Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64940
Title: สารทำบริสุทธิ์บางส่วนจากต้นสาละลังกา (Couroupita guianensis) ที่มีแอกทิวิตีกดอินฟลามมาโซมส์ในเซลล์ไลน์มอนอไซต์ของมนุษย์ THP-1
Other Titles: Partially purified compounds from cannon ball tree (couroupita guianensis) with suppressing activity against inflammasomes in human monocytic cell line THP-1
Authors: ศิรดา อารมณ์ชื่น
Advisors: ธนาภัทร ปาลกะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Tanapat.P@Chula.ac.th
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: โรคเก๊าท์ (gout) เป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบด้วยตนเอง (autoinflammatory diseases) ซึ่งมีสาเหตุมาจากปัจจัยทางพันธุกรรมและ/หรือความผิดปกติของระบบเมแทบอลิซึมในร่างกาย ทำให้มีกรดยูริกในเลือดสูงกว่าปกติและเกิดการตกตะกอนเป็นผลึกยูเรต (monosodium urate; MSU) สะสมอยู่ในเนื้อเยื่อต่างๆ ทำให้เกิดอาการอักเสบจากการหลั่ง ไซโตไคน์ที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบ โดยเฉพาะอินเตอร์ลิวคิน 1 บีต้า (interleukin 1 β; IL-1β) และอินเตอร์ลิวคิน 18 (IL-18) จากการศึกษาก่อนหน้านี้ได้มีรายงานว่า การกระตุ้นอิน ฟลามมาโซมส์ (Inflammasomes) เป็นกลไกหลักในการนำไปสู่การหลั่งไซโตไคน์เหล่านี้ โดยอินฟลามมาโซมส์เป็นกลุ่มของโปรตีนขนาดใหญ่ ซึ่งประกอบด้วยโปรตีน 3 ชนิด ได้แก่ 1) โปรตีนในกลุ่ม NOD-like receptors (NLR) 2) โปรตีนตัวเชื่อม (adaptor protein) ASC และ 3) pro-caspase-1 ซึ่งเป็นโปรตีเอสรูปแบบที่ยังไม่มีแอกทิวิตี เมื่อมีสิ่งเร้า เช่น โมเลกุลที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อเนื้อเยื่อหรือเซลล์ เช่น กรดยูริก  เป็นต้น  อินฟลามมาโซมส์จะประกอบตัวขึ้น ส่งผลให้มีการย่อยตนเองของ pro-caspase-1 กลายเป็น caspase-1 ซึ่งเป็นโปรตีเอสที่สมบูรณ์และสามารถย่อยซับสเตรท คือ pro-IL-1β ได้ ทำให้เกิดการผลิต IL-1β ที่พร้อมจะหลั่งออกภายนอกเซลล์เพื่อกระตุ้นการอักเสบได้ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการคัดกรองสารจากพืชที่มีฤทธิ์ยับยั้งการกระตุ้นอินฟลามมาโซมส์ในเซลล์ไลน์มอนอไซต์ของมนุษย์    เพื่อจะหาสารต้นแบบที่มีฤทธิ์ต้านอาการอักเสบแบบจำเพาะที่ยับยั้งการกระตุ้นอินฟลามมาโซมส์ได้ต่อไป ในงานวิจัยนี้ใช้สารสกัดหยาบและสารทำให้บริสุทธิ์บางส่วนจากดอก ใบ กิ่ง เปลือกและเนื้อในผลของสาละลังกาหรือต้นลูกปืนใหญ่ (Couroupita guianensis) กับส่วนรากของย่านาง (Tiliacora triandra (Colebr.) Diels) รวมทั้งสิ้น 77 ตัวอย่าง นำตัวอย่างที่ได้มาทดสอบหาความเป็นพิษต่อเซลล์ไลน์ THP-1 ซึ่งเป็นเซลล์ไลน์มอนอไซต์ของมนุษย์โดยวิธี MTT และนำความเข้มข้นที่ให้ค่าการยับยั้งการเจริญของเซลล์ 20 เปอร์เซ็นต์มาทดสอบฤทธิ์ในการกดการหลั่ง IL-1β โดยวิธี ELISA ผลแสดงว่า สารสกัดหยาบและสารทำให้บริสุทธิ์บางส่วนจากกิ่ง ดอกและใบของสาละลังกาจำนวน 14 ตัวอย่าง สามารถยับยั้งการหลั่ง IL-1β ได้ โดยเฉพาะสารทดสอบรหัส F173 และ F174 ซึ่งแยกได้จากดอกสาละลังกา มีฤทธิ์ยับยั้งการหลั่ง IL-1β ดีที่สุด คิดเป็น 12.27 และ 10.97 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ เพื่อศึกษาฤทธิ์ของตัวอย่างทดสอบต่อการกระตุ้นอินฟลามมาโซมส์ จึงนำตัวอย่างทดสอบไปศึกษาผลที่มีต่อระดับการถอดรหัสของยีน IL1B โดยวิธี quantitative RT-PCR พบว่า ตัวอย่างทดสอบรหัส F173 และ F174 ไม่ทำให้การแสดงออกของยีน IL1B ลดลง และเมื่อนำไปวัดฤทธิ์ของสารสกัดตัวอย่างต่อแอกทิวิตีของ caspase-1 โดยใช้ Caspase-Glo®1 Inflammasome Assay ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้แอกทิวิตีของ อินฟลามมาโซมส์พบว่า ตัวอย่างทดสอบรหัส F173 และ F174 มีฤทธิ์กดแอกทิวิตีของ caspase-1 ได้ ดังนั้น ตัวอย่างทดสอบรหัส F173 และ F174 อาจมีฤทธิ์ยับยั้งการหลั่ง IL-1β ผ่านการกดการกระตุ้นอินฟลามมาโซมส์ได้ ซึ่งต้องทำการแยกให้เป็นสารบริสุทธิ์เพื่อใช้ในการพัฒนาเป็นยาที่ลดการอักเสบแบบจำเพาะต่ออินฟลามมาโซมส์ต่อไป
Other Abstract: Gout is an autoinflammatory disease and both genetics and abnormalities in metabolism are the main cause. Gout is a representative condition which is caused by high concentration of blood uric acid resulting in precipitation of monosodium urate (MSU) in tissues such as joints and kidney. The main causes of inflammation in gout are hyper production of pro-inflammatory cytokines, mainly interleukin 1 β (IL-1β) and IL-18. Previously, it was reported that inflmmasome activation play important role in secretion of those cytokines. Inflammasome is multiprotein complex of at least 3 proteins, i.e. Nod-like receptor (NLR), adaptor protein ASC and pro-caspase-1. Upon exposure to stimuli such as molecules related to tissue injuries such as uric acid, inflammasome is formed. Inflammasome activation leads to autocatalytic cleavage of pro-caspase-1. Caspase-1 is a protease responsible for cleavage of pro-IL-1β. This cleavage results in secretion of IL-1β. This study aimed to screen for compounds with activity of suppressing inflammasome in human monocytic cell line. The samples used in this study are crude or partially purified extracts from flowers, leaves, twigs, barks and pulps of cannon ball tree (Couroupita guianensis) and roots of Tiliacora triandra (Colebr.) Diels. Seventy seven samples were screened in this study. Tested samples were screened by MTT assay to determine cellular toxicity in human monocytic cell line THP-1. The 20% of viability inhibitory concentrations were used for testing activity against of IL-1β secretion. The results showed that 14 samples from twigs, flowers and leaves of cannon ball trees suppressed IL-1β secretion by ELISA. In particular, sample No. F173 and F174 showed the lowest IL-1β secretion with 12.27% and 10.97%, respectively. To study the effect of both samples on IL1B transcription, quantitative real-time RT-PCR were performed and sample No. F173 and F174 did not decreased the transcription level of IL1B, suggesting that they may act downstream of IL1B transcription. To test the effect of these samples on inflammasome activation, the activity of caspase-1 was monitored using Caspase-Glo®1 Inflammasome Assay. The results showed that sample No. F173 and F174 suppressed caspase-1 acitivity. Therefore, sample No. F173 and F174 from flowers of cannon ball tree inhibited IL-1β secretion and suppressed caspase-1 activation. Further purification is needed to identify the compound and to investigate the extract made of action. The purification of compounds have potentials to be therapeutic drugs for autoinflammatory diseases.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จุลชีววิทยาและเทคโนโลยีจุลินทรีย์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64940
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.322
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.322
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5672104423.pdf3.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.