Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6713
Title: แอกทิวิตีของเอนไซม์แอนติออกซิแดนท์ของผลกล้วยหอมทองที่ผ่านการจุ่มน้ำร้อนในระหว่างการเก็บรักษา
Other Titles: Antioxidant enzymatic activities of hot water treated 'Hom Thong' banana fruit during storage
Authors: นิตยา อัมรัตน์
Advisors: กนกวรรณ เสรีภาพ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: kanogwan.k@chula.ac.th
Subjects: กล้วยหอมทอง -- การเก็บและรักษา
แอนติออกซิแดนท์
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: จากการศึกษาผลการจุ่มน้ำร้อนอุณหภูมิ 50 degrees celsius เป็นเวลา 10 นาที ก่อนการเก็บรักษา ต่อการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของการสุกบางประการและแอกทิวิตีของเอนไซม์แอนติออกซิแดนท์ของผลกล้วยหอมทอง โดยแบ่งการเก็บรักษาเป็น 3 ชุดการทดลอง คือ เก็บรักษาที่อุณหภูมิ 25 degrees celsius ตลอดการเก็บรักษา เก็บรักษาที่อุณหภูมิ 14 degrees celsius เป็นเวลา 8 วัน แล้วนำมาเก็บรักษาต่อที่อุณหภูมิ 25 degrees celsius และเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 14 degrees celsius เป็นเวลา 16 วัน แล้วนำมาเก็บรักษาต่อที่อุณหภูมิ 25 degrees celsius พบว่า กล้วยหอมทองที่เก็บรักษาในทั้ง 3 ชุดการทดลอง มีแนวโน้มว่า กล้วยหอมทองที่ผ่านการจุ่มน้ำร้อนมีการชะลอการเปลี่ยนแปลงสีเปลือก (L value และ hue value) และปริมาณของแข็งที่ละลายในน้ำ โดยชุดการทดลองที่เก็บรักษาที่อุณหภูมิ 25 degrees celsius ตลอดการเก็บรักษา พบว่า กล้วยหอมทองที่ผ่านการแช่น้ำร้อนมีการสร้างเอทิลีนลดลงและมีแอกทิวิตีของเอนไซม์ catalase (CAT) ascorbate peroxidase (APX) และ glutathione reductase (GR) สูงกว่าชุดการทดลองควบคุมส่วนชุดการทดลองที่เก็บรักษาที่อุณหภูมิ 14 degrees celsius เป็นเวลา 8 วัน ก่อนการเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 25 degrees celsius พบว่า กล้วยหอมทองที่ผ่านการแช่น้ำร้อนมีเปอร์เซ็นต์น้ำหนักสดและแอกทิวิตีของเอนไซม์ superoxide dismutase (SOD) CAT และ APX สูงกว่าชุดการทดลองควบคุม และในชุดการทดลองที่เก็บรักษาที่อุณหภูมิ 14 degrees celsius เป็นเวลา 16 วัน ก่อนนำมาเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 25 degrees celsius พบว่าการสร้าง CO[subscript 2] หรืออัตราการหายใจลดลงในกล้วยที่ผ่านการจุ่มน้ำร้อน และมีแอกทิวิตีของเอนไซม์ CAT APX และ GR ที่สูงกว่าชุดการทดลองควบคุม ดังนั้น การจุ่มน้ำร้อนก่อนการเก็บรักษาสามารถรักษาคุณภาพของผลกล้วยหอมทองหลังการเก็บเกี่ยวได้ โดยสัมพันธ์กับกลไกการกระตุ้นแอกทิวิตีของเอนไซม์แอนติออกซิแดนท์ในผลกล้วยหอมทองในระหว่างการเก็บรักษา
Other Abstract: The effects of hot water treatment on antioxidant enzymatic activities and some physiological changes were investigated in 'Hom Thong' bananas (Musa sp., AAA group, Gros Michel subgroup, cultivar 'Hom Thong'). Banana fruits were subjected to the prestorage hot water treatments at 50degrees celsius for 10 minutes and then stored at 25 degrees celsius until ripening. To determine the responses of hot water treated banana at low temperature, bananas were stored at 14 degrees celsius for 8 days or 16 days before ripening at 25 degrees celsius. Results showed that hot water treatment delayed changes of total soluble solids (TSS) and peel color (L value and hue value) in banana fruit. Ethylene production was reduced in hot water treated banana stored at 25 degrees celsius and respiration rate was lower in hot water treated banana stored at 14 degrees celsius for 16 days before ripening at 25 degrees celsius. Hot water treatments also stimulated activities of antioxidant enzymes; superoxide dismutase (SOD), catalase (CAT), ascorbate peroxidase (APX) and glutathione reductase (GR) in banana peel. These results suggested that hot water treatment can maintain postharvest quality of banana fruit and can activate some antioxidant enzymes in banana during storage.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พฤกษศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6713
ISBN: 9745325686
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nittaya_Um.pdf2.32 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.