Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66147
Title: การศึกษาสมบัติการต้านอนุมูลอิสระและการเป็นพรีไบโอติกของพอลิแซ็กคาไรด์จากสาหร่ายทะเล
Other Titles: Antioxidant activities and prebiotic properties of polysaccharide from seaweeds
Authors: นิชกานต์ เอื้อเฟื้อ
สโรชา จิรวัฒนเมธา
Advisors: สุเมธ ตันตระเธียร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Sumate.T@Chula.ac.th
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อนำสาหร่ายทะเลมาใช้ให้เกิดประโยชน์ด้วยการนำสาหร่าย 3 ชนิด ได้แก่ สาหร่ายไส้ไก่ สาหร่าย Chaetomorpha และ สาหร่ายผมนาง มาสกัดหยาบด้วยวิธีที่แตกต่างกัน 3 วิธี ได้แก่ Hot water extraction, Enzymes-assisted extraction(EAE) และ Ultrasound-assisted extraction(UAE) เพื่อศึกษาอิทธิพลของวิธีการสกัดที่มีต่อผลผลิตร้อยละของสารสกัดหยาบจากสาหร่ายแต่ละชนิด สมบัติการต้านอนุมูลอิสระ และสมบัติความเป็นพรีไบโอติก จากการศึกษา พบว่า วิธีการสกัดโดยใช้เอนไซม์ Cellulase ช่วยในการสกัด เป็นวิธีที่ได้ผลผลิตร้อยละเฉลี่ยสูงที่สุด และการสกัดด้วย UAE จะเป็นวิธีการที่ได้ผลผลิตร้อยละเฉลี่ยต่ำที่สุด ในการศึกษาสมบัติการต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH และ FRAP โดยมี ascorbic acid เป็นสารมาตรฐาน พบว่าวิธีการสกัดมีอิทธิพลต่อสมบัติการต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดหยาบจากสาหร่ายChaetomorpha และ สาหร่ายผมนาง แต่ไม่มีอิทธิผลต่อสมบัติการต้านอนุมูลอิสระอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05)ในการสกัดสาหร่ายไส้ไก่ พบว่าการสกัดพอลิแซ็กคาไรด์ด้วยวิธี UAEจากสาหร่ายผมนาง จะมีสมบัติการต้านอนุมูลอิสระสูงที่สุด เมื่อวัดด้วยวิธี DPPH คือ %inhibition เท่ากับ 33.01±1.80% สำหรับการวัดด้วยวิธี FRAP การสกัดพอลิแซ็กคาไรด์ด้วยวิธี EAE จากสาหร่ายผมนาง มีสมบัติการต้านอนุมูลอิสระสูงที่สุด คือ 72.31±0.12 μmol ascorbic acid equivalent/g จากการศึกษาสมบัติการเป็นพรีไบโอติกด้วยการหาค่า prebiotic activity score ของสารสกัดจากสาหร่ายไส้ไก่ที่สกัดด้วย UAE เมื่อนาไปเลี้ยง L.casei มีค่าเท่ากับ 0.26 แต่พบว่าไม่เหมาะสมกับ เชื้อ L. reuteri จากการวิเคราะห์ตัวอย่างที่สกัดได้จากสาหร่ายทั้ง3ชนิดด้วยFTIR พบว่าสารสกัดเป็นพอลิแซ็กคาไรด์
Other Abstract: This research intends to find the anti-oxidation and prebiotic activities of 3 seaweeds. 3 extraction methods were utilized include hot water extraction, Enzymes-assisted extraction (EAE) and Ultrasound-assisted extraction (UAE). Ulva intestinalis, Chaetomorpha spiralis and Gracilaria tenuistipitata were used as samples in the study. The study found that the enzymatic-assisted extraction using cellulase enzymes provide the highest average yield while ultrasound-assisted extraction provides the lowest average yield. The antioxidant properties determined with DPPH and FRAP methods using ascorbic acid as a standard. It was found that the extraction method had an influence on the antioxidant properties of crude extracts especially from Chaetomorpha spiralis and Gracilaria tenuistipitata, but had no significant effect on crude extracts from Ulva intestinalis (p <0.05). Crude extract from Gracilaria tenuistipitata extracted by UAE provide the highest antioxidant properties measured by DPPH method. With % inhibition equal to 33.01 ± 1.80%. For determination using FRAP method. Crude extracts from Gracilaria tenuistipitata extracted by EAE provided highest antioxidant properties at 72.31 ± 0.12 μmol ascorbic acid equivalent/g. Prebiotic activity score of crude extracts from Ulva intestinalis extracted with UAE for culturing L.casei was 0.26. All crude extracts were not suitable for culturing L. reuteri. The analyses of samples extracted from 3 types of seaweeds with FTIR found the composition of crude extracts were mainly polysaccharide.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีทางอาหาร. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2561
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66147
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nichakarn_U_Se_2561.pdf1.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.