Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67201
Title: สถานภาพปัจจุบันของการสื่อสารการตลาดแบบผสมผสานในประเทศไทย
Other Titles: Current status of integrated marketing communications in Thailand
Authors: ปภาภรณ์ ไชยหาญชายชัย
Advisors: สราวุธ อนันตชาติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Saravudh.A@Chula.ac.th
Subjects: การตลาด
การสื่อสารทางการตลาด
Marketing
Communication in marketing
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงสถานภาพปัจจุบันของการสื่อสารการตลาดแบบผสมผสานในประเทศไทยซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ ความคิดเห็นทั่วไปและความรู้ความเข้าใจที่มีต่อแนวคิดการสื่อสารการตลาดแบบผสมผสาน ความพึงพอใจ และอุปสรรคที่มีต่อแนวคิดการสื่อสารการตลาดแบบผสมผสาน โดยเก็บข้อมูลจากผู้ตอบแบบสอบถามซึ่งนักการตลาดจำนวน 122 คน และนักโฆษณาจำนวน 109 คน ผลการวิจัยพบว่า สถานภาพปัจจุบันของการสื่อสารการตลาดแบบผสมผสานในประเทศไทยเริ่มก้าวเข้าสู่ขั้นที่ 3 หรือ ขั้นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศตามแนวคิดการสื่อสารการตลาดแบบผสมผสาน อีกทั้งแนวคิดการสื่อสารการตลาดแบบผสมผสานยังเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางของนักการตลาดและนักโฆษณา ซึ่งทั้งนักการตลาดและนักโฆษณาต่างก็มีความคิดเห็น และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดการสื่อสารการตลาดเป็นอย่างดีและเป็นไปในทิศทางเดียวกันซึ่งรวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทการตลาดและบริษัทตัวแทนโฆษณาด้วย อีกทั้งยังมีควมพึงพอใจต่อแนวคิดนี้ในเชิงบวกและมองว่าแนวคิดนี้มีประโยชน์ในการทำงาน แม้ว่าจะมีอุปสรรคบางประการอย่างเช่น เรื่องของค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นก็ตาม นอกจากนี้ ผลการวิจัยยังสะท้อนให้เห็นว่าสภาพการตลาดของประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะพัฒนาเป็นตลาดที่มุ่งเน้นความสัมพันธ์กับลูกค้ามากขึ้น และการสื่อสารการตลาดแบบผสมผสานในประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะกลายเป็นการสื่อสารการตลาดแบบผสมผสานเชิงปฏิสัมพันธ์มากขึ้นด้วยเช่นกัน
Other Abstract: Using the mail survey research methodology, this study was aimed to study the current status of integrated marketing communications (IMC) in Thailand. Three main aspects were examined accordingly: 1) general opinion and perception on the concept of IMC, 2) perceived favorability on IMC practices, and 3) perceived barriers to IMC practices. The data were collected with 122 marketers and 109 advertising practitioners in Thailand. The findings showed that the current status of integrated marketing communications in Thailand had been moved to the third level regarding the level of integration by D. Schultz and H. Schultz (1998). In addition, there was a good indication of acceptance and practices toward the integration among Thai marketers and advertising practitioners. The results also showed that both groups consistently perceived the main aspects of IMC examined, including client-agency relationship in IMC. Finally, the result indicated that Thai market characteristic tended to be more relationship-oriented marketing, and that inclined to change to interactive IMC.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)-- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตรพัฒนาการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67201
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Papaporn_ch_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ964.79 kBAdobe PDFView/Open
Papaporn_ch_ch1_p.pdfบทที่ 1947.66 kBAdobe PDFView/Open
Papaporn_ch_ch2_p.pdfบทที่ 25.52 MBAdobe PDFView/Open
Papaporn_ch_ch3_p.pdfบทที่ 31.29 MBAdobe PDFView/Open
Papaporn_ch_ch4_p.pdfบทที่ 42.99 MBAdobe PDFView/Open
Papaporn_ch_ch5_p.pdfบทที่ 52.49 MBAdobe PDFView/Open
Papaporn_ch_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก2.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.