Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6648
Title: การวิเคราะห์โปรแกรมช่วยสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน : รายงานผลการวิจัย
Other Titles: An analysis of CAI authoring systems
Authors: สุกรี รอดโพธิ์ทอง
อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง
วิชุดา รัตนเพียร
Email: Sugree.R@chula.ac.th
Onjaree.N@chula.ac.th
Vichuda.R@chula.ac.th
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Subjects: คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน
โปรแกรมคอมพิวเตอร์
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์โปรแกรมช่วยสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (2) ศึกษาสภาพและความต้องการของผู้ใช้โปรแกรมช่วยสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และ (3) นำเสนอรูปแบบและโครงสร้างของโปรแกรมช่วยสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่เหมาะสมกับความต้องการของผู้ใช้ในวงการศึกษา กลุ่มตัวอย่างได้แก่ (1) โปรแกรมช่วยสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจำนวน 6 โปรแกรม คือ โปรแกรม Authorware โปรแกรม ToolBook โปรแกรม HyperCard โปรแกรมจุฬาซีเอไอ โปรแกรมไทยโชว์ และโปรแกรมไทยทัศน์ และ (2) ครูอาจารย์ในโรงเรียนระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา จำนวน 162 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพและความต้องการของผู้ใช้โปรแกรมช่วยสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และแบบวิเคราะห์โปรแกรมช่วยสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 4 ลักษณะ ได้แก่ (1) ลักษณะทั่วไปด้านการใช้งานร่วมกับฮาร์ดแวร์ (2) ลักษณะการใช้สร้างบทเรียน : ด้านตัวอักษร ด้านการสร้างภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และงานกราฟิก ด้านการมีปฏิสัมพันธ์ ด้านการประเมินผล (3) ลักษณะการติดต่อกับผู้ใช้ และ (4) ลักษณะการออกแบบโครงสร้างการใช้งาน ผู้วิจัยนำข้อมูลจากการวิเคราะห์โปรแกรมช่วยสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและข้อมูลจากการศึกษาสภาพแบะความต้องการของผู้ใช้โปรแกรมรวมทั้งแนวคิด ทฤษฏี แบะงานวิจัยใช้ ออกแบบรูปแบบและโครงสร้างของโปรแกรมช่วยสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สรุปได้ดังนี้ ลักษณะทั่วไปด้านการใช้ง่านร่วมกับฮาร์ดแวร์ : โปรแกรมควรพัฒนาขึ้นภายใต้ระบบวินโดวส์ ควรมีการพัฒนาโปรแกรม 2 ขนาด คือ โปรแกรมขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ มีโปรแกรมขนาดเล็กควรจะสามารถบรรจุในแผ่นดิสก์ 1 แผ่นได้ ลักษณะการใช้สร้างบทเรียน : ด้านตัวอักษร ควรมีความสามารถพิเศษในการพิพม์เลขยกกำลัง เศษส่วนและห้อยท้าย และมีการปรับแก้ตัวพิมพ์ได้สะดวก ด้านการสร้างภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และงานกราฟิก ควรมีกล่องเครื่องมือในการสร้างงาน สามารถปรับแก้ไข กำหนดทิศทางการเคลื่อนที่ ความเร็วและรูปแบบการสร้างและลบชิ้นงานได้สะดวก และควรสนับสนุนการใช้แฟ้มข้อมูลกราฟิกจากโปรแกรมอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้านการมีปฏิสัมพันธ์ควรมีรูปแบบต่าง ๆ สามารถบันทึก กำหนดเงื่อนไข วิเคราะห์และตรวจสอบข้อมูลนำเข้า ด้านการประเมินผล ควรมีการประเมินผลแบบทดสอบ และรายงานผลได้หลายลักษณะ ลักษณะการติดต่อกับผู้ใช้ : ควรเปิดโอกาสให้ผู้ใช้สั่งการได้หลายรูปแบบ ลักษณะการออกแบบโครงสร้างการใช้งาน : ใช้รูปแบบที่ง่ายสำหรับการสั่งการขั้นพื้นฐาน แก้ไขและทดสอบการทำงานของโปรแกรมได้สะดวก สามารถทำงานร่วมกับแฟ้มข้อมูลจากโปรแกรมอื่น มีโปรแกรมสาธิต รูปแบบการให้ความช่วยเหลือ มีโปรแกรมย่อยสนับสนุนการออกแบบบทเรียนประเภทต่าง ๆ
Other Abstract: The purposes of this research were to (1) analyze CAI authoring systems (2) study states and needs of CAI authoring program users and (3) propose the appropriate format and structure of CAI authoring systems congruent to the needs of program users in educational settings. The samples consisted of (1) six lesion authoring programs : Authorware ToolBook, HyperCard, Chula CAI, Thai Show, and Thai TAS (2) 162 instructors in elementary and secondary schools. The instruments used in this research were questionnaire concerning states and needs of CAI authoring systems users and a CAI lesson authoring programs analysis form in four features: (1) hardware applications (2) courseware authoring applications : text, image graphics and animation, interaction and evaluation (3) user interface applications, and (4) structure design. Data from the analysis of six CAI authoring programs, users' states and needs of CAI authoring programs and concepts, theories and research studies were used to design CAI authoring format andstructure. It could be summarized as follows: Hardware applications: the program should be developed under windows environment. Two versions of program should be developed: a small version; and a large one. A small version was to fitted within one diskette. A large version, on the other hard, presented a complete program function and must be installed into a computer hard disk when used. Courseware authoring applications: text : postscript font types were suggested and users should be able to make changes conveniently; graphics ; graphics toolbox should be included for convenient use for managing graphics and importing other graphics files: interaction : the program should allow users to record, analyze and evaluate inputs, texts or number; evaluation : various types of test formats and score should be included. User interface applications : users should be able access to various formats. Structure design: simple programming and debugging were preferred; accessibility to various data file was recommended;demonstrations program, help options, and CAI lessons designing options should be included.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6648
Type: Technical Report
Appears in Collections:Edu - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sugree(CAI).pdf18.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.