Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64968
Title: ปฏิกิริยาของกลีเซอรอลและเมทานอลภาวะเหนือวิกฤต: ผลของผลิตภัณฑ์​ต่อสมบัติของเชื้อเพลิงชีวภาพ
Other Titles: Reactions of glycerol and supercritical methanol: effects of products on biofuel properties
Authors: พงษ์ระวี แสงสุข
Advisors: สมเกียรติ งามประเสริฐสิทธิ์
เรืองวิทย์ สว่างแก้ว
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Somkiat.N@Chula.ac.th
Rueangwit.S@Chula.ac.th
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความดันและอุณหภูมิ รวมทั้งขอบเขตของ การเปลี่ยนวัฏภาคของของผสมระหว่างกลีเซอรอลและเมทานอลด้วยวิธีปริมาตรคงที่ พบว่าสามารถแบ่งกราฟความสัมพันธ์ได้เป็น 3 วัฏภาคตามการเปลี่ยนแปลงของความชัน ได้แก่ วัฏภาคของเหลวผสมกับไอเมทานอล วัฏภาคของเหลวผสมกับไอผสมและวัฎภาคเอกพันธุ์ โดยขอบเขตการเปลี่ยนวัฏภาคของของผสมจะขึ้นอยู่กับอัตราส่วนและความหนาแน่นรวมของ ของผสม จากนั้นศึกษาปฏิกิริยาระหว่างกลีเซอรอลและเมทานอลภาวะเหนือวิกฤตที่ความดันคงที่ 15 เมกะพาสคัล พบว่าที่อัตราส่วนโดยโมลของกลีเซอรอลต่อเมทานอล 1 ต่อ 3 และ 1 ต่อ 6 การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิและเวลาจะส่งผลให้ร้อยละการเปลี่ยนของกลีเซอรอลเพิ่มขึ้น ในขณะที่ ที่อัตราส่วนโดยโมลของกลีเซอรอลต่อเมทานอล 1 ต่อ 9 พบว่าร้อยละการเปลี่ยนกลีเซอรอลจะ เพิ่มขึ้นตามอุณหภูมิที่เวลา 8 ถึง 10 นาทีและเริ่มคงที่เมื่อเวลามากกว่า 10 นาที พิจารณาการดุล มวลสารและการวิเคราะห์หาองค์ประกอบของผลิตภัณฑ์ด้วยเทคนิค GC-MS ทำให้สามารถ สรุปได้ว่า กลีเซอรอลสามารถเกิดปฏิกิริยาอีเทอริฟิเคชันกับเมทานอลภาวะเหนือวิกฤต รวมทั้งปฏิกิริยาดีไฮเดรชันและปฏิกิริยาไฮโดรจิโนไลซิส ปฏิกิริยาไซคลิเซชันและการสลายตัวทาง ความร้อนที่อุณหภูมิสูงอีกด้วย จากการศึกษาผลของผลิตภัณฑ์จากปฏิกิริยาระหว่างกลีเซอรอลและ เมทานอลภาวะเหนือวิกฤตต่อสมบัติของเชื้อเพลิงชีวภาพ สามารถสรุปได้ว่าผลิตภัณฑ์จากปฏิกิริยาดังกล่าวสามารถละลายในไบโอดีเซลได้ทำให้ช่วยเพิ่มร้อยละผลได้ของไบโอดีเซล นอกจากนี้ยังส่งผลดีต่อสมบัติของไบโอดีเซลได้อีกด้วย โดยสามารถลดความหนืด จุดเกิดหมอกและจุดไหลเทของ ไบโอดีเซลได้แต่ไม่ส่งผลเสียต่อค่าความร้อน จุดวาบไฟและจุดติดไฟของไบโอดีเซล
Other Abstract: This work studied the relationship between temperature and pressure of glycerol-methanol mixtures at a given global density. It can be observed that the pressure-temperature lines were linear functions with three different slopes that represented as Liquidmixture-Vapormethanol, Liquidmixture-Vapormixture and homogeneous phases. The slope of pressure-temperature lines slightly changed at the individual phase transition point corresponding to its global density. In homogeneous region, the mixture that has higher global density simultaneously shifts phase transition point to higher pressure and lower temperatures. In addition, the reactions of glycerol and supercritical methanol at a constant pressure of 15 MPa were investigated. The parameters affected glycerol conversion were molar ratio, temperature, and reaction time. At the molar ratio of 1 to 3 and 1 to 6, the increasing of temperature and reaction time resulted in the increasing glycerol conversion. Furthermore, at molar ratio of 1 to 9, the glycerol conversion was only increased with increasing of temperature and will be constant at time over 10 min. When considering the composition of the products, it can be concluded that the reactions of glycerol and supercritical methanol were etherification, cyclization, dehydration, hydrogenolysis and thermal decomposition of glycerol. Those reaction products can be dissolved in biodiesel and can positively influence the viscosity, pour point, and cloud point of biodiesel; whereas, they do not impact on the heating value, flash point and fire point of biodiesel.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เคมีเทคนิค
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64968
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.572
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2017.572
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5871994623.pdf3.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.