Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64924
Title: Resource utilization of terapontid fishes terapon jarbua and pelates quadrilineatus in coastal area, Trang province
Other Titles: การใช้ทรัพยากรของปลาข้างตะเภา Terapon jarbua และ Pelates quadrilineatus ในบริเวณชายฝั่งทะเล จังหวัดตรัง
Authors: Nuengruetai Yoknoi
Advisors: Nittharatana Paphavasit
Jes Kettratad
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Science
Advisor's Email: Nitthar@Sc.chula.ac.th
Jes.K@Chula.ac.th
Issue Date: 2016
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: Terapon jarbua and Pelates quadrilineatus are found coexisted in the coastal area of Trang Province for spawning ground, nursing ground and feeding ground. It is interesting to understand how similar species coexisted despite the pressure of competition. Resource partitioning between species or between size classes is an adaptation to reduce the competition in shared resources. The ontogenetic niche shift in term of diet and habitat is one important process in resource partitioning. Ecomorphology in fishes oftens described the patterns of association between morphology and resource use. Therefore this study had focus on (1) the development pattern and definding length at juvenile of two terapontid fishes (2) the distribution patterns of fishes in different stages and reproductive ecology of adult fish of two terapontid fishes (3) the feeding structure development and stomach content analysis in these two terapontid fishes.  The understanding on morphological development and distribution as well as reproductive biology and feeding ecology of both species can help to explain the resource utilization and partitioning between the coexisting species in the coastal area of Trang Province. Terapon jarbua and Pelates quadrilineatus can be divided into 6 development stages: (1) preflexion larvae, (2) flexion larvae, (3) postflexion larvae, (4) transforming larvae, (5) juvenile (6) adult. The length-at-juvenile of T. jarbua and P. quadrilineatus were 23.16 and 18.24 mm, respectively. The size at first maturity of female and male of T. jarbua are 156.92 mm and 153.77 mm, respectively while the size at first maturity of female and male of P. quadrilineatus are 120.31 mm and 124.02 mm, respectively. Terapon jarbua and Pelates quadrilineatus showed the clear habitat utilization between developmental stages which planktonic larvae stage (preflexion, flexion and postflexion) and adult mostly inhabit in offshore. This indicated that the offshore area is the spawning ground of adult fish. However, they showed the clear differences in spawning period. Terapon jarbua had two peak of spawning periods during April to June and September to October. Pelates quadrilineatus had only a short discrete period for spawning from November to December. The differences in spawning period lead to temporal resource partitioning in planktonic larvae stage of both species. This also help to reduce food competition between their offspring. Transforming larvae and juveniles moved inshore and distributed in the coastal habitats. Transforming larvae and juveniles of T. jarbua distributed in the coastal swamps while transformation larvae and juveniles of P. quadrilineatus distributed in the seagrass beds. The complexity of microhabitat structure in the coastal swamps and seagrass beds are suitable for nursery area and refuge from predators. Terapon jarbua and Pelates quadrilineatus demonstrated the ontogenetic dietary shift. Larval stage of T. jarbua consumed predominantly on calanoid copepods and shifted to feed on small benthos harpacticoid copepods, large benthos, fishes and fish scales in juvenile stage. Adult stage feed mainly on fish and fish scales. The major food items of larval stage of P. quadrilineatus was also calanoid copepod and shifted to feed on small benthos harpacticoid copepods in juvenile stage. Adult stage feed mainly on large benthic animal such as, bivalves, polychaetes and fish scales. The ontogenetic differences in feeding habits have resulted from acquiring high energy diets for growth and development of fish. The study on morphology and feeding structure development indicated that body shape, eye, mouth, jaw, teeth, gill raker, intestinal length and fins were important characters which showed relationship between the morphological development and ontogenetic niche shifts. The morphological change in body depth and fin ray support mobility in the habitat shifts. The development of mouth, jaw, teeth, gill raker and intestinal length were important in the ontogenetic dietary shifts. The developments of eye and pigment pattern enhanced the feeding performance and predator avoidance. The differences in habitat and food utilization in the two terapontid species in each stage as well as the reproductive patterns and spawning periods are the important strategies to reduce competition between the two coexisting species in coastal area of Trang Province.
Other Abstract: ปลาข้างตะเภา Terapon jarbua และ Pelates quadrilineatus พบการกระจายตัวอยู่ร่วมกันบริเวณชายฝั่งทะเลจังหวัดตรัง โดยอาศัยบริเวณชายฝั่งทะเลจังหวัดตรังเป็นแหล่งผสมพันธุ์และวางไข่ แหล่งอนุบาลปลาวัยอ่อน และแหล่งอาหาร ซึ่งเป็นที่น่าสนใจว่าปลาที่มีลักษณะสัณฐานที่ใกล้เคียงกันสามารถปรับตัวและอาศัยอยู่ร่วมกันได้อย่างไร โดยทั่วไปการอาศัยอยู่ร่วมกันของปลาชนิดต่างๆ ในระบบนิเวศจะมีการแบ่งสรรทรัพยากรอาหารและที่อยู่อาศัยระหว่างปลาแต่ละชนิดและระหว่างแต่ละขนาดเพื่อลดการแก่งแย่งทรัพยากร ในปลาส่วนใหญ่จะพบการเปลี่ยนแปลงอาหารและที่อยู่อาศัยระหว่างการเติบโตของร่างกาย ซึ่งเป็นกลไกการแบ่งสรรการใช้ทรัพยากรที่เกิดจากความแตกต่างทางด้านโครงสร้างของร่างกาย พฤติกรรมการกินอาหาร ระยะที่เติบโต และการใช้พื้นที่ เพื่อลดการแข่งขันระหว่างปลาชนิดเดียวกัน การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะศึกษา (1) ระยะพัฒนาการและหาขนาดเมื่อเข้าสู่ระยะวัยรุ่นของปลาข้างตะเภาทั้งสองชนิด (2) การกระจายในแหล่งที่อยู่อาศัยต่างๆ ของปลาข้างตะเภาทั้งสองชนิดในระยะวัยอ่อน วัยรุ่น และโตเต็มวัย และนิเวศวิทยาการสืบพันธุ์ของปลาข้างตะเภาทั้งสองชนิดในระยะโตเต็มวัย (3) องค์ประกอบในกระเพาะอาหารและพัฒนาการของโครงสร้างที่ใช้ในการกินอาหารของปลาข้างตะเภาทั้งสองชนิดในระยะวัยอ่อน วัยรุ่น และโตเต็มวัย เพื่อนำผลการศึกษาที่ได้มาอธิบายการใช้ทรัพยากรร่วมกันของปลาข้างตะเภา Terapon jarbua และ Pelates quadrilineatus ในบริเวณชายฝั่งทะเล จังหวัดตรัง ผลการศึกษาพบว่าสามารถแบ่งระยะพัฒนาการของปลาข้างตะเภาทั้งสองชนิดออกเป็น 6 ระยะ คือ ลูกปลาวัยอ่อนระยะแรก ลูกปลาวัยอ่อนระยะที่กระดูกหางท่อนสุดท้ายได้โค้งงอขึ้น ลูกปลาวัยอ่อนระยะหลัง ลูกปลาวัยอ่อนระยะที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง ระยะวัยรุ่น และระยะโตเต็มวัย โดย T. jarbua จะเข้าสู่ระยะวัยรุ่นเมื่อมีขนาด 23.16 มิลลิเมตร และมีขนาดแรกสืบพันธุ์ 156.92 มิลลิเมตร และ 153.77 มิลลิเมตร ในเพศเมียและเพศผู้ตามลำดับ ส่วน P. quadrilineatus จะเข้าสู่ระยะวัยรุ่นเมื่อมีขนาด 18.24 มิลลิเมตร และมีขนาดแรกสืบพันธุ์ 120.31 มิลลิเมตร และ 124.02 มิลลิเมตร ในเพศเมียและเพศผู้ตามลำดับ เมื่อศึกษาการกระจายในแหล่งที่อยู่อาศัยต่างๆ ปลาข้างตะเภาทั้งสองชนิดพบว่ามีการกระจายในพื้นที่ที่แตกต่างกัน โดยพบการกระจายของลูกปลาระยะวัยอ่อนที่ดำรงชีวิตเป็นแพลงก์ตอนและปลาในระยะโตเต็มวัยอาศัยอยู่บริเวณนอกชายฝั่ง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าปลาทั้งสองชนิดใช้บริเวณนี้เป็นแหล่งผสมพันธุ์และวางไข่ อย่างไรก็ตาม T. jarbua และ P. quadrilineatus มีการแบ่งการใช้พื้นที่เพื่อผสมพันธุ์ในฤดูกาลที่แตกต่างกัน โดย T. jarbua มีฤดูกาลสืบพันธุ์แบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ เดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน และ เดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคม ส่วน P. quadrilineatus มีฤดูกาลสืบพันธุ์ที่สั้นเพียงช่วงเดียว คือ เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม การที่มีฤดูกาลสืบพันธุ์ที่ไม่ตรงกันเป็นกลยุทธ์หนึ่งในการแบ่งสรรทรัพยากรที่อยู่อาศัยโดยการเข้ามาใช้ในช่วงเวลาที่แตกต่างกันส่งผลให้ลดการแข่งขันและเพิ่มโอกาสรอดให้กับลูกปลา ส่วนลูกปลาวัยอ่อนระยะที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างและลูกปลาระยะวัยรุ่นพบการกระจายเข้ามาในบริเวณแหล่งน้ำตื้นใกล้ชายฝั่ง ในระยะนี้ปลาทั้งสองชนิดจะแยกแหล่งที่อยู่อาศัยกันอย่างชัดเจนเพื่อลดการแก่งแย่งทรัพยากรที่อยู่อาศัยและอาหาร โดย T. jarbua เข้ามาอาศัยอยู่บริเวณบึงน้ำชายฝั่งที่เชื่อมต่อกับทะเล ส่วน P. quadrilineatus เข้ามาอาศัยอยู่บริเวณแหล่งหญ้าทะเล ทั้งสองบริเวณมีความเหมาะสมที่จะเป็นแหล่งอนุบาลปลาวัยอ่อนเนื่องจากโครงสร้างของระบบนิเวศมีความซับซ้อนสามารถป้องกันตัวจากผู้ล่าและมีความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งอาหาร ในส่วนของการใช้ทรัพยากรอาหารพบว่าปลาทั้งสองชนิดมีการกินอาหารที่เหมือนกันในลูกปลาระยะวัยอ่อนที่ดำรงชีวิตเป็นแพลงก์ตอนและลูกปลาวัยอ่อนระยะที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างคือกิน คาลานอยด์โคพีพอด เป็นอาหารหลัก ในระยะวัยรุ่นและระยะโตเต็มวัยมีการใช้ทรัพยากรอาหารที่แตกต่างกัน สัตว์หน้าดินขนาดเล็ก ฮาแพคติคอยด์โคพีพอด เป็นอาหารหลัก สำหรับ T. jarbua ในระยะวัยรุ่น นอกจากนี้ยังกินสัตว์หน้าดินขนาดใหญ่ ปลา และเกล็ดปลาเป็นอาหาร ส่วน T. jarbua ระยะโตเต็มวัยกินอาหารที่อยู่ในมวลน้ำเป็นหลัก เช่น ปลา และเกล็ดปลา ส่วน P. quadrilineatus กินอาหารที่อยู่บริเวณหน้าดินเป็นหลัก โดยในระยะวัยรุ่นกินสัตว์หน้าดินขนาดเล็ก ฮาแพคติคอยด์โคพีพอด และระยะโตเต็มวัยกินสัตว์ทะเลหน้าดินขนาดใหญ่ เช่น หอยสองฝา และไส้เดือนทะเล รวมทั้งเกล็ดปลา ซึ่งการเปลี่ยนแปลงชนิดของอาหารในปลาแต่ละระยะเป็นผลมาจากความต้องการพลังงานที่มากขึ้นเมื่อปลามีขนาดที่โตขึ้น จากการศึกษาพัฒนาการของลักษณะสัณฐานวิทยาภายนอกและโครงสร้างที่ใช้ในการกินอาหารพบว่ามีความสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงแหล่งที่อยู่อาศัยและชนิดของอาหารของปลา โดยการเปลี่ยนแปลงความกว้างของลำตัวและความยาวของก้านครีบมีผลต่อการเคลื่อนที่ซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงแหล่งที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหาร พัฒนาการของปาก ขากรรไกร ฟัน ซี่เหงือก และความยาวลำไส้ มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงชนิดของอาหารเมื่อร่างกายมีขนาดที่โตขึ้น การพัฒนาของตาและจุดสีส่งผลต่อประสิทธิภาพในการหลบหลีกจากผู้ล่า ผลการศึกษาครั้งนี้สรุปว่าปลาทั้งสองชนิดมีการเลือกใช้ทรัพยากรที่อยู่อาศัยและอาหารที่ต่างกันในแต่ละช่วงของชีวิต ตลอดจนมีรูปแบบและช่วงเวลาการสืบพันธ์ที่ต่างกัน ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญในการอยู่ร่วมกันในบริเวณชายฝั่งจังหวัดตรัง
Description: Thesis (Ph.D.)--Chulalongkorn University, 2016
Degree Name: Doctor of Philosophy
Degree Level: Doctoral Degree
Degree Discipline: Marine Science
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64924
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1667
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.1667
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5373893823.pdf7.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.