Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6510
Title: รูปแบบการดำเนินชีวิตและพฤติกรรมการบริโภค ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Lifestyles and health product consumption of Bangkok consumers
Authors: ชนชญาน์ จันทร์ธิวัตรกุล
Advisors: ยุบล เบ็ญจรงค์กิจ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Yubol.B@chula.ac.th
Subjects: รูปแบบการดำเนินชีวิต
พฤติกรรมผู้บริโภค
พฤติกรรมผู้บริโภค
พฤติกรรมสุขภาพ
อาหารเสริม
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาเพื่อทราบถึงรูปแบบการดำเนินชีวิต พฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร และศึกษาถึงความสัมพันธ์ของรูปแบบการดำเนินชีวิต กับพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและทัศนคติ ที่มีต่อผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ โดยวิจัยเชิงสำรวจใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน ประมวลผลโดยโปรแกรม SPSS WINDOW ใช้สถิติการวิเคราะห์เชิงพรรณา การวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ย t-test และ ANOVA การวิเคราะห์ปัจจัย และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. รูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร สามารถจัดแบ่งได้เป็น 5 กลุ่ม คือ กลุ่มปฏิบัติตัวเพื่อสุขภาพ กลุ่มคำนึงถึงสุขภาพ กลุ่มรักสวยรักงาม กลุ่มไม่ใส่ใจสุขภาพและกลุ่มบั่นทอนสุขภาพ 2. พฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับต่ำ และพบว่าแตกต่างกันตามลักษณะทางประชากรในด้าน เพศ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา และระดับการดูแลสุขภาพ แต่ไม่แตกต่างกันตามอายุ อาชีพ รายได้และสถานะสุขภาพ 3. รูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร ที่ได้จากการวิจัยนี้ มีเพียง 2 กลุ่ม ที่มีความสัมพันธ์ในทางบวกกับพฤติกรรมการบริโภค ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ได้แก่ กลุ่มปฏิบัติตัวเพื่อสุขภาพ (.131) มีความสัมพันธ์กับการบริโภคผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ประเภทอุปกรณ์เพื่อสุขภาพและกลุ่มละเลยสุขภาพ (.099) มีความสัมพันธ์กับการบริโภคผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพประเภทอาหารเสริม เนื่องจากต้องการที่จะชดเชย ในส่วนของการกระทำกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพที่ขาดหายไป เช่น การออกกำลังกาย การพักผ่อนที่เพียงพอ เป็นต้น ส่วนรูปแบบการดำเนินชีวิตกับทัศนคติที่มีต่อผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ไม่พบความสัมพันธ์แต่อย่างใด
Other Abstract: To segment lifestyles of Bangkok consumers, their health product consumption and determine the relations among lifestyle groups, their health product consumption and opinions toward health products. The survey research used questionnaire to collect data from 400 respondents. Descriptive statistics, t-test, ANOVA, factor analysis and Pearson's product moment correlation coefficients were used to analyze data via SPSs Window Program. The results are: 1. Lifestyles of Bangkok consumers were segmented into 5 groups: the health practices, the health conscious, the beauty conscious, the health indifferents and the health detriments. 2. Health product consumption of Bangkok consumers was in the low level. Analysis of variance and t-test analysis indicated that consumers of different sexes, marital status, education groups and health care practices are not significantly different in terms of health product consumption. However, different age groups, professions, income level and health status do not show significant differences in health product consumption. 3. Only 2 groups of Bangkok consumers showed positive significant correlation with health product consumption, the health practices showed correlation with the use of health equipment (.131), and the health detriments who significantly consumed more food supplement (.099) perhaps because they wanted to compensate for their lack of health practices such as exercising and adequate rest. However, the correlation between all 5 lifestyle groups of Bangkok consumers and opinions toward health product do not exist.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)-- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การโฆษณา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6510
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.1999.275
ISBN: 9743339434
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.1999.275
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
chonchaya.pdf11.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.