Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64728
Title: อนุภาค แบบเรื่องและการดัดแปลงละครอิงประวัติศาสตร์ข้ามภพ เรื่อง “ทวิภพ” และ “บุพเพสันนิวาส” 
Other Titles: Motif, tale type and adaptation in time travel historical drama “Tawipob” and “Buppesannivas”
Authors: พัชรี จันทร์ทอง
Advisors: ธนสิน ชุตินธรานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Thanasin.c@Chula.ac.th
Subjects: การดัดแปลงเป็นละครโทรทัศน์
ละครโทรทัศน์
Television adaptations
Television plays
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยชิ้นนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์อนุภาค แบบเรื่อง ตลอดจนกลวิธีการดัดแปลงละครอิงประวัติศาสตร์ข้ามภพเรื่อง “ทวิภพ” และ “บุพเพสันนิวาส” ผู้วิจัยใช้วิธีการวิเคราะห์ตัวบท โดยสร้างแบบวิเคราะห์ตัวบทนวนิยายและละครโทรทัศน์ เรื่อง ทวิภพ และ บุพเพสันนิวาส พร้อมทั้งเก็บข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างจากผู้ประพันธ์นวนิยาย ผู้ประพันธ์บทละคร และผู้กำกับการแสดงจากละครทั้งสองเรื่อง ก่อนนำข้อมูลมาตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้าเพื่อความถูกต้องและครบถ้วนของข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า 1) ละครอิงประวัติศาสตร์ข้ามภพเรื่อง ทวิภพ และบุพเพสันนิวาส ประกอบด้วยอนุภาคจำนวน 3 กลุ่ม คือ อนุภาคที่สอดคล้องกับอนุภาคสากล อนุภาคที่คล้ายกับอนุภาคสากล และอนุภาคที่ไม่สอดคล้องกับอนุภาคสากล หรือ อนุภาคแบบไทย ซึ่งมีความสอดคล้องกับความเชื่อและวัฒนธรรมไทย 2) ละครอิงประวัติศาสตร์ข้ามภพเรื่อง ทวิภพ และ บุพเพสันนิวาส มีกลวิธีการเล่าเรื่องแบบโครงเรื่องเชิงเส้น (linear plot) ที่เล่าเรื่องแบบสลับเหตุการณ์อดีตกับปัจจุบัน โดยมุ่งนำเสนอเรื่องราวในอดีตเป็นสำคัญ ซึ่งจากการศึกษาแบบเรื่องพบว่ารูปแบบของละครอิงประวัติศาสตร์ข้ามภพจะประกอบด้วยองค์ประกอบตามลำดับดังนี้ การเดินทางย้อนเวลา การปรับตัวเพื่อดำรงอยู่ ภารกิจที่ต้องทำในอดีต เหตุการณ์ที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ เนื้อคู่อยู่ในอดีต ความขัดแย้งระหว่างตัวละครกับสังคม การยอมรับจากผู้นำในสังคมอดีต และการตัดสินใจของตัวละครหลัก 3) ละครอิงประวัติศาสตร์ข้ามภพ เป็นละครที่เล่าเรื่องเหตุการณ์จากจินตนาการเชื่อมโยงไปกับลำดับเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ โดยสร้างเหตุการณ์บางอย่างให้ตัวละครหลัก จำเป็นต้องเดินทางย้อนเวลาไปในอดีต ดังนั้นเมื่อนำนวนิยายประเภทดังกล่าวมาดัดแปลงเป็นละครโทรทัศน์ คณะผู้ผลิตละครจึงต้องศึกษาข้อมูลประวัติศาสตร์โดยละเอียดเพื่อนำมาประกอบใช้เป็นข้อมูลในการสร้างสรรค์ละคร และเนื่องจากขนาดความยาวของเรื่องเล่าในนวนิยายมักมีจำนวนที่ไม่เพียงพอต่อการเล่าเรื่องเป็นละคร ดังนั้นกลวิธีการดัดแปลงนวนิยายสู่ละครโทรทัศน์จึงประกอบด้วย การขยายองค์ประกอบด้านโครงเรื่อง การขยายองค์ประกอบด้านตัวละคร และการดัดแปลงด้านภาษาหรือบทสนทนา 
Other Abstract: This dissertation aims to study motif, tale type and adaptation process of time travel historical drama “Tawipob” and “Buppesannivas”. A researcher used textual analysis to analyze both of stories from the original novels and soap opera versions. Furthermore, this research used a semi-structured interview form to interview the authors, the playwrights and the directors. A researcher applied the triangulation method to increase the accuracy and validity of the results. The findings revealed that 1) The time travel historical drama “Tawipob” and “Buppesannivas” were consisted 3 types of motif; First, the motif which are corresponded with the universal motif in Thompson’s Motif Index. Second, the motif which are similar to other motif in Motif Index. Third, the motif which are incompatible with universal motif but related to Thai believe and culture, so called “Thai Motif” in this research. 2) The narratology of the time travel historical drama “Tawipob” and “Buppesannivas” was a linear plot that told the story of the past and the present by focusing on the past and the formula of the time travel historical drama were consisted with Time travel, The orientation for living in the past, The main mission of protagonist, The historical events, The conflict between protagonist and social, The acceptance from the leader in the past and The decision of protagonist. 3) The playwrights and directors’ adaptation strategy of the time travel historical drama novel to a soap opera were related to historical evidences. Historical research became vital approach for them to expand the story. Plot, character and diction were recreated base on historical data and imagination in soap opera version.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64728
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.890
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2019.890
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6084671628.pdf3.73 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.