Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65693
Title: การแตกตัวของน้ำมันพืชใช้แล้วเป็นเชื้อเพลิงเหลวโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาเหล็กบนถ่านกัมมันต์และ HZSM-5
Other Titles: Catalytic cracking of used vegetable oil to liquid fuel using Fe/active carbon and HZSM-5
Authors: มารีนา มงคล
Advisors: ธราพงษ์ วิทิตศานต์
สงบทิพย์ พงศ์สถาบดี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: tharapong.v@chula.ac.th
psangob@sc.chula.ac.th
Subjects: การแตกตัวด้วยตัวเร่งปฏิกิริยา
เชื้อเพลิงน้ำมันพืช
เชื้อเพลิงเหลว
คาร์บอนกัมมันต์
Catalytic cracking
Carbon, Activated
Liquid fuels
Vegetable oils as fuel
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มุ่งที่จะศึกษาการแตกตัวของน้ำมันพืชใช้แล้วเป็นเชื้อเพลิงเหลวโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาในเครื่องปฏิกรณ์ขนาดเล็ก เพื่อศึกษาอิทธิพลของตัวแปรต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อร้อยละผลได้ผลิตภัณฑ์น้ำมันและองค์ประกอบที่ดีที่สุด โดยใช้การทดลองแบบแฟกทอเรียลสองระดับศึกษาอิทธิพลของตัวแปรที่มีต่อร้อยละผลได้ผลิตภัณฑ์น้ำมัน ตัวแปรที่ศึกษาประกอบด้วยอุณหภูมิ 400-430 องศาเซลเซียส เวลาในการทำปฏิกิริยา 45-60 นาที และชนิดของตัวเร่งปฏิกิริยา ซึ่งมีตัวแปร คือ น้ำหนักตัวเร่งปฏิกิริยาเหล็กบนถ่านกัมมันต์ 0.5-2.0 กรัม ภายใต้ความดันบรรยากาศแก๊สไฮโดรเจนเริ่มต้น 10-30 บาร์ และตัวเร่ง ปฏิกิริยา HZSM-5 น้ำหนัก 0.05-0.2 กรัม ที่ความดันแก๊สไฮโดรเจนเริ่มต้น 10-20 บาร์ กรณีใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาเหล็กบนถ่านกัมมันต์ อุณหภูมิ เวลาในการทำปฏิกิริยา และน้ำหนักของเหล็กบนถ่านกัมมันต์เป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อผลได้ผลิตภัณฑ์นี้ามันอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อทำการวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์น้ำมัน โดยเทคนิคแก๊สโครมาโทกราฟี (GC Simulated Distillation) พบว่าภาวะที่ส่งผลต่อการเกิดปริมาณแนฟทาสูงสุดคือ อุณหภูมิ 430 องศาเซลเซียส ความดันแก๊สไฮโดรเจนเริ่มต้น 10 บาร์ เวลาในการทำปฏิกิริยา 60 นาที และเหล็กบนถ่านกัมมันต์ 0.5 กรัม ได้ร้อยละผลได้ผลิตภัณฑ์น้ำมัน 79.74 โดยน้ำหนัก องค์ประกอบผลิตภัณฑ์น้ำมันที่ได้มีปริมาณร้อยละผลได้ของแนฟทา 28.14 เคโรซีน 16.56 แก๊สออยล์เบา 21.86 แก๊สออยล์ 3.26 และกากน้ำมันหนัก 9.91 กรณีใช้ตัวเร่งปฏิกิริยา HZSM-5 อุณหภูมิและเวลาในการเกิดปฏิกิริยาเป็นปัจจัยหลักที่มีผลต่อผลได้ผลิตภัณฑ์น้ำมันอย่างมีนัยสำคัญ โดยภาวะการทดลองที่ดีที่สุดคือ อุณหภูมิ 430 องศาเซลเซียส ความดันแก๊สไฮโดรเจนเริ่มต้น 10 บาร์ เวลาในการทำปฏิกิริยา 60 นาที และ HZSM-50.05 กรัม ได้ร้อยละผลได้ผลิตภัณฑ์น้ำมัน 83.60 โดยน้ำหนัก ร้อยละผลได้ของแนฟทา 26.75 เคโรซีน 13.79 แก๊สออยล์เบา 22.99 แก๊สออยล์ 3.76 และกากน้ำมันหนัก 16.30 การวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์แก๊สที่เกิดขึ้นระหว่างปฏิกิริยาจากตัวเร่งปฏิกิริยาทั้งสองชนิดโดยเครื่องไมโครแก๊สโครมาโทกราฟี (3000 MicroGC) พบว่าประกอบด้วย ร้อยละผลได้โดยโมลของมีเทนอยู่ในช่วง 13-22อีเทน 12-16โพรเพน6-8บิวเทน 1-3 และคาร์บอนไดออกไซด์สูงถึงร้อยละ54-65
Other Abstract: The main objective of this research was aimed to study the catalytic cracking of used vegetable oil to liquid fuel by using Fe/active carbon and HZSM-5 in a micro reactor by varied operating condition as reaction temperature range of 400-430 ℃, reaction time 45-60 min mass of Fe/active carbon 0.5-2.0 g with initial hydrogen pressure 10-30 bars and mass of HZSM-5 0.05-0.2 g with initial hydrogen pressure 10-20 bars. The two level factorial experimental design was performed to investigate the effect of variables of oil yield. From the results, it was found that reaction temperature, reaction time and weight of Fe/active carbon catalyst were significantly affected to oil yield. The analyzed oil product from Gas Chromatography (GC Simulated Distillation) was found that reaction temperature of 430 ℃, initial hydrogen pressure 10 bars, reaction time 60 min by using 0.5 g Fe/active carbon was the best condition that gave the highest yields of naphtha. The oil yield was 79.74 % by weight, 28.14 % Naphtha, 16.56 % Kerosene, 21.86 % Light gas oil, 3.26 % Gas oil and 9.91 % Long residues. In case of using HZSM-5. From the results, it was found that reaction temperature and reaction time were significantly affected to oil yield. The analyzed oil product was found that reaction temperature of 430 ℃, initial hydrogen pressure 10 bars, reaction time 60 min by using 0.05 g HZSM-5 was the best condition. The oil yield was 83.60 % by weight, 26.75 % Naphtha, 13.79 % Kerosene, 22.99 % Light gas oil, 3.76 % Gas oil and 16.30 % Long residues. The component of gases product from Micro Gas Chromatography show the percentage by mole of 13-22 % Methane, 12-16 % Ethane, 6-8% Propane, 1-3 % Butane and 54-65 % Carbon dioxide.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เคมีเทคนิค
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65693
ISBN: 9741745516
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Marina_mo_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อและสารบัญ931.56 kBAdobe PDFView/Open
Marina_mo_ch1_p.pdfบทที่ 1637.63 kBAdobe PDFView/Open
Marina_mo_ch2_p.pdfบทที่ 21.72 MBAdobe PDFView/Open
Marina_mo_ch3_p.pdfบทที่ 3992.55 kBAdobe PDFView/Open
Marina_mo_ch4_p.pdfบทที่ 42.66 MBAdobe PDFView/Open
Marina_mo_ch5_p.pdfบทที่ 5634.74 kBAdobe PDFView/Open
Marina_mo_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก1.07 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.