Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66520
Title: ศึกษาอันตรกิริยาระหว่างเยื่อไขมันสองชั้นกับอนุภาคออกซิไดส์คาร์บอนระดับนาโน
Other Titles: Study Interaction between lipid bilayer membrane and Oxidized Carbon Nanoparticles (OCN)
Authors: กมลลักษณ์ สาธรสันติกุล
ฐิติพร แสนสุรีย์รังสิกุล
Advisors: ศุภศร วนิชเวชารุ่งเรือง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Supason.P@Chula.ac.th
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: อนุภาคนำส่งยาและสารออกฤทธิ์ต่างๆได้รับความสนใจและถูกนำมาใช้ทั้งในการรักษาโรค การทดลองทาง วิทยาศาสตร์ รวมไปถึงการใช้งานในอาหารและเครื่องดื่ม ในงานวิจัยนี้ผู้วิจัยสังเคราะห์อนุภาคออกซิไดซ์คาร์บอน ระดับนาโน (Oxidized Carbon Nanoparticle : OCN) ซึ่งเป็นอนุภาคที่สามารถนำส่งสารในกลุ่มมหโมเลกุลต่างๆ เข้าสู่เซลล์ได้ ในงานนี้ทำการศึกษากลไกการเข้าสู่เซลล์ของอนุภาคนี้ อนุภาค OCN เตรียมได้จากการทำปฏิกิริยา ออกซิเดชันอย่างรุนแรงของแกรไฟต์ภายใต้คลื่นเสียงอัตราโซนิคแล้วแยกอนุภาคด้วยเครื่องปั่นเหวี่ยงความแรงสูง อนุภาค OCN ที่ได้มีลักษณะเป็นทรงกลมขนาดประมาณ 37.7 ± 4.6 นาโนเมตร ผู้วิจัยจำลองเยื่อไขมันสองชั้น (lipid bilayer membrane) ของเซลล์โดยการเตรียมไลโปโซมขนาดใกล้เคียงเซลล์ (cell-sized liposome) ติดสีย้อม ฟลูออเรสเซนต์ที่เป็นตัวให้พลังงานบนเยื่อไขมันสองชั้นและติดสีย้อมฟลูออเรสเซนต์ที่เป็นตัวรับพลังงานบนอนุภาค OCN จากนั้นศึกษาอันตรกิริยาระหว่าง OCN และ ไลโปโซมด้วยเทคนิค Förster resonance energy transfer (FRET) โดยติดตามการเปลี่ยนแปลงของสัญญาณฟลูออเรสเซนต์เมื่อเวลาผ่านไป ซึ่งพบว่าอนุภาค OCN เกิดอันตร กิริยากับไลโปโซมได้อย่างดี นอกจากนี้ยังทำการทดลองตรวจสอบการเหนี่ยวนำให้ผนังของไลโปโซมรั่วโดย OCN โดยออกแบบให้สารละลายภายในและสารละลายภายนอก (medium) ของไลโปโซมมีสีต่างกันเมื่อสังเกตผ่านกล้อง ฟลูออเรสเซนต์ไมโครสโคป จากนั้นผสมสารแขวนลอยไลโปโซมกับอนุภาค OCN แล้วสังเกตการเปลี่ยนแปลงสีของ สารละลายภายในไลโปโซม พบว่า เมื่อเวลาผ่านไป 60 นาที สีของสารละลายภายในไลโปโซมเป็นสีเดียวกันกับ สารละลายภายนอกแสดงให้เห็นว่า อนุภาค OCN สามารถเหนี่ยวนำให้เยื่อไขมันสองชั้นของไลโปโซมเกิดรูรั่วขึ้น
Other Abstract: Drug carriers have received much interest and have been applied for therapeutic, scientific studies and food/beverage industries. Herein, Oxidized Carbon Nanoparticles (OCN) are synthesized. The particles can deliver macromolecules into the cells. In this work, we have studied the mechanism of lipid bilayer membrane penetration of OCN. OCN was synthesized by strong oxidation of graphite under sonication. The particles were separated by step-wise high-speed centrifugation. The OCN showed a spherical shape with a diameter of 37.7± 4.6 nanometers. We have mimicked lipid bilayer membrane of a cell through the preparation of cell-size liposomes. The liposomes contained donor lipid fluorescence dye at their lipid membrane. We loaded the acceptor lipid fluorescence dye onto OCN particles. These were used for studying the interaction between lipid bilayer membrane and OCN through the Förster resonance energy transfer (FRET) technique. By monitoring the fluorescence transformation, we observed that OCN possessed good affinity to the lipid bilayer membrane. To confirm that the particles could create pores on the lipid bilayer membrane of the liposomes and thus induced leakage of the liposomes, we fabricated liposome suspension in which the content of the solution at the inside and that at the outside of the liposome were different. Then we investigated, under fluorescence microscope, an ability of OCN to destroy such difference. It was observed that after 60 minutes of introducing OCN into the liposome suspension, the content of the solution at the inside of the liposomes became similar to that at the outside of the liposomes. The result confirms the hypothesis that the OCN can induce transient pores onto the lipid bilayer membrane.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาเคมี. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2557
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66520
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2557_28.pdf2.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.