Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64484
Title: การดูดซับตะกั่วและซีเลเนียมบนตัวดูดซับกากตะกรัน จากเตาหลอมเหล็ก
Other Titles: Lead and selenium adsorption on blast furnace slag
Authors: วรรณชนี ศรีโพธิ์งาม
Advisors: สุธา ขาวเธียว
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Sutha.K@Chula.ac.th
Subjects: น้ำเสีย -- การบำบัด -- การกำจัดโลหะหนัก
ตะกั่ว -- การดูดซึมและการดูดซับ
ซีลีเนียม -- การดูดซึมและการดูดซับ
ขี้เชื่อม
Sewage -- Purification -- Heavy metals removal
Lead -- Adsorption
Selenium -- Adsorption
Slag
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการดูดซับตะกั่วและซีเลเนียมในน้ำเสียสังเคราะห์บนตัวดูดซับกากตะกรันจากการหลอมเหล็กในระดับห้องปฏิบัติการ การทดลองแบ่งเป็น 7 ตอน เพื่อศึกษาหาองค์ ประกอบของกากตะกรัน เวลา พีเอช ปริมาณกากตะกรัน ความเข้มข้นเริ่มต้น ผลจากความแรงไอออนที่เหมาะสมในกระบวนการดูดซับ และผลของการดูดซับตะกั่วและซีเลเนียมที่มีต่อกันและกัน โดยมีขอบเขตการวิจัยตังนี้ กากตะกรันขนาดตะแกรงเบอร์ 70 - 150 พีเอซ 3 -8 รอบการเขย่า 125 รอบต่อนาที อุณหภูมิห้อง ความแรงไอออน 0.01, 0.02, และ 0.05 มิลลิโมล ในปริมาณกากตะกรัน 0.5 - 2.5 กรัม ผลการศึกษาพบว่า องค์ประกอบกากตะกรันก่อนและหลังการดูดซับมีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย เวลาเข้าสู่สมดุลของตะกั่วและซีเลเนียม 5 ชั่วโมง เมื่อพีเอชมากขึ้นจะทำให้การดูดซับตะกั่วเพิ่มขึ้นโดยเหมาะกับสมการแลงมัวร์ไอโซเทีร์มในขณะที่การดูดซับซีเลเนียมจะลดลงโดยเหมาะกับสมการฟลอยดลิช ความแรงไอออนมีผลทำให้การดูดซับตะกั่วและซีเลเนียมลดลงเพียงเล็กน้อย (5-6%) เนื่องจากทั้งตะกั่วและซีเลเนียมมีการสร้างพันธะแบบ Inner - sphere complexes ซึ่งเป็นพันธะที่แข็งแรง เมื่อระบบมีตะกั่ว (ประจุบวก) และซีเลเนียม (ประจุลบ) สามารถสรุปไต้ว่า ต่างก็ช่วยกันเสริมการดูดซับขึ้งกันและกันในทุกสัดส่วน
Other Abstract: The objective of this research was to investigate the lead and selenium adsorption on blast furnace slag. All experiments were conducted in completely mixed, laboratory scale, and batch reactor with synthetic wastewater. The contents of slag, equilibrium time, pH, amount of slag, initial concentration, effect of ionic strength and effect of lead (Divalent Cation) and selenium (Oxyanion) were evaluated. The experiment boundaries are slag mesh no. 70 - 150, pH 3 - 8, 125 rpm, room temperature, ionic strength 0.01 - 0.05 mM. CH3COONa and 0.5 - 2.5 grams of slag. The results show that the different contents of slag before and after was not significant. Adsorption of lead and selenium on slag reached the equilibrium after 5 hours. The adsorption of lead increased with increasing pH and can be modeled by Langmuir equation. The adsorption of selenium decreased with increasing pH and can be modeled by Fruendlich equation. Changing of ionic strength had no significant effect on both lead and selenium adsorption, suggesting an inner - sphere surface complex between slag and both metals. In lead (Divalent Cation) and selenium (Oxyanion) mixed system, both adsorption processes increased at all proportions.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64484
ISBN: 9740310494
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wanchanee_sr_front_p.pdf814.11 kBAdobe PDFView/Open
Wanchanee_sr_ch1_p.pdf640.44 kBAdobe PDFView/Open
Wanchanee_sr_ch2_p.pdf1.09 MBAdobe PDFView/Open
Wanchanee_sr_ch3_p.pdf2.18 MBAdobe PDFView/Open
Wanchanee_sr_ch4_p.pdf1.74 MBAdobe PDFView/Open
Wanchanee_sr_ch5_p.pdf633.95 kBAdobe PDFView/Open
Wanchanee_sr_back_p.pdf1.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.