Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64560
Title: กิจกรรมพัฒนาคุณภาพบริการในโรงพยาบาลชุมชน สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข
Other Titles: Service-quality improvement activities in community hospitals under the Office of the Permanent Secretary, Ministry of Public Health
Authors: สรัญ อินตะวัน
Advisors: จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์
บดี ธนะมั่น
Advisor's Email: Jiruth.S@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: บริการการพยาบาลของโรงพยาบาล--ไทย
ประกันคุณภาพ--ไทย
โรงพยาบาลชุมชน
โรงพยาบาล--การรับรองคุณภาพ--ไทย
Hospital nursing services--Thailand
Quality assurance--Thailand
Hospitals -- Accreditation--Thailand
Issue Date: 2544
Abstract: การศึกษาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพบริการในโรงพยาบาลชุมชนสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข โดยการศึกษาแบบสำรวจเชิงพรรณนา ที่มีโรงพยาบาลชุมชน ทุกแห่ง จำนวน 712 แห่ง เป็นกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา ทำการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามส่งไปยังโรงพยาบาลชุมชน โดยผู้อำนวยการหรือรักษาการผู้อำนวยการเป็นผู้ตอบแบบสอบถาม ในช่วงเดือน ธันวาคม พ.ศ.2544 ถึง กุมภาพันธ์ พ.ศ.2545 ได้รับแบบสอบถามกลับทั้งหมด 393 แห่ง คิดเป็นอัตราตอบกลับร้อยละ 55.20 ผลการศึกษาพบว่า กิจกรรม 5 ส เป็นกิจกรรมที่โรงพยาบาลชุมชนเคยทำมากที่สุด ร้อยละ 79.70 และกิจกรรมที่เคยทำน้อยที่สุด คือ ISO 14001 ร้อยละ 1.80 ช่วง 3 ปีที่ผ่านมาโรงพยาบาลมีการทำกิจกรรม 5ส. มากที่สุด ร้อยละ 62.3 รองลงมา คือ กิจกรรมพัฒนาเพื่อรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (HA) ร้อยละ 53.9 กิจกรรมพัฒนาคุณภาพที่มีความสัมพันธ์ระหว่างขนาดโรงพยาบาล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p's ≤ 0.05) ได้แก่ กิจกรรมพบส., กิจกรรมพัฒนาพฤติกรรมบริการ, กิจกรรมพัฒนาองค์กร, กิจกรรมประกันคุณภาพ, กิจกรรม3S (Smell Smile Surrounding), กิจกรรม TQM/CQI, กิจกรรม พัฒนาเพื่อรับรองคุณภาพ (HA) 1 กิจกรรม ISO 9001,9002,กิจกรรม ISO/IEC 17025 และกิจกรรม PSO เหตุผลที่เลือกทำกิจกรรมส่วนใหญ่ คือ ทำตามนโยบาย, ทำเพื่อเพิ่มคักยภาพหน่วยงาน และ พัฒนามาตรฐานสู่สากล และ เหตุผลที่ไม่เลือกทำ คือ ไม่มีนโยบายที่ชัดเจน สำหรับขอบเขตของงานมักจะทำครอบคลุมทุกกลุ่มงาน ยกเว้น กิจกรรมประกันคุณภาพที่ส่วนใหญ่ทำในกลุ่มงานการพยาบาล และ ISO/IEC 17025 ทำเฉพาะในห้องชันสูตร ส่วนใหญ่ทุกกิจกรรมจะให้ความรู้ผู้ปฏิบัติงานและมีการประเมินผลการดำเนินงานแล้ว สำหรับเหตุผลสำคัญที่ทำให้กิจกรรมประสบผลสำเร็จ ได้แก่ นโยบายชัดเจน, แกนนำมีความมุ่งมั่น และความร่วมมือของทีมงาน สำหรับปัจจัยสำคัญที่ทำให้กิจกรรมล้มเหลว ได้แก่ ไม่มีนโยบายที่ชัดเจน, ขาดการติดตามประเมินผล, ขาดความร่วมมือของเจ้าหน้าที่ สำหรับปัญหาการดำเนินงานส่วนใหญ่อยู่ในระดับน้อยถึงปานกลาง ผลที่ได้จากการศึกษาสามารถไปจัดรูปแบบการทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพบริการสำหรับโรงพยาบาลชุมชนในแต่ละขนาดได้อย่างเหมาะสม
Other Abstract: The purpose of this study was to survey quality improvement programs in community hospitals of the Ministry of Public Health. The sample included 712 community hospitals. Questionnaires were mailed to hospital directors during December 2001 to February 2002 with the response rate of 55.20%. The findings indicate that the 5 - S program was most commonly used in the community hospital (79.70%) whereas ISO 14001 program was used the least (1.80%). The 5 - S program was the first choice of the programs for the past three years. The quality improvement activities found associated with hospital sizes (p’s ≤ 0.05) included rural public health service improvement’s program, Excellent Service Behavior (ESB), Organization Development (OD), Quality Assurance (QA), 3 S (Smell Smile Surrounding), TQM/CQI, ISO 9001,9002, ISO/IEC 17025 and PSO. Primarily, most activities were started because of the Ministry policy, the need to enhance the efficiency of the organization, and the self need for improvement. The major reason for not doing any quality activities was that the policy was not clear. Most of the programs were usually implemented hospital-wide, except the nursing quality assurance and the ISO/IEC 17025 of the laboratory departments. The critical success factors included clear policies, leadership commitment teamwork. The failure factors consisted of unclear policy, lack of monitoring and evaluation and lack of CO - ordination. Nevertheless, their operational problems were moderate. The research results could be applied to set the appropriate quality improvement programs in community hospital.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เวชศาสตร์ชุมชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64560
ISBN: 9740317391
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sarun_in_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ797.99 kBAdobe PDFView/Open
Sarun_in_ch1_p.pdfบทที่ 1706.58 kBAdobe PDFView/Open
Sarun_in_ch2_p.pdfบทที่ 21.5 MBAdobe PDFView/Open
Sarun_in_ch3_p.pdfบทที่ 3665.98 kBAdobe PDFView/Open
Sarun_in_ch4_p.pdfบทที่ 41.64 MBAdobe PDFView/Open
Sarun_in_ch5_p.pdfบทที่ 51 MBAdobe PDFView/Open
Sarun_in_back_p.pdfรายการอ้างอิงและภาคผนวก1.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.