Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64632
Title: Depression and domestic violence experiences among postpartum women in Nepal
Other Titles: ภาวะซึมเศร้าและประสบการณ์ความรุนแรงในครอบครัวของหญิงหลังคลอดในประเทศเนปาล
Authors: Pallavi Koirala
Advisors: Montakarn Chuemchit
Other author: Chulalongkorn University. College of Public Health Sciences
Advisor's Email: Montakarn.Ch@Chula.ac.th
Subjects: Depression -- Nepal
Postpartum depression -- Nepal
Family violence -- Nepal
ความซึมเศร้า -- เนปาล
ความซึมเศร้าหลังคลอด -- เนปาล
ความรุนแรงในครอบครัว -- เนปาล
Issue Date: 2019
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: Background: Postpartum Depression  is an important cause of maternal and infant morbidity as well as mortality. This study aimed to determine the prevalence of postpartum depression and domestic violence experience as well as to identify association of postpartum depression with domestic violence experiences and other factors among women in Nepal. Methods: The study was a cross sectional hospital-based research conducted in Kathmandu, Nepal among women who were 6 weeks to 6 months postpartum; chosen by simple random sampling. Self-report questionnaire was used Results: The prevalence of PPD was found to be 20.7% while that of the different forms of domestic violence ranged between 10% and 44.5%. History of mental illness (OR= 8.26), family history of mental illness (OR= 2.84), unplanned pregnancy (OR= 3.2), Low Birth Weight of infant (OR= 3.6), Psychological Violence in the past year (OR= 8.3), Physical violence in the past year (OR= 7.6) and Childhood Sexual Abuse (OR= 12.7) were found to increase the odds of PPD. Discussion:  The findings of the study unequivocally shows the association between different factors, most notable among which is domestic violence and PPD. Maternal mental health is a neglected area of healthcare in Nepal. Likewise, domestic violence is a readily recognized, but inadequately addressed social issue. We recommend that healthcare workers be trained to recognize and support the women who are vulnerable to violence and depression during pregnancy and postpartum. Policies need to be developed at national levels to tackle these issues with utmost urgency.
Other Abstract: บทนำ:ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดเป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งของการเจ็บป่วยและการเสียชีวิตของมารดาและทารก  มีงานวิจัยหลายงานชิ้นพบว่าความรุนแรงในครอบครัวสามารถเพิ่มความเสี่ยงของภาวะซึมเศร้าหลังคลอดได้ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของภาวะซึมเศร้าหลังคลอดและประสบการณ์ความรุนแรงในครอบครัว รวมทั้งเพื่อหาความสัมพันธ์ของภาวะซึมเศร้าหลังคลอดกับประสบการณ์ความรุนแรงในครอบครัวของสตรีเนปาล นอกจากนี้การศึกษาครั้งนี้ยังมีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าในสตรีหลังคลอดในประเทศเนปาล วิธีการศึกษา: การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาภาคตัดขวางโดยศึกษาในโรงพยาบาลในกาฐมาณฑุ ประเทศเนปาล กลุ่มเป้าหมายคือสตรีหลังคลอด (6 สัปดาห์-6 เดือน) โดยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายและใช้การตอบแบบสอบถามด้วยตนเอง การวิจัยครั้งนี้ไม่มีการเปิดเผยชื่อผู้เข้าร่วม และข้อมูลทั้งหมดถูกเก็บเป็นความลับ และนำเสนอในภาพรวม ในส่วนของการวิเคราะห์ข้อมูลนั้น ได้ใช้สถิติเชิงพรรณา และสถิติอ้างอิงโดยใช้การทดสอบไคสแควร์และการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกห์เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ผลลัพธ์: การวิจัยครั้งนี้พบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 20.7 มีภาวะซึมเศร้าหลังคลอด ในขณะที่ร้อยละ 10 ถึงร้อยละ 44.5 มีประสบการณ์ความรุนแรงในครอบครัว นอกจากนี้ยังพบว่า ประวัติความเจ็บป่วยทางจิต, ประวัติครอบครัวของความเจ็บป่วยทางจิต, รูปแบบการคลอด, ความตั้งใจตั้งครรภ์, น้ำหนักแรกเกิดของทารก, ความรุนแรงทางจิตใจในปีที่ผ่านมา, ความรุนแรงทางกายในปีที่ผ่านมา, ความรุนแรงทางเพศในปีที่ผ่านมา และการล่วงละเมิดทางเพศในวัยเด็กพบว่ามีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับภาวะซึมเศร้าหลังคลอด นอกจากนี้ยังพบว่าปัจจัยดังต่อไปนี้ส่งผลต่อการเพิ่มโอกาสของการเกิดภาวะซึมเศร้าหลังคลอด ได้แก่ ประวัติความเจ็บป่วยทางจิต (OR = 8.26), ประวัติครอบครัวของความเจ็บป่วยทางจิต (OR = 2.84), การตั้งครรภ์ที่ไม่ได้วางแผน (OR = 3.2), น้ำหนักแรกเกิดน้อยของทารก (OR = 3.6), ความรุนแรงทางจิตวิทยาในปีที่ผ่านมา (OR = 8.3 ) ความรุนแรงทางกายภาพในปีที่ผ่านมา (OR = 7.6) และการล่วงละเมิดทางเพศในวัยเด็ก (OR = 12.7) การอภิปรายผล: ผลการวิจัยแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆต่อการเกิดภาวะซึมเศร้าหลังคลอด ที่น่าสนใจคือความรุนแรงในครอบครัวต่อการเกิดภาวะซึมเศร้าหลังคลอดของมารดา ในประเทศเนปาล สุขภาพจิตของมารดาเป็นประเด็นที่ค่อนข้างถูกละเลย เช่นเดียวกับความรุนแรงในครอบครัวซึ่งแม้จะเป็นปัญหาทางสังคมที่เป็นที่รับรู้ แต่ไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเพียงพอ ข้อแนะนำจากงานวิจัยนี้คือบุคลากรทางการแพทย์ควรได้รับการฝึกอบรมให้รับรู้และช่วยเหลือผู้หญิงที่มีความเสี่ยงต่อความรุนแรงในครอบครัวและภาวะซึมเศร้าในระหว่างตั้งครรภ์และหลังคลอด ที่สำคัญควรยกระดับประเด็นเหล่านี้ให้เป็นนโยบายระดับประเทศ เพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วนต่อไป
Description: Thesis (M.P.H.) --Chulalongkorn University, 2019
Degree Name: Master of Public Health
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Public Health
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64632
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.480
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2019.480
Type: Thesis
Appears in Collections:Pub Health - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6178868153.pdf1.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.