Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66840
Title: การประเมินความถูกต้องของการหาตำแหน่งจุดเดี่ยวความละเอียดสูงกับข้อมูลจีพีเอสความถี่เดียวโดยใช้แบบจำลองค่าสังเกตของรหัสและเฟสที่ปราศจากผลของ ไอ โอ โนสเฟียร์
Other Titles: Accuracy assessment of single-frequency GPS precise point positioning using ionosphere-free code and phase observation model
Authors: สมชาย เกรียงไกรวศิน
Advisors: เฉลิมชนม์ สถิระพจน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Subjects: การรังวัด
ดาวเทียมในการรังวัด
Surveying
Artificial satellites in surveying
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในปัจจุบันการรังวัดด้านจีพีเอสถูกนำไปใช้งานอย่างกว้างขวางเนื่องจากมีความสะดวกรวดเร็ว แต่เครื่องจีพีเอสที่ใช้ยังมีราคาค่อนข้างสูงโดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องสองความถี่มีราคาสูงกว่าเครื่องแบบความถี่เดียวเป็นอย่างมากจะเป็นอย่างไรถ้าเราสามารถนำเครื่องจีพีเอสแบบความถี่เดียวซึ่งมีราคาถูกมาใช้ทดแทนเครื่องจีพีเอสแบบรังวัดซึ่งมีราคาสูงดังนั้นงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการประเมินค่าความถูกต้องที่ได้รับจากวิธีการหาตำแหน่งแบบจุดเดี่ยวที่ให้ค่าความละเอียดสูงโดยอาศัยข้อมูลรหัสและเฟสของคลื่นส่งจากคลื่น L1 ที่ได้จากเครื่องรับสัญญาณดาวเทียมจีพีเอสทั้งแบบมือถือและแบบรังวัดซอฟต์แวร์สำหรับการหาตำแหน่งจุดเดี่ยวที่ให้ค่าความละเอียดสูงที่อาศัยข้อมูลความถี่เดียวจากเครื่องรับสัญญาณจีพีเอสได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้เป็นเครื่องมือหลักสำหรับการประเมินค่าความถูกต้องที่ได้รับโดยซอฟต์แวร์ดังกล่าวจะทำการปรับลดค่าคลาดเคลื่อนที่เกิดจากวงโคจรของดาวเทียมนาฬิกาดาวเทียมและจากการ delay ในชั้นบรรยากาศโดยเฉพาะอย่างยิ่งค่าคลาดเคลื่อนที่เกิดจากชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์ จะใช้แบบจำลองค่าสังเกตของรหัสและเฟสที่ปราศจากผลของไอโอโนสเฟียร์มาใช้และค่าคลาดเคลื่อนที่เหลือจะประมาณค่าจากการใช้วิธี Extended Kalman Filter โดยในการทดลองได้ทำการรับสัญญาณดาวเทียมแบบสถิตที่สถานีรับสัญญาณดาวเทียม CU03 ในบริเวณจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยด้วยเครื่องรับสัญญาณดาวเทียมแบบมือถือยี่ห้อ GARMIN รุ่น 12XL โดยใช้เสาอากาศแบบภายนอกในการรับสัญญาณและรับด้วยเครื่องรับสัญญาณดาวเทียมแบบรังวัดยี่ห้อ LEICA รุ่น SR530 ข้อมูลการรับสัญญาณด้วยเครื่องรับสัญญาณทั้งสองชนิดจะถูกดัดแบ่งเป็นชุดข้อมูลตามช่วงระยะเวลาที่ใช้ในการรับสัญญาณดาวเทียมจากนั้นจึงทำการประมวลผลข้อมูลแต่ละชุดอย่างเป็นอิสระด้วยซอฟต์แวร์สำหรับการหาตำแหน่งขุดเที่ยวที่ให้ความละเอียดสูงที่อาศัยข้อมูลความถี่เดียวที่พัฒนาขึ้นผลจากการทดลองเบื้องต้นพบว่าค่าความถูกต้องทางตำแหน่งทางราบที่ได้รับจากการใช้ข้อมูลการรับสัญญาณเพียง 5 นาทีนั้นดีกว่า 2. 5 เมตรทั้งกรณีของการใช้เครื่องรับสัญญาณแบบมือถือและแบบรังวัดนอกจากนี้ยังมีการทดสอบถึงฤดูกาลกันตำแหน่งทางละติจูดว่ามีผลกับการรับสัญญาณแบบจุดเดียวหรือไม่โดยการใช้ข้อมูลจากสถานีฐาน 5 แห่งทั่วโลกพบว่าช่วงฤดูกาลที่แตกต่างกันจะให้ค่าความถูกต้องทางตำแหน่งทางราบที่แตกต่างกันและที่ตำแหน่งทางละติจูดพบว่าที่สถานีฐานที่อยู่ในแนวละติจูดเข้าใกล้ขั้วโลกจะให้ค่าความถูกต้องทางตำแหน่งทางราบที่ดีกว่าสถานีฐานที่อยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร
Other Abstract: At present, surveying by GPS receivers is widely introduced to various aspects of survey applications due to its more convenience and less time consumption for processing. However, the GPS receivers are still relatively expensive; especially, the dual frequency GPS receivers which are far more expensive than the single frequency ones. And what would it be if we could apply the single frequency GPS receiver as a replacement of the dual one. This research aims to assess the accuracy of Precise Point Positioning with code and carrier phase observations from LI signal collected from both handheld GPS receiver and geodetic GPS receiver. A Precise Point Positioning software developed for processing the single frequency GPS data is used as a main tool to assess a positioning accuracy. The precise orbit and precise satellite clock corrections were introduced into the software to reduce the orbit and satellite clock errors, while ionosphere-free code and phase observations were constructed to mitigate the ionospheric delay. The remaining errors ( i.e. receiver clock error, ambiguity term ) are estimated using Extended Kalman Filter technique. Two experiments were conducted in this study. The first experiment was carried out in static mode using a Garmin 12XL GPS receiver connected to an external antenna at the CU03 station on the 7th of October 2004 , while the second experiment was carrier out in static mode using a Leica SR530 GPS receiver at the CU03 station on the 25th of October 2004. Raw data from both experiments were cut into 5-min, 10-min, 15-min, 30-min, 60-min data segments. Each data segment was individually processed with the developed PPP software to produce final coordinates. Preliminary results indicate that a horizontal positioning accuracy obtained from 5-min data segments for both GPS receivers is better than 2.5 meters. Besides, the research also concerns about the influence of season and Latitude changes whether they effects the results of this technique. The test was conducted by processing data acquired from 5 base stations from all over the world. It was found that different seasons bring about differences in horizontal positioning accuracies. In addition, changes in locations of the base stations illustrate the similar results. The closer the base station to the North Pole, the higher better the horizontal positioning accuracy.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสำรวจ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66840
ISBN: 9741432623
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somchai_kr_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ1.14 MBAdobe PDFView/Open
Somchai_kr_ch1_p.pdfบทที่ 11.06 MBAdobe PDFView/Open
Somchai_kr_ch2_p.pdfบทที่ 21.08 MBAdobe PDFView/Open
Somchai_kr_ch3_p.pdfบทที่ 31.76 MBAdobe PDFView/Open
Somchai_kr_ch4_p.pdfบทที่ 43.07 MBAdobe PDFView/Open
Somchai_kr_ch5_p.pdfบทที่ 5760.86 kBAdobe PDFView/Open
Somchai_kr_back_p.pdfบรรณานุกรม และภาคผนวก1.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.