Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6733
Title: การวิเคราะห์ความเหมาะสมขององค์ประกอบ ที่ใช้ในระบบการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2543-2545
Other Titles: Analysis of the Appropriateness of the Factors Used in the University entrance Examination System, Year 2000-2002
Authors: สุวิมล ว่องวาณิช
ปิยมาภรณ์ โชคอวยชัย
ศจีมาจ ขวัญเมือง
ศุภวรรณ ทรงอำนวยคุณ
Email: wsuwimon@chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Advisors: ธัชชัย สุมิตร
นงลักษณ์ วิรัชชัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Tatchai.S@Chula.ac.th
wnonglak@chulal.ac.th
Subjects: สถาบันอุดมศึกษา--การสอบคัดเลือก
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัย 4 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาสภาพของการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยในช่วงปีการศึกษา 2543-2545 (2) เพื่อวิเครระห์ความเหมาะสมขององค์ประกอบที่ใช้ในระบบการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยในปัจจุบัน (ระบบ ENTRANCE) โดยมีวัตถุประสงค์ย่อยดังต่อไปนี้ (2.1) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของคะแนน GPA และ PR และคะแนนในวิชาต่างๆ ที่ใช้ในการสอบคัดเลือกกับคะแนนรวมที่ใช้ตัดสินผลการคัดเลือก (2.2) วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของคะแนนสอบคัดเลือกและผลการตัดสินเมื่อมีการปรับน้ำหนักความสำคัญของคะแนน GPA และ PR ใหม่ (2.3) วิเคราะห์ความสัมพันธ์แบบจัดอันดับของคะแนนรวมที่ใช้คะแนนดิบและคะแนนที่ได้จากการแปลงคะแนนดิบจากแต่ละวิชาเป็นคะแนนมาตรฐาน การเปลี่ยนแปลงของผลการสอบคัดเลือกระหว่างการใช้คะแนนดิบและคะแนนมาตรฐาน (3) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบของคะแนนความสามารถของผู้สมัครในกลุ่มสาขาวิชาต่างๆ และคุณภาพขององค์ประกอบที่ใช้ในการคัดเลือก และ (4) เพื่อใช้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อการปรับระบบการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย วิธีดำเนินการวิจัยใช้การวิจัยเชิงบรรยาย โดยใช้แหล่งข้อมูลทุติยภูมิจากฐานข้อมูลคะแนนสอบคัดเลือกของทบวงมหาวิทยาลัย ตั้งแต่ปีการศึกษา 2543-2545 โดยมีฐานข้อมูลที่ใช้ในการศึกษา 3 ชุด ได้แก่ (1) ฐานข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์การสอบ (6 ครั้ง) จำนวนคน 363,656 คน (2) ฐานข้อมูลคะแนนที่ดีที่สุด (3 ปี) จำนวน 137,868 คน และ (3) ฐานข้อมูลการตัดสินผล (ปี 2545) จำนวน 444,697 records วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติภาคบรรยาย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ร้อยละ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน สัมประสิทธิ์สัมพันธ์แบบจัดอันดับ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการวิจัย 1. สภาพการสอบคัดเลือก ในช่วง 3 ปีการศึกษา ผู้สมัครสอบวิชาต่างๆ ในสาขาวิทยาศาสตร์มีจำนวนมากกว่าสาขาศิลปะ คิดเป็น 7.3 ผู้สมัครสอบส่วนใหญ่จบจากสังกัดกรมสามัญศึกษาร้อยละ 90 ผู้สมัครที่มาจากโรงเรียนในเขตเมือง (รวมกรุงเทพมหานคร) และนอกเขตเมืองมีสัดส่วนใกล้เคียงกัน ผู้สมัครสอบส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงคิดเป็นร้อยละ 70 ยกเว้นในกลุ่มสาขาวิศวกรรมศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ ศิลปกรรมศาสตร์ ที่มีสัดส่วนของเพศชายมากกว่า สัดส่วนของผู้สอบเข้ามหาวิทยาลัยได้อยู่ในช่วงร้อยละ 10-11 ผู้สมัครที่โรงเรียนตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมืองจะสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ในสัดส่วนที่สูงกว่าโรงเรียนที่อยู่นอกเขตำเภอเมือง โดยภาพรวมมีค่าเท่ากับ 8:2 รูปแบบการสอบที่ใช้ในการคัดเลือกพบว่ามี 48 รูปแบบ ในจำนวนนี้มีการสมัครสอบด้วยรูปแบบสายวิทยาศาสตร์ (7 วิชา) คิดเป็นร้อยละ 38 ของผู้สมัครสอบ ค่าเฉลี่ยของคะแนน GPA เพิ่มขึ้นทุกปี โดยในปี 2543, 2455, 2545 มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 2.40, 2.47 และ 2.52 ตามลำดับ การกระจายของคะแนน GPA มีค่าใกล้เคียงกันในแต่ละปี สำหรับคะแนน PR มีค่าสูงขึ้นเล็กน้อย โดยในปี 2542, 2544, 2545 มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 59.75, 61.51 และ 61.88 ตามลำดับ การกระจาย (CV) ของค่า PR มีค่าสูงกว่า GPA มากเกือบเป็น 2 เท่า 2. ความสัมพันธ์ของ GPA, PR กับวิชาหลัก คะแนน GPA และ PR มีความสัมพันธ์ระหว่างกันค่อนข้างสูง (มากกว่า 0.80) ในขณะที่วิชาหลักอื่นๆ มีความสัมพันธ์ระหว่างกันไม่ค่อยสูง มีขนาดปานกลางหรือค่อนข้างต่ำ แต่หากวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างวิชาที่อยู่ในกลุ่มสาขาเดียวกัน จะพบว่ามีความสัมพันธ์กันเองในระดับปานกลางค่อนข้างสูง และจะมีค่าสูงกว่าความสัมพันธ์กับวิชาที่อยู่ต่างกลุ่มสาขา เมื่อแยกตามกลุ่มสาขาวิชาพบว่า คะแนน GPA และ PR มีความสัมพันธ์กับคะแนนรวมไม่สูง คะแนน GPA มีความสัมพันธ์กับคะแนนรวมสูงกว่าความสัมพันธ์ระหว่างคะแนน PR กับคะแนนรวม 3. การเปลี่ยนแปลงของผลการตัดสินเมื่องปรับน้ำหนักความสำคัญของคะแนนในวิชา จากการศึกษารูปแลลการปรับน้ำหนักความสำคัญขององค์ประกอบมีทั้งหมด 9 รูปแบบ ผลการวิจัยพบว่าเมื่อใช้รูปแบบเดิมในปัจจุบัน (GPA และ PR อย่างละ 5% รวมเป็น 10%) เป็นฐานในการเปรียบเทียบ การไม่ใช้องค์ประกอบ GPA-PR ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของผลผลการตัดสินโดยเฉลี่ยประมาณ 4% นอกจากนี้ยังพบว่าการปรับคะแนนดิบเป็นคะแนนมาตรฐานส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของการตัดสินผลประมาณ 2% 4. องค์ประกอบความสามารถของผู้สมัคร 4.1 ผลวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันจากฐานข้อมูล 3 ปีการศึกษาพบว่าโมเดลการวัดสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยองค์ประกอบที่ใช้ในการคัดเลือกผู้สมัครประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่องค์ประกอบ GPA-PR องค์ประกอบวิชาหลักร่วม 3 วิชา (ภาษาไทย สังคมศึกษา ภาษาอังกฤษ) และองค์ประกอบวิชาเฉพาะสาขา โดยน้ำหนักความสำคัญขององค์ประกอบทั้งสามอยู่ในอัตราส่วน 25:35:40 โดยสรุปรวม องค์ประกอบ GPA-PR มีน้ำหนักประมาณ 25%-30% และองค์ประกอบวิชาหลักมีน้ำหนักประมาณ 70%-75% ทั้งนี้องค์ประกอบ GPA และ PR มีน้ำหนักความสำคัญในอัตราส่วน 7:3 หรือ 6:4 ส่วนองค์ประกอบวิชาหลักร่วม (ภาษาไทย สังคมศึกษา ภาษาอังกฤษ) มีน้ำหนักความสำคัญอยู่ในอัตราส่วนที่เท่ากัน คือ 33:33:34 4.2 ผลการวิจัยนี้พบว่าคุณภาพขององค์ประกอบที่ใช้ในการคัดเลือกด้านความเที่ยง พบว่าส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง GPA (0.36) มีค่าความเที่ยงปานกลางค่อนข้างต่ำ PR มีค่าความเที่ยงต่ำมาก (0.10-0.12) ในขณะที่แบบสอบที่ใช้คัดเลือกมีค่าความเที่ยงสูงกว่าความเที่ยงของ GPA และ PR แต่ยังมีขนาดปานกลาง ยกเว้นวิชาเคมี (0.80) ที่มีค่าความเที่ยงสูง สำหรับวิชาความถนัดเฉพาะสาขาวิชาพบว่ามีเพียงวิชาพื้นฐานวิศวกรรมศาสตร์ที่มีค่าความเที่ยงวขนาดปานกลาง (0.51) นอกนั้นมีค่าความเที่ยงต่ำ วิชาความถนัดทางศิลปะภาคทฤษฎีมีแนวโน้มว่าค่าความเที่ยงสูงกว่าภาคปฏิบัติ สำหรับคุณภาพด้านความตรงเชิงทำนายขององค์ประกอบจากงานวิจัยของวิเชียร เกตุสิงห์ (2546) พบว่า GPA มีความตรงเชิงทำนายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชั้นปีที่ 1 ของนักศึกษามหาวิทยาลัยในระดับปานกลาง (0.38) ภาษาไทย สังคมศึกษา ภาษาอังกฤษ (0.41-0.47) มีความตรงเชิงทำนายสูงกว่าวิชาอื่นๆ 5. ข้อเสนอเกี่ยวกับระบบการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย ระบบการสอบคัดเลือกควรพิจารณาปรับน้ำหนักความสำคัญขององค์ประกอบ GPA-PR เพิ่มขึ้นจากเดิมเพื่อให้สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ แต่ควรมีการปรับเทียบคะแนน (test score equating) ด้วยแบบสอบระดับชาติ เนื่องจากยังมีความแตกต่างของมาตรฐานคุณภาพการจัดการศึกษาระหว่างโรงเรียน และน้ำหนักของ GPA ควรสูงกว่า PR ผลการวิจัยนี้พบว่าผู้ทรงคุณวุฒิส่วนใหญ่ไม่ค่อยเห็นด้วยกับการใช้ PR ในการคัดเลือก แต่ก็ไม่ได้คัดค้านหากเป็นนโยบายของรัฐเรื่องกระจายโอกาสทางการศึกษา นอกจากนี้ยังมีความจำเป็นต้องทดสอบความรู้ของผู้เรียน แต่ใช้คะแนนจากแบบสอบระดับชาติ (National Test-NT) เพียงฉบับเดียว และให้แต่ละสาขากำหนดกลุ่มสาระ หรือน้ำหนักความสำคัญตามที่เป็นว่าเหมาะสมในแต่ละกลุ่มสาระ ในกรณีที่คิดว่าแบบสอบ NT จะวัดความรู้ได้ไม่เพียงพอที่จะคัดเลือกผู้เรียนในบางกลุ่มสาขาก็ควรพัฒนาแบบสอบ NT ให้ที 2 ฟอร์ม คือ ฉบับทดสอบความรู้พื้นฐาน (basic form) และฉบับทดสอบความรู้ขั้นสูง (advanced form) นักเรียนต้องสอบแบบสอบฉบับพื้นฐานทุกคน สำหรับฉบับขุ้นสุงอาจพิจารณาจัดสอบต่อจากแบบสอบพื้นฐานในแต่ละกลุ่มสาระ ไม่มีการจัดสอบแยกออกไปต่างหาก ให้รวมอยู่ในแบบสอบ NT ครั้งเดียวกัน เพื่อความสะดวกในการบริหารการสอบ และควรให้ผู้เรียนมีโอกาสในการตัดสินใจว่าจะสอบหรือไม่สอบฉบับขั้นสูงก็ได้ ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขการรับของแต่ละสาขาวิชา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6733
ISBN: 9741325703
Type: Technical Report
Appears in Collections:Edu - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suvimol(Analysis).pdf22.95 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.