Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64639
Title: | ผลของความเสถียรของน้ำหนักและพื้นผิวในการฝึกที่มีต่อพลังของกล้ามเนื้อขา การทรงตัว และความคล่องแคล่วว่องไวของนักกีฬาฟุตบอลชาย |
Other Titles: | Effects of stability of load and surface training on legs muscular power balance and agility in male football players |
Authors: | วรวรรธน์ บุษดี |
Advisors: | สุทธิกร อาภานุกูล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา |
Advisor's Email: | Suttikorn.A@Chula.ac.th |
Subjects: | ขา -- กล้ามเนื้อ การฝึกกำลังกล้ามเนื้อ นักฟุตบอล Leg -- Muscles Muscle strength training Soccer players |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วัตถุประสงค์ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของความเสถียรของน้ำหนักและพื้นผิวในการฝึก ที่มีต่อพลังของกล้ามเนื้อขา การทรงตัว และความคล่องแคล่วว่องไวของนักกีฬาฟุตบอลชาย วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักกีฬาฟุตบอลชายจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ช่วงอายุ 18-25 ปี โดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง แบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 10 คน โดยกลุ่มที่ 1 ฝึกด้วยน้ำหนักที่เสถียร บนพื้นผิวที่เสถียร กลุ่มที่ 2 ฝึกด้วยน้ำหนักที่ไม่เสถียรบนพื้นผิวที่เสถียร กลุ่มที่ 3 ฝึกด้วยน้ำหนักที่เสถียร บนพื้นผิวที่ไม่เสถียร กลุ่มที่ 4 ฝึกด้วยน้ำหนักที่ไม่เสถียร บนพื้นผิวที่ไม่เสถียร ทำการทดสอบความแข็งแรงกล้ามเนื้อ พลังของกล้ามเนื้อขา การทรงและความคล่องแคล่วว่องไว ก่อนและหลังได้รับการฝึก 6 สัปดาห์ นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติ โดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้การทดสอบความแปรปรวนสองทางแบบวัดซ้ำ Two-way analysis of variance with repeated measures ถ้าพบความแตกต่างจึงเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ โดยใช้วิธีการของบอนโฟโลนี่ (Bonferroni) โดยทดสอบนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัย 1. หลังการทดลอง 6 สัปดาห์ กลุ่มที่ 1 ฝึกด้วยน้ำหนักที่เสถียร บนพื้นผิวที่เสถียร กลุ่มที่ 2 ฝึกด้วยหนักที่ไม่เสถียรบนพื้นผิวที่เสถียร กลุ่มที่ 3 ฝึกด้วยน้ำหนักที่เสถียร บนพื้นผิวที่ไม่เสถียร กลุ่มที่ 4 ฝึกด้วยน้ำหนักที่ไม่เสถียร บนพื้นผิวที่ไม่เสถียร มีค่าพลังของกล้ามเนื้อขา ความแข็งแรงสัมพัทธ์ การทรงตัวขาซ้าย การทรงตัวขาขวา และความคล่องแคล่วว่องไว เพิ่มขึ้นจากก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. หลังการทดลอง 6 สัปดาห์ กลุ่มที่ 1 ฝึกด้วยน้ำหนักที่เสถียร บนพื้นผิวที่เสถียร กลุ่มที่ 2 ฝึกด้วยน้ำหนักที่ไม่เสถียรบนพื้นผิวที่เสถียร กลุ่มที่ 3 ฝึกด้วยน้ำหนักที่เสถียร บนพื้นผิวที่ไม่เสถียร กลุ่มที่ 4 ฝึกด้วยน้ำหนักที่ไม่เสถียร บนพื้นผิวที่ไม่เสถียร มีค่าพลังของกล้ามเนื้อขา ความแข็งแรงสัมพัทธ์ การทรงตัวขาซ้าย และความคล่องแคล่วว่องไว ไม่ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และกลุ่มที่ 3 มีค่าการทรงตัวของขาขวา แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปผลการวิจัย จากการทดลองผลของความเสถียรของน้ำหนักและพื้นผิวในการฝึก สามารถพัฒนาสมรรถภาพทางกายของนักกีฬาฟุตบอลได้ โดยรูปแบบการฝึกด้วยน้ำหนักที่ไม่เสถียร บนพื้นผิวที่ไม่เสถียร มีความเหมาะสมที่จะนำไปฝึกเพื่อพัฒนาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ พลังกล้ามเนื้อและความคล่องแคล่วว่องไว และรูปแบบการฝึกด้วยน้ำหนักที่เสถียร บนพื้นผิวที่ไม่เสถียร เหมาะที่จะนำไปฝึกเพื่อพัฒนาการทรงตัวในนักกีฬาฟุตบอลได้ |
Other Abstract: | Purpose The purpose of this study was to investigate effects of stability of load and surface training on legs muscular power balance and agility in male football players. Methods forty male football players from Chulalongkorn University (age = 18-25 yrs.) were recruited in this study. Subjects were divided into four groups 1. stable load and stable surface 2. Unstable load and stable surface 3. stable load and Unstable surface 4. Unstable load and Unstable surface. All groups trained twice a week for a period of six weeks. The subjects were tested for muscle power, muscle strength (1RM), balance and agility prior after six weeks of the experimental. Obtained data were analyzed as means and standard deviations and analyzed by Two-way analysis of variance with repeated measures, respectively. the statistical significant was set at p<.05. Results 1. After the 6-week training period, all groups showed improvements leg muscular power, relative strength, left and right leg balance and agility. when compared to prior training. 2. After the 6-week training period, there were no significant different in lower body strength, power, left leg balance and agility among groups. However, stable load with unstable surface training showed right leg balance great at a significance level of .05. Conclusion: The result of the stability of load and surface training can improve the football performance in different way. The conclusion in the experiment is the training with unstable load on unstable surface makes the nice development on legs muscular strength, power and agility while the training with stable load on unstable surface makes the advance in balance. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิทยาศาสตร์การกีฬา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64639 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.1104 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2019.1104 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Spt - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6078317639.pdf | 6.28 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.