Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64799
Title: ตำแหน่งอ้างอิงทางกายวิภาคศาสตร์สำหรับระบุเส้นทางของหลอดเลือดบริเวณขมับ เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อนจากการแก้ไขภาวะขมับตอบด้วยการฉีดสารเติมเต็ม
Other Titles: The anatomical landmarks for locating the course of the temporal vessels to evade the complications following temporal augmentation
Authors: วรภัทร สวัสดิ์วงษ์
Advisors: ธันวา ตันสถิตย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Tanvaa.T@Chula.ac.th
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ภาวะขมับตอบ คือภาวะที่เนื้อเยื่อบริเวณขมับสูญเสียปริมาตร ทำให้พื้นผิวบริเวณขมับซูบ เว้าลึกเข้าไป วิธีแก้ไขภาวะขมับตอบที่ได้รับความนิยมที่สุดคือการฉีดสารเติมเต็ม อย่างไรก็ตาม ตลอดเวลาหลายปีที่ผ่านมา มีรายงานเกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น ภาวะตาบอด หรือ ภาวะ non-thrombotic pulmonary embolism ในคนไข้หลังจากได้รับการฉีดสารเติมเต็มเข้าสู่หลอดเลือดบริเวณขมับโดยไม่ได้ตั้งใจ ดังนั้น ข้อมูลทางกายวิภาคศาสตร์ของหลอดเลือดบริเวณขมับจึงมีความสำคัญอย่างมากในการหลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อนจากการฉีดสารเติมเต็ม การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตำแหน่งเส้นทาง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง และความลึกจากผิวหนังของหลอดเลือดแดง frontal branch of superficial temporal artery (FbrSTA) รวมถึงแขนงย่อย หลอดเลือดดำ middle temporal vein (MTV) และหลอดเลือดแดง deep temporal artery (DTA) โดยใช้การ dissection การวัดด้วยเวอร์เนียร์คาลิปเปอร์ และการวัดความลึกด้วยการถ่ายภาพ 3 มิติ จากการศึกษาในร่างผู้บริจาคร่างกายจำนวน 60 ข้าง (เพศชาย 38 ข้าง และเพศหญิง 22 ข้าง) โดยกำหนดเส้นสมมติที่ลากจากหางตาไปยังจุดเกาะด้านบนของ helix (เส้นสมมติ Lc-H) เพื่อใช้เป็นตำแหน่งอ้างอิงในการวัดค่าต่าง ๆ พบว่าบริเวณ 2.5-3.0 ซม.เหนือส่วนหน้าของเส้นสมมติ Lc-H เป็นบริเวณที่อาจเกิดอันตรายต่อหลอดเลือด FbrSTA และบริเวณ 0.5-1.0 ซม. เหนือส่วนหน้าของเส้นสมมติ Lc-H เป็นบริเวณที่อาจเกิดอันตรายต่อหลอดเลือด MTV นอกจากนี้ ในการฉีดสารเติมเต็มชั้นลึก ควรหลีกเลี่ยงบริเวณ 1.0 ซม. ด้านหลัง frontal process เพื่อหลีกเลี่ยงเส้นทางของแขนงกลางของหลอดเลือด DTA ด้วย ข้อมูลทางกายวิภาคศาสตร์ทั้งหมดจากการศึกษานี้คาดว่าจะสามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับผู้ทำหัตถการการฉีดสารเติมเต็มบริเวณขมับในการตัดสินใจขณะทำหัตถการณ์เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อนจากการฉีดสารเติมเต็ม
Other Abstract: Temporal hollowing is the volume loss in the temple. The most popular technique to correct the hollowed temple is soft tissue filler injection. However, some serious adverse event such as blindness and non-thrombotic pulmonary embolism can be occurred following the temporal augmentation associated with the intravascular injection. Therefore, the vascular anatomy in the temporal region is essential for avoiding the adverse event. The aim of this study is to examine the course, diameter and depth of frontal branch of superficial temporal artery (FbrSTA) including its branches, middle temporal vein (MTV) and deep temporal artery (DTA) using cadaveric dissection, Vernier caliper measurement and depth measurement by 3D scanning. 60 hemifaces were dissected (38 male and 22 female) and the anatomical parameters of these vessels were measured correlated to the reference line from the lateral canthus to the superior attachment of helix (Lc-H line). The filler injection shouldn’t be performed above 2.5 – 3.0 cm superior to anterior part of Lc-H line to avoid the course of the FbrSTA. While the area at 0.5 – 1.0 cm superior to anterior part of Lc-H line should also be avoided because of the course of the MTV. For deep injection, the area at 1.0 cm posterior to the frontal process should be concerned due to the course of the middle branch of DTA. The anatomical results from this study were expected to be useful databases which could help the injectors for evading the complications.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การแพทย์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64799
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1083
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2018.1083
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6074080030.pdf6.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.