Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65040
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศิริมา ปัญญาเมธีกุล-
dc.contributor.advisorอริยา จิรดามพร-
dc.contributor.authorรุ่งระวี ทวีทุน-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-04-05T09:18:11Z-
dc.date.available2020-04-05T09:18:11Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65040-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560-
dc.description.abstractปัจจุบันผู้คนใช้เวลาร้อยละ 87 อาศัยอยู่ภายในอาคาร (Indoor) ซึ่งอาคารในปัจจุบันโดยส่วนใหญ่นิยมใช้เครื่องปรับอากาศ หากมีการระบายอากาศมีมาตรการที่ไม่เหมาะสม จะทำให้มีมลพิษสะสมภายในตัวอาคาร และส่งผลต่อสุขภาพของผู้ที่อยู่อาศัยภายในอาคาร และเป็นปัจจัยส่งเสริมการเจริญของเชื้อจุลชีพได้มากยิ่งขึ้น ประเทศไทยมีสภาพภูมิอากาศที่เหมาะสมกับการเจริญของเชื้อจุลชีพ คือสภาวะที่มีความชื้นสูง (>60%) และอุณหภูมิที่เหมาะสม ภายในวัสดุที่มีช่องว่างหรือรูพรุน เช่น เฟอร์นิเจอร์ไม้ ผ้าม่าน พรม ฯ ทั้งนี้ขึ้นกับชนิดของจุลชีพ นอกจากนั้นจุลชีพบางชนิดมีการสร้างสารพิษ ทำให้เกิดภูมิแพ้ โดยเฉพาะในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เชื้อราและแบคทีเรียมีโอกาสทำให้เกิดโรคติดเชื้อที่เป็นอันตรายถึงชีวิต  คุณภาพอากาศภายในอาคารโรงพยาบาลจึงมีความสำคัญ การพบเห็นการเจริญของจุลชีพ บ่งบอกถึงปัญหาคุณภาพอากาศภายในอาคารได้ นอกจากนั้นโรงพยาบาลยังเป็นสถานบริการทางด้านสาธารณสุข  ทำให้เป็นแหล่งรวมของทั้งผู้ป่วยที่มาด้วยโรคติดเชื้อ หรือไม่ติดเชื้อ ส่งผลให้ภายในโรงพยาบาลมีทั้งชนิดและปริมาณเชื้อที่หลากหลาย สมุนไพรไทยหลายชนิดมีความสามารถในการกำจัดและยับยั้งการเจริญของจุลชีพได้ เช่น อบเชย กานพลู มะนาว ส้ม ตะไคร้  จึงมีการศึกษาสารสกัดจากสมุนไพรในการยับยั้งการเจริญของจุลชีพกันอย่างแพร่หลาย บรรดาสมุนไพรในการศึกษาที่ผ่านมา พบว่า อบเชย กานพลู ตะไคร้ มีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญของเชื้อจุลชีพได้ดี แต่ยังไม่มีการนำมาปรับใช้ร่วมกับระบบปรับอากาศ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อของน้ำมันหอมระเหย 4 ชนิด โดยทำการทดสอบเบื้องต้นกับเชื้อรามาตรฐาน Candida parapsilosis ATCC220019 และนำมาทดสอบกับเชื้อจุลชีพที่คัดแยกได้ในธรรมชาติ พบว่าน้ำมันหอมระเหยกานพลูมีผลในการยับยั้งการเจริญของจุลชีพได้ดีที่สุดในสภาวะของเหลว โดยที่ความเข้มข้นร้อยละ 4 สามารถยับยั้งการเจริญของจุลชีพได้ทุกชนิดที่นำมาทดสอบ ในสภาวะไอระเหยพบว่าน้ำมันหอมระเหยตะไคร้หอมที่ร้อยละ 20  สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อได้ดีที่ระยะเวลา 24 ชั่วโมง เมื่อนำมาประยุกต์กับตู้ทดลองที่มีพัดลมหมุนเวียนอากาศพบว่าต้องเพิ่มความเข้มข้นข้นถึงร้อยละ 40 ถึงจะสามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อจุลชีพได้-
dc.description.abstractalternativeThese days, people spend most of their daily-life time indoors, for example residence, school, workplace, shopping mall etc. Currently most buildings used air conditioning, if they have poor ventilation, it can affect a person's health. It can include temperature, humidity and microbe from outside, or exposure to other chemicals. Thailand is well suited for the growth of microorganisms. In general, microorganisms can grow well in high humidity environments (>60%) within porous materials, such as wood furniture, curtains and rugs. Disinfectants such as sodium hypochlorite are chemical agents that are commonly used for eliminating microbe on any surface areas. These agents are also harmful to human. Some of them are carcinogenic agents. This study aimed to investigate antifungal activities of cinnamon, clove, citronella and eugenol essential oils against environmental microbe. Antifungal activities of essential oils were performed by broth microdilution method in 96 well plate against a yeast reference strain Candida parapsilosis ATCC220019 approved by the Clinical Laboratory and Standards Institute (CLSI). Clove oil and Eugenol had anti-microbe effect against all strains with the lowest concentration. It had MIC value at 0.0875 %v/v for C. parapsilosis ATCC22019, C. albicans and S. aureus, 0.25%v/v for A. fumigatus, 0.5%v/v for T. asahii and 2% for B. cereus and P. aeruginosa. Citronella had more efficacy than clove when we used in vapour phase. This oil may have a potential for developing as an alternative disinfectant with safety than existing disinfectant used.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1409-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.classificationEnvironmental Science-
dc.titleประสิทธิภาพการยับยั้งเชื้อจุลชีพของน้ำมันหอมระเหยอบเชย กานพลู ตะไคร้ และสารยูจีนอล เพื่อประยุกต์กับระบบปรับอากาศ-
dc.title.alternativeInhibit efficiency against microbe using cinnamon, clove, citronella and eugenol for air condition system application-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorSirima.P@Chula.ac.th-
dc.email.advisorAriya.C@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2017.1409-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5770456021.pdf13.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.