Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65039
Title: การย่อยสลายของวัสดุภาชนะบรรจุอาหารแบบใช้แล้วทิ้งในหลุมฝังกลบที่รับขยะเศษอาหาร
Other Titles: Decomposition of single-use food container materials in a landfill receiving food waste
Authors: ปาณิศา ศิริบุรมย์
Advisors: พิชญ รัชฎาวงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Pichaya.R@Chula.ac.th
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการศึกษาการย่อยสลายของวัสดุที่ใช้ทำภาชนะบรรจุอาหารแบบใช้แล้วทิ้งในสภาวะมีและไร้ออกซิเจนในช่วงเวลา 90 วัน รวมถึงผลการสลายตัวของวัสดุดังกล่าวต่อกระบวนการภายในถังปฏิกรณ์หลุมฝังกลบ ในช่วงเวลา 120 วัน แบ่งการทดลองออกเป็น 4 ชุด ได้แก่ ชุดควบคุม ชุดวัสดุกระดาษ ชุดวัสดุพอลิสไตรีนโฟม และชุดวัสดุพลาสติกชีวภาพชนิดพีแอลเอ โดยทำการหมักร่วมกับขยะเศษอาหาร ผลการศึกษาพบว่าการสูญเสียน้ำหนักเป็นตัวชี้วัดที่สามารถใช้เปรียบเทียบการย่อยสลายในสภาวะมีและไร้ออกซิเจนของวัสดุกระดาษและวัสดุพลาสติกชีวภาพพีแอลเอได้ โดยกระดาษมีการสูญเสียน้ำหนักใกล้เคียงกันในทั้งสองสภาวะ ค่าสัมประสิทธิ์การย่อยสลายของกระดาษ (K) เท่ากับ 0.005 และ 0.003 ต่อสัปดาห์ ในสภาวะมีออกซิเจนและไร้ออกซิเจนตามลำดับ ส่วนพีแอลเอเกิดการสูญเสียน้ำหนักในปริมาณและความเร็วที่ใกล้เคียงกันในทั้งสองสภาวะโดยสัมประสิทธิ์การย่อยสลาย (K) ของสภาวะมีและไร้ออกซิเจนเท่ากับ 0.0006 และ 0.0007 ต่อสัปดาห์ตามลำดับ ส่วนโฟมไม่สามารถหาค่าสัมประสิทธิ์การย่อยสลายของวัสดุพอลิสไตรีนโฟม (K) ได้ เนื่องจากข้อมูลมีความแปรปรวนสูง จากปัจจัยภายนอกที่ไม่สามารถควบคุมได้ สำหรับลักษณะทางกายภาพพบว่าการเสียหายของวัสดุโฟมในสภาวะมีออกซิเจนมากจากความเข้มข้นของกรดอินทรีย์ที่สูงกว่าสภาวะไร้ออกซิเจนถึง 4 เท่า โดยกรดอินทรีย์มีผลต่อความคงทนของพอลิสไตรีน สำหรับผลการศึกษาของวัสดุต่างๆต่อกระบวนการภายในถังปฏิกรณ์หลุมฝังกลบพบว่าประเภทวัสดุส่งผลต่อการยุบตัวของขยะ สมบัติน้ำชะ และการเกิดแก๊สชีวภาพ โดยถังชุดควบคุมเกิดการยุบตัวมากที่สุดตามด้วยถังชุดวัสดุกระดาษ ถังชุดวัสดุพอลิสไตรีนโฟม และถังชุดพลาสติกชีวภาพพีแอลเอที่ร้อยละ 43.42 40.79 34.29 และ 26.07 ตามลำดับ สอดคล้องกับปริมาณน้ำที่คงค้างในถังโดยในชุดควบคุมน้อยที่สุด ทั้งนี้พบว่าการกระจายน้ำส่งผลต่อการย่อยสลายในหลุมฝังกลบโดยถังที่มีวัสดุบรรจุอยู่เกิดการย่อยสลายได้ช้ากว่าและมีปริมาณน้ำคงค้างสูงกว่า ส่วนผลการย่อยสลายต่อชี้วัดของน้ำชะขยะและแก๊สชีวภาพพบว่าวัสดุมีผลโดยอ้อมกล่าวคือวัสดุสามารถขัดขวางการไหลของน้ำทำให้การกระจายน้ำต่ำ และปฏิกิริยาการย่อยเกิดได้ไม่เป็นไปตามทฤษฎี
Other Abstract: The aim of this research was to study the decomposition of single-use food container materials in aerobic and anaerobic condition for a period of 90 days. In addition, the decomposition of these materials in simulated landfill reactors for a period of 120 days was studied. The experiment used four sets, the control unit with only food wastes, the paper, the polystyrene foam (PS-foam) and the bioplastic (PLA) reactors. Weight loss for the paper reactor was similar in both conditions. For paper, the coefficient of decomposition (K) was 0.005 and 0.003 wk-1, respectively. The speed of weight loss for PLA materials was similar in both conditions, with K values were 0.0006 and 0.0007 wk-1 in aerobic and anaerobic conditions, respectively. For PS foam, the K value cannot be found due to the high variability of the data set as a result of uncontrollable factors. Samples of were, PS foam more damaged due to the excessively high concentration of organic acid of than four times that in anaerobic condition. For the simulated landfill experiment types of materials affected the degree of degradation of the waste as shown by leachate and biogas parameters. The highest settlement was found in the control reactor and followed by the paper reactor the PS foam reactor and the PLA reactor, 43.42 40.79 34.29 and 26.07 percent, respectively. This corresponded to the remaining amount of water in all reactor. The reactors with exhibited slow degradation rate as compared to the control. Indirectly, materials inside obstructed the flow and distribution of water, resulting in low water uniformity. Degradation did not proceed according to the theoretical expectation.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65039
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1406
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2017.1406
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5770441621.pdf13.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.