Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65495
Title: Antioxidant, antimutagenic and antigenotoxic effects of the acetone and methanol extracts from some legumes
Other Titles: ผลต้านออกซิเดชั่น ต้านการก่อกลายพันธุ์และต้านความเป็นพิษต่อหน่วยพันธุกรรมของสารสกัดด้วยอะซีโตนและเมทานอลจากถั่วบางชนิด
Authors: Kalyarat Kruawan
Advisors: Linna Tongyonk
Kaew Kangsadalampai
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Pharmaceutical Sciences
Advisor's Email: Linna.T@Chula.ac.th
No information provided
Subjects: Antioxidants
Methanol
Heredity
แอนติออกซิแดนท์
เมทานอล
พันธุกรรม
Issue Date: 2010
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: The objectives of this study were aimed to determine the total phenolic and flavonoid contents, antioxidant activities, antigenotoxicity and antimutagenicity of the extracts of legume seeds and seed coats of black bean, mung bean, peanut, red kidney bean and soybean. The total phenolic content assayed by the Folin–Ciocalteu method. The extract of raw red kidney bean seed exhibited the highest total phenolics (128.5 ± 11.7 mg GAE/g dry extract). After heat treatment (autoclaving), the legume seeds and seed coats extracts of peanut showed the highest total phenolics (131.2 ± 3.5 and 498.1 ± 21.8 mg GAE/g dry extract, respectively). High content of total flavonoid was found in raw seed of black bean (37.5 ± 1.0 mg CE/g dry extract) and raw seed coats of red kidney bean (328.2 ± 5.7 mg CE/g dry extract) and peanut (328.0 ± 12.9 mg CE/g dry extract). Total antioxidant activity measured using DPPH assay and ferric reducing antioxidant power (FRAP) assay. The legume seeds extract of black bean exhibited the highest DPPH scavenging effect and reducing power (FRAP value) with 95.2 ± 2.1% and 423.4 ± 1.7 µM/g dry extract, respectively in raw seeds and 86.1 ± 1.1% and 153.9 ± 1.5 µM/g dry extract, respectively in processed seeds. For raw seed coats, peanut extract displayed the highest scavenging effect with 92.3 ± 0.3% followed by red kidney bean (89.7 ± 0.3%) and black bean (87.1 ± 2.4%). The extracts of raw seed coats of peanut and red kidney bean had high FRAP value (2067.7 ± 112.5 and 2063.3 ± 58.6 µM/g dry extract, respectively), followed by processed black bean (1495.6 ± 59.4 µM/g dry extract). The seed coats extracts of black bean, peanut and red kidney bean had the highest phenolic content and antioxidant activity while soybean extract had the lowest. This study was also aimed to determine the antigenotoxicity and antimutagenicitiy of legumes extracts by single cell gel electrophoresis (comet) assay and somatic mutation and recombination test (SMART). Processed legume seed extracts of peanut and black bean exhibited the highest inhibition on DNA break induced by hydrogen peroxide (34.7% and 35.6%, repectively) in the Comet assay. Processed seed coats extracts of black bean, peanut and red kidney bean exhibited strong inhibition (63.3%, 63.2% and 61.8%, respectively). By using SMART, legume seeds of red kidney bean showed the highest antimutagenicity (57.2%), followed by peanut (54.0%) in the SMART. Seed coats extracts at the lowest concentration exhibited weak antimutagenic activity (6.2- 38.8%). Seed coats extract of red kidney bean showed the highest antimutagenicity (38.8%). However, at the higher concentrations, the seed coats extracts exhibited synergistic effect on the mutagenicity of urethane. The finding from this study suggested that the antimutagenic/co-mutagenic activity depends upon the levels of phenolics consumed.
Other Abstract: วัตถุประสงค์การศึกษาครั้งนี้คือศึกษาปริมาณสารฟีโนลิคและฟลาโวนอยด์ ฤทธิ์ต้านออกซิเดชัน ฤทธิ์ต้านความเป็นพิษต่อหน่วยพันธุกรรมและฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์ของสารสกัดจากเมล็ดถั่วและเปลือกหุ้มเมล็ดของถั่วดำ ถั่วเขียว ถั่วลิสง ถั่วแดงและถั่วเหลือง โดยปริมาณของสารฟีโนลิคนั้นได้ทำการวิเคราะห์โดยวิธี Folin-Ciocalteu ผลการศึกษาพบว่าสารสกัดเมล็ดถั่วแดงดิบมีปริมาณสารฟีโนลิคสูงสุด (128.5 ± 11.7 มิลลิกรัม GAE/กรัมของสารสกัด) หลังผ่านกระบวนการให้ความร้อนด้วยหม้อนึ่งความดันพบว่าสารสกัดของเมล็ดถั่วและเปลือกหุ้มเมล็ดของถั่วลิสงแสดงปริมาณสารฟีโนลิคสูงสุด (131.2 ± 3.5 และ 498.1 ± 21.8 มิลลิกรัม GAE/ กรัมของสารสกัด ตามลำดับ) และพบสารฟลาโวนอยด์ปริมาณสูงในสารสกัดเมล็ดถั่วดำดิบ (37.5 ± 1.0 มิลลิกรัม CE/ กรัมของสารสกัด) และสารสกัดเปลือกหุ้มเมล็ดดิบของถั่วแดงและถั่วลิสง (328.2 ± 5.7 และ 328.0 ± 12.9 มิลลิกรัม CE/ กรัมของสารสกัด ตามลำดับ) ส่วนฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระทำการศึกษาโดยวิธี DPPH assay และ ferric reducing antioxidant power (FRAP) assay พบว่าสารสกัดเมล็ดถั่วดำแสดงฤทธิ์ในการกำจัดอนุมูลอิสระ DPPH และฤทธิ์ในการรีดิวซ์ (FRAP) สูงสุดคือ 95.2 ± 2.1% และ 423.4 ± 1.7 ไมโครโมลาร์/กรัมของสารสกัด ตามลำดับในถั่วดิบ และ 86.1 ± 1.1% และ 153.9 ± 1.5 ไมโครโมลาร์/กรัมของสารสกัด ตามลำดับในถั่วผ่านความร้อน สำหรับสารสกัดเปลือกหุ้มเมล็ดดิบพบว่าถั่วลิสงแสดงฤทธิ์ในการกำจัดอนุมูลอิสระ DPPH ได้สูงสุด 92.3 ± 0.3% รองลงมาคือถั่วแดง (89.7 ± 0.3%) และถั่วดำ (87.1 ± 2.4%) นอกจากนี้สารสกัดเปลือกหุ้มเมล็ดดิบของถั่วลิสงและถั่วแดงยังมีค่า FRAP value สูงสุดคือ 2067.7 ± 112.5 และ 2063.3 ± 58.6 ไมโครโมลาร์/กรัมของสารสกัด ตามลำดับ รองลงมาคือถั่วดำผ่านความร้อน (1495.6 ± 59.4 ไมโครโมลาร์/กรัมของสารสกัด) จะเห็นได้ว่าสารสกัดเปลือกหุ้มเมล็ดของถั่วดำ ถั่วลิสง และถั่วแดง มีปริมาณสารฟีโนลิคและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูง ในขณะที่ถั่วเหลืองต่ำที่สุด นอกจากนั้นได้ทำการศึกษาฤทธิ์ต้านความเป็นพิษต่อหน่วยพันธุกรรมของสารสกัดจากถั่วโดยใช้วิธี single cell gel electrophoresis (comet) assay และ somatic mutation and recombination test (SMART) ผลการศึกษาในวิธี comet assay พบว่าสารสกัดของเมล็ดถั่วลิสงและถั่วดำที่ผ่านความร้อนแสดงการยับยั้งการแตกหักของดีเอ็นเอที่ถูกเหนี่ยวนำ hydrogen peroxide ได้ 34.7% และ 35.6% ตามลำดับ ส่วนสารสกัดของเปลือกหุ้มเมล็ดของถั่วดำ ถั่วลิสง และถั่วแดง ที่ผ่านความร้อนแสดงผลยับยั้ง ได้ในระดับสูง คือ 63.3%, 63.2% และ 61.8% ตามลำดับ นอกจากนี้การศึกษาด้วยวีธี SMART พบว่าสารสกัดเมล็ดถั่วแดงแสดงฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์ได้สูงสุด (57.2%) รองลงมาคือถั่วลิสง (54.0%) ส่วนสารสกัดเปลือกหุ้มเมล็ดถั่วแสดงฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์ได้เล็กน้อย (6.2- 38.8%) ที่ระดับความเข้มข้นต่ำที่สุด โดยสารสกัดเปลือกหุ้มเมล็ดของถั่วแดงมีฤทธิ์ต้านก่อกลายพันธุ์สูงสุด (38.8%) อย่างไรก็ตามที่ระดับความเข้มข้นสูงพบว่าสารสกัดจากเปลือกหุ้มเมล็ดถั่วทุกตัวอย่างแสดงผลเสริมฤทธิ์การก่อกลายพันธุ์ของ urethane ดังนั้นผลของการศึกษานี้จึงกล่าวได้ว่าฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์หรือฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ร่วมนั้นขึ้นอยู่กับปริมาณของสารฟีโนลิคที่ได้รับ
Description: Thesis (Ph.D.)--Chulalongkorn University, 2010
Degree Name: Doctor of Philosophy
Degree Level: Doctoral Degree
Degree Discipline: Pharmaceutical Chemistry and Natural Products
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65495
Type: Thesis
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
4976951333_2010.pdf1.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.