Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66198
Title: กระบวนการถ่ายโอนต้นแบบการขับร้องเพลงไทยลูกกรุงของดาวใจ ไพจิตร
Other Titles: The creation of cloning process in Thai Lukkrung singing of Daojai Paijit’s musical identity
Authors: ดาวใจไพจิตร สุจริตกุล
Advisors: พรประพิตร์ เผ่าสวัสดิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
Subjects: ดาวใจ ไพจิตร
อัตลักษณ์
เพลงไทยสากล
การร้องเพลง
Daojai Paijit
Identity (Philosophical concept)
Singing
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์อัตลักษณ์การขับร้องเพลงไทยลูกกรุงของ ดาวใจ ไพจิตร นักร้องแผ่นเสียงทองคำพระราชทานและรางวัลเกียรติยศเสาอากาศทองคำ เพื่อนำไปใช้เป็นข้อมูลในการสร้างกระบวนการถ่ายโอนต้นแบบการขับร้องของศิลปินต้นแบบไปสู่กลุ่มนักร้องตัวอย่างได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้วิธีดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพ การวิเคราะห์ข้อมูลเอกสาร การสัมภาษณ์ครูเพลงผู้เชี่ยวชาญด้านเพลงไทยลูกกรุง 12 ท่าน รวมทั้งวิเคราะห์บทเพลงต้นแบบที่เป็นตัวแทนผลงานการขับร้อง 5 เพลงคือเพลงทำไมถึงทำกับฉันได้ เพลงอย่ามารักฉันเลย เพลงส่วนเกิน เพลงส่วนแบ่งที่ไม่เป็นธรรม และเพลงน้ำตาดารา ผลการวิจัยพบว่าศิลปินต้นแบบมีคุณลักษณะเฉพาะของการเป็นนักร้อง 16 ประการ และพบว่ามีกลวิธีการขับร้องที่เป็นอัตลักษณ์ทั้งหมด 10 ประการ ต้นแบบการขับร้องเพลงของ ดาวใจ ไพจิตรนั้นมีองค์ประกอบสำคัญ 5 ส่วน คือ 1) แนวทางในการออกเสียง 2) แนวทางในการใช้อักขระวิธี 3) แนวทางในการหายใจ 4) แนวทางในการใช้อวัยวะควบคุม และ 5) แนวทางในการใช้กลวิธีและจังหวะ องค์ประกอบของแต่ละส่วนนั้นต่างมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันอย่างใกล้ชิด กระบวนการสร้างศิลปินต้นแบบดาวใจ ไพจิตรมีขั้นตอนทั้งหมด 5 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 คือการคัดเลือกผู้รับการถ่ายโอน ขั้นตอนที่ 2 การคัดเลือกเพลงต้นแบบ ขั้นตอนที่ 3 ขั้นตอนการทดสอบก่อน ขั้นตอนที่ 4 การอบรมฝึกหัดขับร้องเพลง ขั้นตอนที่ 5 การประเมินผล ผลการประเมินพบว่า นักร้องตัวอย่างทั้ง 3 คนสามารถขับร้องเพลงของดาวใจ ไพจิตรได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถสรุปได้ว่ากระบวนการถ่ายโอนต้นแบบที่สร้างขึ้นนี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการฝึกหัดขับร้องเพลงในแนวเพลงของ ดาวใจ ไพจิตรเพื่อสืบสานและถ่ายทอดบทเพลงอันมีคุณค่าของศิลปินต้นแบบได้อย่างเป็นรูปธรรม
Other Abstract: The objective of this research is to determine musical identity of Daojai Paijit’s singing in order to create a singing prototype as a guideline in transferring the prototype to the sample of three singers efficiently. In order to determine the identity and to create the singing prototype of Daojai Paijit, the researcher employs a qualitative method by interviewing twelve Thai lukkrung composers and experts, document research, and analysing five songs. The five pieces represent Daojai Paijit’s repertoire including 1) Tammai Tung Tam Kab Chan Dai (How Could You Do That To Me?) 2) Suan Kern (The Excess) 3) Suan Bang Tee Mai Pen Tham (The Unfair Part) 4) Yar Mar Rak Chan Loey (Do Not Love Me) and 5) Nam Ta Dara (Star’s Tears). Then, such singing prototype was tested with the sample of 3 singers. As a result of interview and musical analysis, sixteen characteristics of Daojai Paijit’s qualities as a professional singer and ten singing techniques were discovered. A singing prototype of Daojai Paijit was also revealed. It is consisted of five main components including 1) voicing method 2) phonemic orthography method 3) breathing method 4) body control method and 5) technique and rhythm usage method. Functionally, these five components are closely related to each other. In transferring a singing prototype to the sample of three selected singers, five steps are constructed: (1) the selection process of sample singers; (2) the selection of repertoire; (3) Pre-test; (4) Training and Coaching; and (5) Evaluation. The evaluation showed that all three sample singers could inherit the singing prototype of Daojai Paijit efficiently. Therefore, it could be concluded that the prototype created in this research could substantially be used as a singing guideline for Daojai Paijit’s songs.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศป.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: ศิลปกรรมศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66198
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1815
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.1815
Type: Thesis
Appears in Collections:Fine Arts - Theses



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.