Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65871
Title: ภาวะสุขภาพและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของบุคลากรโรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ในปี พ.ศ. 2546
Other Titles: Health status and related factors of personnel at Saint Louis Hospital, 2003
Authors: อรวรรณ น้อยวัฒน์
Advisors: ไพบูลย์ โล่ห์สุนทร
สมรัตน์ เลิศมหาฤทธิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Somrat.L@Chula.ac.th
Subjects: โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์
พฤติกรรมสุขภาพ
Saint Louis Hospital
Health behavior
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ความสำคัญและที่มา : การส่งเสริมสุขภาพของบุคลากรในโรงพยาบาล นับเป็นจุดเริ่มต้นของการดำเนินงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ผู้วิจัยได้เล็งเห็นความสำคัญของภาวะสุขภาพทั้งด้านร่างกายและจิตใจของบุคลากร เพื่อการพัฒนาไปสู่การเชื่อมโยงของชุมชนและการเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต่อไป วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาภาวะสุขภาพทางด้านร่างกายและจิตใจและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของบุคลากรโรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ ในปี พ.ศ. 2546 รูปแบบการวิจัย : การศึกษาเชิงพรรณา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง ตัวอย่าง : บุคลากรทั้งหมดในโรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ที่มีผลตรวจสุขภาพ จำนวน 820 คน ในปี 2546 การรวบรวมข้อมูล : รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ระหว่างเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ 2547 มีผู้ตอบกลับและมีผลการตรวจสุขภาพ จำนวน 820 คน (ร้อยละ 88.1 ) จากบุคลากรทั้งหมด 931 คน สถิติที่ใช้ : Chi-square test ({u1D4B3}2) ผลการศึกษา : มีบุคลากรจำนวน 820 คน เป็นเพศชาย : หญิง (1 : 4.5 ) มีอายุเฉลี่ย 33.8 ปี ส่วนมากอยู่ในช่วงอายุ 30-34 ปี ( ร้อยละ 26.6 ) นับถือศาสนาพุทธ 360 คน (ร้อยละ 44.2 ) รองลงมาคือศาสนาคริสต์ 192 คน (ร้อยละ23.5 ) ส่วนใหญ่มีความรู้ด้านพฤติกรรมสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง 471 คน (ร้อยละ 58.1) ทัศนคติอยู่ระดับดี 606 คน (ร้อยละ 74.7) ส่วนมากมีพฤติกรรมสุขภาพอยู่ในระดับดี 635 คน (ร้อยละ 79.9) และมีความเครียดในระดับปานกลางและระดับสูง ร้อยละ 39.4 และ 38.0 ตามลำดับ ผลการตรวจร่างกายพบว่าส่วนมากดัชนีมวลกายมีผลผิดปกติ (น้อยกว่า 20 และสูงกว่า 25) ร้อยละ 46.7 ความดันโลหิตผิดปกติ (Systolic/Diastolic มากกว่า 140/90 mm Hg) ร้อยละ12.3 ผลตรวจเอ็กซเรย์ปอด ผิดปกติร้อยละ 1 ส่วนในบุคลากรที่อายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป พบว่า ระดับน้ำตาลในเลือด มีผลผิดปกติ (สูงกว่า 110) ร้อยละ7.3 คอเลสเตอรอลผิดปกติ ( สูงกว่า 250 mg/dl ) ร้อยละ 48.8 จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านความรู้ เจตคติ พฤติกรรมสุขภาพ และปัจจัยด้านการทำงานกับภาวะสุขภาพพบว่า อายุ ตำแหน่งหน้าที่การงาน ปริมาณงาน และการนอนหลับ มีความสัมพันธ์กับภาวะสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) สรุป : ภาวะสุขภาพและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของบุคลากรในโรงพยาบาล นับเป็นเรื่องสำคัญมาก เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการพัฒนาสุขภาพของบุคลากรโรงพยาบาลเซนต์หลุยล์
Other Abstract: Background : The health promotion of hospital personnel is the first active activity of health promotion hospital. The importance of physical and mental health status will lead to the development and linking with community and health promotion hospital. Objective : To investigate health status and related factors of personnel at Saint Louis Hospital. 2003. Research Design : Cross-Sectional Descriptive Study Participants : The personnel in Saint Louis Hospital ,2003 Data Collection : The Self-administered questionnaire was conducted during January-February 2004 with 820 personnel (88.1%) Statistical Method: Chi-square test ({u1D4B3}2) Result : The result of this study showed that 820 health personnel checkup were male : female 1 : 4.5 1 mean age was 33.8 years .mostly in age group 30-34 years (26.6%) , Most of them were Buddhist 44.2% and Christian 23.5%. It was found that the mean score knowledge health behaviors was moderate 58.1% , attitudes at good scores level 74.7% , good health behaviors 79.9% , moderate stress level 39.4% and high stress level 38.0%. The physical and laboratory examination results showed that body mass index abnormal (<20 and >25) 46.7% , abnormal Blood Pressure (Systolic/Diastolic > 140/90) 12.3 % and abnormal Chest X-Ray 1%. The personnel over 35 years of age showed abnormal Fasting Blood Sugar (>110 mg%) 7.3% and abnormal Cholesterol (>200 mg%) 48.8%. It was also found that the physical health status was statistically associated with age , position of work , quantity of work and sleeping behavior (p < 0.05) Conclusion : The health status and related factors of hospital personnel is very important for the baseline data in development of health status of personnel at Saint Louis hospital.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เวชศาสตร์ชุมชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65871
ISBN: 9741749716
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Orawan_no_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ783.5 kBAdobe PDFView/Open
Orawan_no_ch1_p.pdfบทที่ 1880.24 kBAdobe PDFView/Open
Orawan_no_ch2_p.pdfบทที่ 21.35 MBAdobe PDFView/Open
Orawan_no_ch3_p.pdfบทที่ 3751.25 kBAdobe PDFView/Open
Orawan_no_ch4_p.pdfบทที่ 41.44 MBAdobe PDFView/Open
Orawan_no_ch5_p.pdfบทที่ 5888.81 kBAdobe PDFView/Open
Orawan_no_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก1.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.