Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6605
Title: | การผลิตและการใช้เทปโทรทัศน์ประกอบการฝึกอบรมกระบวนการกลุ่ม : รายงานผลการวิจัย |
Other Titles: | Production and use of video-tapes for group interaction training |
Authors: | ทิศนา แขมมณี พวงทิพย์ ชัยพิบาลสฤษดิ์ นันทนา เทพบริรักษ์ |
Email: | Tisana.K@chula.ac.th Puangtip.C@Chula.ac.th ไม่มีข้อมูล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Subjects: | กลุ่มสัมพันธ์ วีดิทัศน์ กลุ่มสังคม การฝึกอบรม การสอนด้วยสื่อ |
Issue Date: | 2524 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อผลิตเทปโทรทัศน์ใช้ประกอบการฝึกอบรมกระบวนการกลุ่มแก่ข้าราชการพลเรือน ตั้งแต่ระดับ 3 เป็นต้นไป จำนวน 4 เรื่อง 2. เพื่อผลิตคู่มือสำหรับผู้ฝึกอบรม (ผู้ใช้เทปโทรทัศน์) และผู้รับการอบรม (ผู้ศึกษาเทปโทรทัศน์) ประกอบเทปโทรทัศน์แต่ละเรื่องที่ผลิตขึ้น 3. เพื่อหาประสิทธิภาพของเทปโทรทัศน์ที่ผลิตขึ้น 4. เพื่อสร้างหลักการและรูปแบบในการผลิตเทปโทรทัศน์ ใช้ประกอบการฝึกอบรมกระบวนการกลุ่ม การดำเนินการวิจัย ขั้นที่ 1 : ขั้นเตรียมการ คณะผู้วิจัยได้วางแผนงานในการดำเนินการทั้งหมด รวมทั้งได้เลือกสรรเรื่องทางด้านกระบวนการกลุ่มที่จะนำมาผลิตเป็นเทปโทรทัศน์ ตามเกณฑ์ที่ได้กำหนดขึ้นได้ จำนวน 4 เรื่องขั้นที่ 2 : ขั้นผลิตเทปโทรทัศน์ คณะผู้วิจัยได้ศึกษาและปรึกษาผู้เชี่ยวชาญต่างๆ ในด้านการผลิตบทโทรทัศน์ที่เหมาะสม และได้รวบรวมข้อมูลรวมทั้งกรณีตัวอย่างต่างๆ (cases) ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาของเรื่องทั้ง 7 เรื่อง ต่อไปจึงได้ร่างบทโทรทัศน์ขึ้นแล้วทำการปรับปรุงแก้ไขโดยได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญและคณะที่ปรึกษา จนกระทั่งได้บทโทรทัศน์ฉบับสมบูรณ์ หลังจากนั้นจึงได้นำบทโทรทัศน์ดังกล่าวไปดำเนินการผลิตออกมาเป็นเทปโทรทัศน์ โดยคณะผู้วิจัยได้วางแผนและดำเนินการติดต่อประสานงานกับบุคคลต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง อันได้แก่ ผู้ช่วยงานฝ่ายศิลป์ ผู้ช่วยงานฝ่ายเทคนิค การถ่ายทำและจัดฉากผู้แสดง และผู้ช่วยอื่นๆ รวมทั้งสิ้นประมาณ 70 คน รวมทั้งขอความร่วมมือและความช่วยเหลือจากหน่วยงานต่างๆ อีกหลายแห่ง แล้วจึงลงมือถ่ายทำเทปโทรทัศน์จนกระทั่งเสร็จสมบูรณ์ ขั้นที่ 3 : ขั้นผลิตแบบทดสอบและคู่มือต่างๆ คณะผู้วิจัยได้สร้างแบบทดสอบซึ่งจะใช้วัดผลสัมฤทธิ์ของผู้ศึกษาเทปโทรทัศน์แต่ละเรื่องขึ้น โดยสร้างให้มีสาระครอบคลุมวัตถุประสงค์และเนื้อหาของเทปโทรทัศน์แต่ละเรื่อง หลังจากสร้างแล้ว ผู้วิจัยได้ทดลองให้แบบทดสอบเหล่านั้น แล้วนำมาปรับปรุงแก้ไข จนเป็นที่พอใจ หลังจากนั้นจึงได้นำแบบทดสอบเหล่านั้นไปใช้หาค่าความเที่ยง (reliability) โดยนำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างประชากรรวมทั้งสิ้น 423 คน นอกจากการสร้างแบบทดสอบแล้ว คณะผู้วิจัยยังได้สร้างคู่มือขึ้น 2 ประเภท คือ คู่มือสำหรับผู้ใช้เทปโทรทัศน์ และคู่มือสำหรับผู้ศึกษาเทปโทรทัศน์ ทั้งนี้เพื่อวัตถุประสงค์ที่จะให้ผู้ศึกษาเทปโทรทัศน์ได้ประโยชน์จากการศึกษาให้มากที่สุด คู่มือดังกล่าวได้ผ่านการทดลองใช้และปรับปรุงแล้ว ขั้นที่ 4 : ขั้นหาประสิทธิภาพของเทปโทรทัศน์ คณะผู้วิจัยได้นำเทปโทรทัศน์ทั้ง 4 เรื่อง ไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างประชากร ซึ่งเป็นข้าราชการพลเรือนระดับ ซี 3-6 สังกัดต่างๆ จำนวนรวมทั้งสิ้น 423 คน คณะผู้วิจัยได้ให้กลุ่มตัวอย่างประชากรทำแบบทดสอบก่อนและหลังการชมเทปโทรทัศน์แล้วนำแบบทดสอบไปวิเคราะห์หาประสิทธิภาพของเทปโทรทัศน์ โดยการทดสอบค่าที (t-test) ขั้นที่ 5 : ขั้นเสนอหลักการและรูปแบบในการผลิตเทปโทรทัศน์ประกอบการฝึกอบรมกระบวนการกลุ่ม คณะผู้วิจัยได้สำรวจและวิเคราะห์แผนงาน หลักการ และวิธีการที่ได้ใช้ในการผลิตงานครั้งนี้แล้วจึงได้สังเคราะห์และสรุปเป็นหลักการและรูปแบบที่ผู้สนใจจะสามารถนำไปใช้ในการผลิตเทปโทรทัศน์เพื่อใช้ประกอบการฝึกอบรมกระบวนการกลุ่มในเรื่องอื่นๆ ต่อไป ผลการวิจัย 1. จากการดำเนินการวิจัยดังกล่าวข้างต้น คณะผู้วิจัยสามารถผลิตผลงานดังต่อไปนี้ 1.1 เทปโทรทัศน์ระบบ Video Cassette (U-matic) จำนวน 4 เรื่อง คือ 1.1.1 เรื่อง "มนุษยสัมพันธ์ในการทำงาน" ความยาว 43 นาที 1.1.2 เรื่อง "ลักษณะผู้นำ" ความยาว 28 นาที 1.1.3 เรื่อง "บทบาทสมาชิกกลุ่ม" ความยาว 40 นาที 1.1.4 เรื่อง "ทักษะการนำอภิปราย" ความยาว 45 นาที 1.2 คู่มือสำหรับผู้ศึกษาเทปโทรทัศน์ 4 เรื่อง เรื่องละ 1 เล่ม 1.3 คู่มือสำหรับผู้ใช้เทปโทรทัศน์ 4 เรื่อง รวม 1 เล่ม 1.4 บทโทรทัศน์ 4 เรื่อง รวม 1 เล่ม 1.5 แบบตัวอย่างหลักการการผลิตเทปโทรทัศน์ประกอบการฝึกอบรมกระบวนการกลุ่ม 1.6 แบบตัวอย่างหลักการการใช้เทปโทรทัศน์ ประกอบการฝึกอบรมกระบวนการกลุ่ม 2. จากการดำเนินการวิจัยดังกล่าวข้างต้น ปรากฏผลว่า 2.1 แบบทดสอบสำหรับเทปโทรทัศน์แต่ละเรื่อง มีค่าควมเที่ยง (reliability) ดังนี้ 2.1.1 แบบทดสอบชุดที่ 1 เรื่องมนุษยสัมพันธ์ในการทำงาน มีค่าความเที่ยง 0.923 2.1.2 แบบทดสอบชุดที่ 2 เรื่อง มนุษยสัมพันธ์ในการทำงาน มีค่าความเที่ยง 0.922 2.1.3 แบบทดสอบชุดที่ 1 เรื่อง ลักษณะผู้นำ มีค่าความเที่ยง 0.673 2.1.4 แบบทดสอบชุดที่ 2 เรื่อง ลักษณะผู้นำ มีค่าความเที่ยง 0.925 2.1.5 แบบทดสอบเรื่อง บทบาทสมาชิกกลุ่ม มีค่าความเที่ยง 0.885 2.1.6 แบบทดสอบเรื่อง ทักษะการนำอภิปราย มีค่าความเที่ยง 0.89 2.2 เทปโทรทัศน์ทั้ง 4 เรื่อง มีประสิทธิภาพในด้านการช่วยให้ผู้ศึกษามีพัฒนาการทางด้านการเรียนรู้หรือมีผลสัมฤทธิ์สูงขึ้น เนื่องจากคะแนนเฉลี่ยของการสอบหลังการศึกษาเทปโทรทัศน์สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยของการสอบก่อนการศึกษาเทปโทรทัศน์ ที่ระดับความมีนัยสำคัญ .001 ในเรื่อง มนุษยสัมพันธ์ในการทำงาน ลักษณะผู้นำ และทักษะการนำอภิปราย และที่ระดับความมีนัยสำคัญ .01 ในเรื่องบทบาทสมาชิกกลุ่ม |
Other Abstract: | Objectives 1. To produce four video-tapes for group interaction training to be used with civil servants from level 3 on. 2. To produce manuals for trainers and manuals for trainees. 3. To determine the effectiveness of the four video-tapes which have been produced. 4. To develop methodologies and models in producing and utilizing the video-tapes for group interaction training. Research procedures Stage 1. : Preparation stage. The researchers set up the research plan selected the contents for four video-tapes according to the set criteria Stage 2. : Production of video-tapes. The researchers consulted experts in script writing and collected the cases related to the selected contents. The scripts for four video-tapes were written and revised with the help of experts and consultants. When the scripts were ready, the researchers coordinated with approximately 70 related people such as artists, technicians, players and other helpers. Finally, with the cooperation and help from many people and institutions, the four video-tapes were produced. Stage 3. : Production of tests and manuals. The researchers developed six sets of tests which cover the objectives and contents of each video-tape produced. The tests have been tried out and revised several times. The reliability of each test was determined from the data collected from the pre and post tests done by the experimental groups. Manuals for trainers and trainees were developed with the purpose of helping the users of the video-tapes gain maximum benefits from them. All manuals have been tried out and revised several times. Stage 4. : Determining the effectiveness of video-tapes. The researchers tried out with 423 civil servants from level 3-6. The experimental subjects were asked to do pre and post tests before and after the presentation of the tapes. The data from the tests were analyzed. T-tests were used to determine the level of effectiveness of the four video-tapes produced. Stage 5. : Presentation of methodologies and models of "Production and Utilization of video-tapes for group interaction training." The researchers examined the plans, methods, processes that have been used for this production. Then the data were synthesized and concluded and presented in two models-A Model for the production of video-tapes for group interaction training, and A Model for the utilization of video-tapes for group interaction training. Results 1. Based on the procedures above, the researchers were able to produce 1.1 Four video-tapes (video-cassette, U-matic) as follows : 1.1.1 Video-Tape on "Human Relations at Work" (43 minutes) 1.1.2 Video-Tape on "Leadership Styles" (28 minutes) 1.1.3 Video-Tape on "Group Roles" (40 minutes) 1.1.4 Video-Tape on "Skills in Leading Discussion" (45 minutes) 1.2 Manuals for trainers in using the four video-tapes. 1.3 Manuals for trainees in learning from the four video-tapes. 1.4 A book of four scripts. 1.5 A model for the production of video-tapes for group interaction training. 1.6 A model for the utilization of video-tapes for group interactiontraining. 2. The four video-tapes produced from the project were proven to be effective in helping the learners improve their learning since the data indicated that the average score of the post-test of every sample group was higher than the average score of the pre-test and there was a significant difference at the level of .001 between the average score of the pre-test and post-test of every group who learned from the video-tapes "Human Relations at Work", "Leadership Styles" and "Skills in Leading Discussion." For the group who learned from the video-tape "Group Roles", the average scorcs of the pre-test and post-test were significantly different at the level of .01. |
Description: | โครงการในความร่วมมือระหว่างสถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน สำนักงาน ก.พ. และ UNDP |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6605 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | Edu - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Tisana(Video-tapes).pdf | 9.81 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.