Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6712
Title: การพัฒนาหลักสูตรรายวิชางานไม้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม
Other Titles: The development of a woodworking curriculum for students at Phathom Suksa 6 in the Chulalongkorn University Demonstration Elementary School
Authors: ทินกร บัวพูล
Email: ไม่มีข้อมูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ฝ่ายประถม)
Subjects: การศึกษา--หลักสูตร
การประเมินหลักสูตร
กลุ่มการงานและพื้นฐานอาชีพ
งานไม้ -- หลักสูตร
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาหลักสูตรรายวิชางานไม้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 การดำเนินการวิจัยขั้นแรก คือ การพัฒนาหลักสูตร ขั้นที่ 2 นำหลักสูตรไปใช้สอนในชั้นเรียน โดยตั้งเกณฑ์การประเมินคุณภาพหลักสูตรไว้ 2 ด้าน คือ 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชางานไม้ ควรสูงกว่าก่อนการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผู้เรียนควรได้คะแนนรวมเฉลี่ยแล้วเกินร้อยละ 75 2. ผู้เรียนมีความพอใจ และเห็นประโยชน์ของการเรียนวิชางานไม้ในระดับมาก และเห็นว่าเนื้อหาในหลักสูตรไม่ยากจนเกินไป เครื่องมือที่ใช้วัดผลสัมฤทธิ์ด้านต่างๆ ได้แก่ แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานไม้ แบบทดสอบวัดทักษะปฏิบัติ แบบประเมินคุณภาพผลงาน แบบสำรวจและสังเกตพฤติกรรม แบบวัดเจตคติที่มีต่อวิชางานไม้ และแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อหลักสูตรและการสอน หลักสูตรรายวิชางานไม้ประกอบด้วยจุดประสงค์การเรียนรู้ 3 ด้าน คือ ด้านความรู้ความเข้าใจ ทักษะการปฏิบัติ และลักษณะนิสัย การเรียนการสอนเน้นหนักการปฏิบัติเพื่อฝึกทักษะส่วนเนื้อหารายวิชางานไม้เป็นเนื้อหาทางด้านทฤษฎีความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับงานช่างไม้ และความรู้ภาคปฏิบัติ กิจกรรมภาคปฏิบัติประกอบด้วย กิจกรรมบังคับเพื่อเรียนรู้ทักษะการใช้เครื่องมือและขั้นตอนการปฏิบัติงาน และกิจกรรมเลือกตามความสนใจเพื่อฝึกฝนทักษะให้เกิดความชำนาญยิ่งขึ้น การประเมินผลการเรียนนอกจากสอดคล้องกับจุดประสงค์ 3 ด้านแล้ว ยังเป็นไปตามแนวการประเมินผลกลุ่มการงานและพื้นฐานอาชีพ โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม ผลการตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตรด้วยการนำไปใช้สอนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม เป็นเวลา 16 สัปดาห์ พบว่า ผลการวัดและประเมินผลทางด้านความรู้ความเข้าใจ ทักษะการปฏิบัติ ลักษณะนิสัย และเจตคติ ได้คะแนนทดสอบหลังการเรียนสูงกว่าก่อนการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลสัมฤทธิ์ของการเรียนวิชางานไม้ ผู้เรียนได้คะแนนรวมเฉลี่ยแล้วเกินร้อยละ 75 ผู้เรียนมีความพอใจและเห็นประโยชน์ของการเรียนวิชางานไม้ในระดับมาก และเห็นว่าเนื้อหาในหลักสูตรการเรียนการสอนไม่ยากเกินไป
Other Abstract: The purpose of this research was to develop the woodworking curriculum for students in Phathom Suksa 6. The curriculum was developed and implemented in the classes. The criteria for curriculum evaluation were aimed in 2 aspects as follows : 1) The students' post-test points should be higher than the pretest points and be introduced with a statistical significant level at .05. The students' average points should be more than 75%. 2) The students should be satisfied and believe that the curriculum was useful and corresponded to their capacity and was not too difficult for them. The student's achievement tests for this curriculum were a knowledge test, practicing test, product's quality evaluation form, a checklist and a learning behavior observation form, attitude test and woodworking learning questionnaire. The objectives of the curriculum were set by 3 domains of cognitive, affective and psychomotor. The learning and teaching activities were focused on improving the skills of the students. The content of the subject was about general knowledge and the process of practicing woodworking. Learning activities consist of required and elective activities. Required activities included basic skills and processes of woodworking. Elective activities were selected by students' interest to enhance their skills. The learning evaluation was according to the 3 domains and the evaluation guideline of the Chulalongkorn University Demonstration Elementary School. The curriculum was implemented for the Chulalongkorn University Demonstration Elementary School's sixth-grade students for a 16-week period. The findings included that the post-test about knowledge, skills, learning behavior and attitude were higher than the pretest with a statistical significant level at .05. The student's average point was more than 75%. The students were satisfied and thought that the curriculum was useful and corresponded to their capacity and were not too difficult for them.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6712
ISBN: 9743332111
Type: Technical Report
Appears in Collections:Edu - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tinakorn(dev).pdf20.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.