร์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Buntika.A@Chula.ac.th
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: หลักฐานทางด้านนิติกีฏวิทยา (forensic entomology) เป็นหลักฐานสำคัญอย่างหนึ่งที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการสืบสวนคดีอาชญากรรม โดยอาศัยความรู้ทางการเจริญเติบโต สัณฐานวิทยา และการกระจายตัวของแมลงและสัตว์ขาข้อที่พบบนศพและบริเวณรอบศพ เพื่อมาคาดการณ์หาระยะเวลาหลังการตาย (Postmortem Interval, PMI) และบางกรณีอาจช่วยในการคาดการณ์สถานที่เกิดเหตุได้ ในประเทศไทยการศึกษาทางด้านนิติกีฏวิทยายังมีไม่มากนัก โดยเฉพาะในพื้นที่บริเวณใกล้ชายหาดซึ่งยังไม่เคยมีการศึกษามาก่อน นำมาสู่วัตถุประสงค์ของงานวิจัยครั้งนี้คือ ศึกษาลำดับการเข้ากินซาก และความหลากชนิดของแมลงและสัตว์ขาข้อบนซากหมูบริเวณป่าใกล้ชายหาดปิดบนเกาะแสมสาร อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี งานวิจัยนี้จัดทำขึ้นในพื้นที่ป่าดิบแล้งฝั่งทะเล บริเวณหาดเตย เกาะแสมสาร (พิกัด N 12°37.82’, E 100°57.12’) โดยใช้หมูที่มีน้ำหนัก 30-35 กิโลกรัม เปรียบเทียบในช่วงฤดูฝน (23 กรกฎาคม – 20 ตุลาคม 2561) และฤดูแล้ง (24 ธันวาคม 2561 – 23 มีนาคม 2562) พบว่าทั้ง 2 ฤดูมีแมลงที่เข้ามากินซากชนิดหลักจัดอยู่ในอันดับ Diptera, Coleoptera และ Hymenoptera ตามลำดับ ในช่วงฤดูฝนพบแมลงวันหัวเขียวชนิด Chrysomya megacephala และ C. rufifacies เป็นจำนวนมากที่สุด โดยพบ C. megacephala เป็นแมลงวันชนิดแรกที่เข้ามากินซาก และต่อมาพบด้วงชนิด Saprinus splendens เป็นชนิดหลัก ในฤดูแล้งพบแมลงวันหัวเขียวชนิด C. rufifacies, C. megacephala และ C. nigripes เป็นจำนวนมากที่สุด โดยพบตัวอ่อนของแมลงวันหลังลาย Sarcophaga dux เป็นตัวอ่อนแมลงชนิดแรกที่เข้ามากินซาก และภายหลังพบด้วงชนิด Necrobia rufocollis และ N. rufipes เป็นจำนวนมากที่สุดที่เข้ามากินซาก เนื่องจากการศึกษานี้ถูกรบกวนจากสัตว์ชนิดอื่นในช่วงฤดูฝน ทำให้ซากที่ใช้ทำการศึกษาเกิดความเสียหาย จึงไม่สามารถสรุปได้ถึงความหลากชนิดของแมลงและสัตว์ขาข้อที่เข้ามากินซาก และอัตราการย่อยสลายของซากในช่วงฤดูฝนได้
Other Abstract: Forensic entomological evidence is one of the forensically important evidences. It can be applied for forensic investigation, using knowledge of development, morphology, and distribution of insects and other arthropods found on or around the body to estimate the postmortem interval (PMI) and in some cases, possibility of where the crime was committed. In Thailand, there was a limited studies of forensic entomology, especially at the beachside area, no record of forensic entomology in this habitat. This research aimed to study the succession and species diversity of insects and other arthropods on the pig carcasses at the beach forest of Samae-san Island, Sattahip District, Chonburi Province. The study site located in dry evergreen forest near Toey beach on Samae-san Island (N 12°37.82’, E 100°57.12’). Pig carcasses weight 30-35 kg were compared between monsoon wet season (23rd July – 20th October 2018) and dry season (24th December 2018 – 23rd March 2019). Results of this study revealed that the dominant insect species found on the pig carcass were in the order Diptera, Coleoptera, and Hymenoptera, respectively. In monsoon wet season, Chrysomya megacephala and C. rufifacies were the most common flies while C. megacephala was the first fly to arrive at the carcass, Saprinus splendens was the dominant beetle species during the later stage of decomposition. In dry season, C. rufifacies, C. megacephala, and C. nigripes were the most commonly found blowflies while Sarcophaga dux maggots were the first fly larvae arrived and consumed the carcass, Necrobia rufocollis and N. rufipes were the dominant beetle species during the later stage of decomposition. Due to the disturbance of other animals in the monsoon wet season, the carcass was damaged, therefore, the results of insect and other arthropod species diversity that colonized the carcasses and the decomposition stage cannot be concluded.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2561
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64283
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sudarat_F_Se_2561.pdf1.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.