Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65913
Title: บททำขวัญเรือและพิธีทำขวัญเรือของชาวไทยภาคใต้ : การสร้างสรรค์และการถ่ายทอด
Other Titles: Tham Khwan Rua chants and rites of the Southern Thai : the creation and the transmission
Authors: อุมารินทร์ ตุลารักษ์
Advisors: ตรีศิลป์ บุญขจร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: Trisilpa.B@Chula.ac.th,trisilpachula@yahoo.com
Subjects: ขวัญและการทำขวัญ
คติชนวิทยา -- ไทย (ภาคใต้)
พิธีทางศาสนาและพิธีกรรม -- ไทย (ภาคใต้)
ประมง
การแข่งเรือ
ไทย (ภาคใต้) -- ความเป็นอยู่และประเพณี
Folklore -- Thailand, Southern
Rites and ceremonies -- Thailand, Southern
Fisheries
Rowing
Thailand, Southern -- Manners and customs
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีอจุดประสงค์เพื่อเปรียบเทียบบททำขวัญเรือของชาวไทยภาคใต้ในด้านรูปแบบ เนื้อหา การสร้างสรรค์และการถ่ายทอดในขอบเขตพื้นที่ศึกษา 3 จังหวัด คือจังหวัดชุมพร จังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดสุราษฎร์ธานี จากการรวบรวมข้อมูล จังหวัดชุมพรได้บททำขวัญ 10 สำนวน จังหวัดนครศรีธรรมราช 10 สำนวน และจังหวัดสุราษฎร์ธานี 9 สำนวน รวมทั้งสิ้น 29 สำนวน จากการศึกษา พบว่าบททำขวัญเรือและพิธีทำขวัญเรือแสดงให้เห็นอิทธิพลของศาสนาพุทธ พราหมณ์ ลัทธิผีสางเทวดาและความเชื่อเรื่องขวัญ ส่วนการทำขวัญเรือนั้นสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ การทำขวัญเรือประมง และการทำขวัญเรือพายแข่ง การทำขวัญเรือประมงนั้นมีในขอบเขตพื้นที่ศึกษาทั้งสามจังหวัด ส่วนการทำขวัญเรือพายแข่งมีเพียงในจังหวัดชุมพรและสุราษฎร์ธานีเท่านั้น ลักษณะการประกอบพิธีกรรมของแต่ละจังหวัดค่อนข้างคล้ายคลึงกัน แตกต่างกันเพียงการใช้ตัวบทเท่านั้น การทำขวัญเรือแต่ละประเภทสามารถแบ่งเป็นการทำขวัญเรือที่หมอขวัญประกอบพิธี และการทำขวัญเรือที่เข้าของเรือหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเรือประกอบพิธี การทำขวัญเรือที่หมอขวัญมาประกอบพิธีจะมีการเตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ และขั้นตอนพิธีกรรมที่ซับซ้อนมากกว่าการทำขวัญเรือที่เข้าของเรือหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเรือประกอบพิธี ส่วนตัวบททำขวัญเรือแบ่งได้เป็น 4 ประเภท คือตัวบทสำนวนหลักที่สันนิษฐานว่ามีที่มาจากตัวบทสำนวนเดิม ตัวบทที่ได้มาจากการตัดแปลงตัวบทที่ใช้ในพิธีกรรมอื่น ตัวบทที่แต่งขึ้นใหม่ และตัวบทที่เป็นการอธิษฐาน องค์ประกอบของบททำขวัญเรือแบ่งได้เป็น 7 ส่วน คือบทประณามพจน์ บทชุมนุมเทวดา บทไหว้ครู บทอัญเชิญเทวดา บทเชิญขวัญแม่ย่านางหรือบททำขวัญเรือ บทเชิญเทวดากลับ บทขอพรและบทลาเครื่องสังเวย และบททำน้ำมนตร์และโองการต่าง ๆ ลักษณะคำประพันธ์ที่พบในบททำขวัญเรือ คือ คำประพันธ์คล้ายร่าย คำประพันธ์คล้ายกาพย์ฉบัง คำประพันธ์คล้ายกาพย์ยานี11 คำประพันธ์คล้ายกาพย์สุรางคนางค์ 28 และคำประพันธ์คล้ายกาพย์สุรางคนางค์ 32 สำหรับการสืบสาน การสร้างสรรค์และการถ่ายทอดบททำขวัญเรือนั้น พบว่าการถ่ายทอดตัวบทเป็นแบบบุขปาฐะซึ่งมีลักษณะเป็นพลวัต ส่วนกลวิธีการสืบสานและการสร้างสรรค์ของหมอขวัญนั้นแบ่งเป็น 6 ประการคือ การแต่งเดิมตัวบทโดยทำให้เป็นร้อยกรองที่สละสลวย การปรับแปลงรูปแบบตัวบท การแทรกตัวบท การประสมประสานตัวบท การกล่าวซ้ำตัวบทเดิม และ การแต่งตัวบทขึ้นใหม่ และบทบาทหน้าที่ของพิธีทำขวัญเรือและบททำขวัญเรือมี 3 ประการคือบทบาทหน้าที่ในเชิงจิตวิทยา บทบาทหน้าที่ในทางวัฒนธรรม และกระบวนการขัคเกลาทางสังคม
Other Abstract: The purpose of this thesis is to compare Tham Khwan Rua chants and rites from Chumphon, Nakhon Si Thammarat and Surat Thani in terms of form, content as well as creating and transmitting processes. Among the 29 chants studied,10 are from Chumphon, 10 from Nakhon Si Thammarat and 9 from Surat Thani. The study revealed the influences of Buddhism, Animism and the belief in Khwan on the Than Khwan Rua chants and rites. Tham Khwan Rua rites can be categorized into 2 kinds, namely those for fishing vessels and those for racing canoes. The Tham Khwan rites for fishing vessels are found in three provinces whereas those for racing canoes are found only in Chumphon and Surat Thari. The rites in all the three provinces are performed in similar ways; the difference lies in the charts employed. These rites can be divided into two types: those performed by chanters or Mo Khwan and those performed by the owners of the vehicles or people associated with them. The rites practiced by Mo Khwans involve more complicated steps in preparing the ritual settings and in performing. The Tham Khwan Rua chants are in 4 kinds: the ’’master” version presumably derived from the original one, the version adapted from chants for other rites, the newly created version and the prayer-like version. A Tham Khwan Rua chant might be said to have 7 parts: the Panegyric; the Congregation of the gods; the Homage to teachers; the Invocation of the gods; the Invocation of the vehicle's guardian spirit (Mae Ya Nang); the Invitation for the gods to leave and the Prayers for blessing and permission to take the offerings; and the Prayers for water consecration. The verse forms employed in the Tham Khwan Rua chants are similar to Rai, Kap Chabang 16, Kap Yani 11, Kap Surangkhanang 28, and Kap Surangkhanang 32. The transmission of the Tham Khwan Rua chants is oral and involves dynamic textual charges in the process. The maintenance and creation of the chants by Mo Khwan can be classified into 6 kinds: adding versified parts, adapting chants for other rites for the Tham Khwan Rua purpose, inserting texts excerpted from chants for other rites, combining several versions of Tham Khwan Rua charts, repeating some parts of the chants employed, and creating a totally new version. The function of the Tham Khwan Rua rites and chants is threefold-psychological, cultural and pertaining to socialization process.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วรรณคดีเปรียบเทียบ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65913
ISBN: 9741704003
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Umarin_tu_front_p.pdf845.58 kBAdobe PDFView/Open
Umarin_tu_ch1_p.pdf905 kBAdobe PDFView/Open
Umarin_tu_ch2_p.pdf1.66 MBAdobe PDFView/Open
Umarin_tu_ch3_p.pdf3.17 MBAdobe PDFView/Open
Umarin_tu_ch4_p.pdf4.81 MBAdobe PDFView/Open
Umarin_tu_ch5_p.pdf1.3 MBAdobe PDFView/Open
Umarin_tu_ch6_p.pdf727.57 kBAdobe PDFView/Open
Umarin_tu_back_p.pdf4.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.